"ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน" เทียบท่ากระชับสัมพันธ์ไทย-สหรัฐ
"ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน" เทียบท่ากระชับสัมพันธ์ไทย-สหรัฐ
จาก
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่
12 ตุลาคม 2553
โดย : ทีมวาไรตี้
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง
ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาได้มีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ
ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความสัมพันธ์ทางการทหาร
นับตั้งแต่ยุคสงครามเย็นและสงครามเวียดนาม

หากจะพูดถึง “เรือบรรทุกเครื่องบิน” แล้ว
คงจะเป็นที่สงสัยว่ามีความสำคัญอย่างไรต่อประเทศสหรัฐอเมริกา?!
“เรือบรรทุกเครื่องบิน” เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญ ของกองกำลังรบของสหรัฐ
ที่สามารถเคลื่อนที่ไปในทุกหนทุกแห่ง ขณะเดียวกันก็เป็น “สัญลักษณ์ทางการทูต”
นั่นคือ หากเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐ ไปเยือนประเทศ ใดก็ตาม
ถือได้ว่าระดับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ ดีมาก เพราะในความหมาย แล้ว
เรือบรรทุกเครื่องบิน เปรียบเสมือนดินแดนของประเทศสหรัฐอเมริกา

จากความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นของทั้งสองประเทศ เมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2553 ที่ ผ่านมา
เรือยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน (ซีวีเอ็น 73)
ได้เดินทางมาถึงท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย โดยจอดเทียบท่าอยู่เป็นเวลา 5
วันหลังจากที่เสร็จสิ้นการฝึก Valiant Shield 2010

นาวาเอก เดวิด เอ. เลาส์แมน ผู้บังคับการเรือ จอร์จ วอชิงตัน
กล่าวว่า การแวะเทียบท่าที่ท่าเรือแหลม ฉบังเป็นการแวะเทียบท่าครั้ง ที่ 4 ของเรือ
จอร์จ วอชิงตัน ในระหว่างการลาดตระเวนช่วง ฤดูร้อน และเป็น
การแวะเทียบท่าครั้งแรกในประเทศไทย นับตั้งแต่เรือเดินทางมาถึงกองเรือที่ 7 ในปี
2551
“การแวะเทียบท่า ไม่เพียงแต่จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของท้องถิ่น
ต่อ ขวัญและกำลังใจของลูกเรือเท่านั้น ยังถือเป็นโอกาสดี
ที่มิตรประเทศทั้งสองจะได้กระชับสัมพันธไมตรี ซึ่งจะ ส่งผลดีต่อความมั่นคงในภูมิภาค”

ผู้บังคับการเรือ จอร์จ วอชิงตัน กล่าวเพิ่มเติมว่า ระหว่างจอดเทียบท่าที่แหลมฉบัง
ลูกเรือกว่า 250 นาย จะร่วมทำกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ เช่น
การพบปะพูดคุยกับเด็กกำพร้าที่บ้านจริงใจ อ.บาง ละมุง
การร่วมกิจกรรมทาสีโรงเรียนบ้านเขาชีจรรย์ อ.สัตหีบ โรงเรียนบ้านมาบฟักทอง อ.บูรณะ
โรงเรียนห้วยใหญ่ การพบปะกับนักเรียนโรงเรียนสอนคนตาบอด
รวมทั้งช่วยกันปลูกต้นไม้และดอกไม้ที่บ้านพักคนชรา อ.บางละมุง
การทำความสะอาดบ้านคนพิการการุณยเวช อ.บางละมุง
และสัมผัสกับวัฒนธรรมไทยด้วยการเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ อาทิ
เยี่ยมชมตลาดน้ำดำเนินสะดวก การเล่นกอล์ฟที่สนามกอล์ฟ 18 หลุม
และจะมีการสอนภาษาอังกฤษ และแข่งกีฬาร่วมกับเด็ก นักเรียนด้วย
จ่าเอก นินู มิรันด้า กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่มาเยือนประเทศไทย
และได้มารู้จักกับเด็กไทย เมื่อได้สัมผัสแล้ว รู้สึกว่า คนไทยใจดี ต้อนรับ
เสมือนญาติมิตร เหมือนว่า เราเป็นทูตสันถวไมตรี ทำให้ พวกเรามีความสุข สนุกสนาน
หากมีโอกาสจะกลับมาเยือน เมืองไทยอีก

ด้าน วอลเตอร์ แจ๊กสัน เจ้าหน้าที่ธุรการประจำเรือ จอร์จ วอชิงตัน กล่าวว่า
ตนเคยได้ยินแต่คำว่า ช้าง ๆ ๆ ตั้งแต่เริ่มมีการพาลูกเรือ เที่ยวเมืองไทย
นี่เป็นครั้งแรกที่ตนจะได้เห็นช้างจริง ๆ ตั้ง ใจว่าจะถ่ายรูปไปให้พ่อแม่ดูเยอะ ๆ
จ่าสิบโท(หญิง) ฐานิ สรณ์ สุวรรณเตมีย์ กล่าวว่า
ตนทำหน้าที่ดูแลหาชิ้นส่วนเครื่องบิน ส่วนน้องชายที่ชื่อ จ่าสิบตรีฐิติกร
สุวรรณเตมีย์ ทำหน้าที่เป็นวิศวกร ดูแลเครื่องมือสื่อสาร โดยตนทำงานมาได้เกือบ
2 ปีแล้ว ได้รับเงินเดือน เดือนละ 6 หมื่นบาท
ตอนแรกไม่ได้ตั้งใจที่จะเข้ามาทำงานเอง แต่จะหางานให้น้องชาย
ทำไปทำมาตนกับน้องชายก็ได้มาทำงานด้วยกัน
และที่เลือกกองทัพเรือเพราะตนและน้องสามารถเรียนหนังสือทางอินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ
กับการทำงาน ซึ่งมีสัญญาทำงานบนเรือประมาณ 3 ปี
จากนั้นตนคงจะไปเรียนต่อที่สหรัฐเพราะคุณแม่อยู่ที่นั่น ส่วนคุณพ่ออยู่เมืองไทย นาน
ๆ ครั้ง ตนและน้องถึงจะได้กลับมาเมืองไทย

ทั้งนี้ ระหว่างที่เรือ ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน จอดเทียบท่าเรือแหลมฉบัง
ทางสถานทูตสหรัฐอเมริกาได้เชิญเจ้าหน้าที่ทหาร ข้าราชการ และสื่อมวลชนเยี่ยมชมเรือ
จอร์จ วอชิงตัน โดยจะมีเจ้าหน้าที่เรือทำหน้าที่มัคคุเทศก์บรรยาย
เพื่อที่จะให้ได้เห็น ถึงการทำงานของเรือบรรทุกเครื่องบินกองทัพเรือสหรัฐ
เพียงลำเดียวที่วางกำลังใน พื้นที่ส่วนหน้าอย่างถาวร และประจำการอยู่ที่ฐานทัพเรือ
สหรัฐ ที่เมืองโยโกซูกะประเทศญี่ปุ่น

เรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน (ซีวีเอ็น 73)
เป็นชั้นเรือรบขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เรียกได้ว่า เป็นเมืองกลางทะเล
เป็นเรือที่มีสมรรถนะที่สูงที่สุดในโลก
โดยมีวัตถุประสงค์ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความสงบสุข
ในการป้องปรามผู้ต้องการรุกราน และถ้าป้องปรามไม่สำเร็จ
เรือบรรทุกเครื่องบินและกองบินที่ประจำการบนเรือพร้อมทำทุกอย่างเพื่อนำความสงบสุขกลับคืน
มา โดยจะลาดตระเวนดูความสงบเรียบร้อยในเขตแปซิฟิกตะวันตก
เรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน
เป็นเรือที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ขนาดใหญ่ โดยมีคำขวัญประจำเรือว่า “Spirit of
freedom” หรือ “จิตวิญญาณ แห่งอิสรภาพ” เป็นเรือลำที่ 4 ที่ใช้ชื่อตามประธานาธิบดี
คนแรกของสหรัฐ
เรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน ได้รับการอนุมัติจากสภาคองเกรส สหรัฐ
ให้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1982 เพื่อเป็นเกียรติแก่ ประธานาธิบดี จอร์จ วอชิงตัน
ผู้ส่งเสริมให้สหรัฐ มีกองทัพเรือที่เข้มแข็ง ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ.1781
ประธานาธิบดี จอร์จ วอชิงตัน เขียนไว้ว่า “หากปราศจากกองทัพเรือที่เข้มแข็งเฉียบขาดแล้ว
เราจะไม่สามารถทำอะไรที่เข้มแข็งเฉียบขาดได้
แต่ถ้าเรามีทุกอย่างจะได้รับเกียรติและเข้มแข็งเฉียบขาด”
ข้อความดังกล่าวได้ถูกจารึกไว้บนแผ่นโลหะซึ่งติดไว้บนดาดฟ้าท้ายเรือเพื่อระลึกถึงท่าน

เรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน มี มูลค่าในการก่อสร้าง 4.5
พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าในปี ค.ศ. 2007) มีขนาดความยาว 1,092 ฟุต ความกว้าง 252
ฟุต ความสูง 244 ฟุต สามารถ รองรับอากาศยานได้ 80 ลำ และมีพื้นที่ชั้นดาดฟ้าเรือ
สำหรับปฏิบัติการบินถึง 4.5 เอเคอร์ ซึ่งใช้ลิฟต์ 4 ตัว
ในการยกอากาศยานระหว่างชั้นโรงจอดกับดาดฟ้าเรือ
เรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน
สามารถบรรจุเจ้าหน้าที่ประจำการบนเรือได้ถึง 6,250 คน โดยมีอายุเฉลี่ย 20 ปี มีทั้ง
เจ้าหน้าที่ชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวนที่ประจำการอยู่ บนเรือ
และยังมีหลากหลายอาชีพ เช่น นายแพทย์ ทันตแพทย์ ทนายความ ช่างประปา ช่างเครื่อง
นักเคมี นักพยากรณ์อากาศ ผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศ ยามรักษาความปลอดภัย ช่างภาพ
ช่างตัดผม วิศวกร พ่อครัว และผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก

นอกจากนี้ เรือจอร์จ วอชิงตัน ยังสามารถผลิตน้ำสำหรับบริโภค 1 ล้าน 5 แสนลิตรต่อวัน
หน่วยปรุงอาหารบนเรือต้องทำอาหารถึง 18,000 ชุดต่อวัน ใช้เครื่อง ทำความเย็นขนาด
2.1 เมกะวัตต์ สามารถทำความเย็นให้บ้านขนาดปกติได้ 2,000 หลัง
อาวุธป้องกันตนเองประจำเรือ ประกอบด้วย ปืนใหญ่ฟาลังซ์ ขนาด 20 มิลลิเมตร 2 กระบอก
และจรวดพื้นสู่อากาศซีสแปโรว์ 2 แท่น ใช้เครื่องยนต์ปฏิกรณ์นิวเคลียร์เวสติ้งเฮาส์
2 เครื่องยนต์ ขับเคลื่อนใบพัด 5 กลีบ จำนวน 4 ชุด (น้ำหนัก 30 ตันต่อ 1 ชุด)
ทำความเร็วให้เรือได้สูงสุด 30 นอต (56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน มีรัศมีปฏิบัติการไม่จำกัด
สามารถปฏิบัติการต่อเนื่องได้นานกว่า 20 ปีโดยไม่ต้องเติมเชื้อเพลิง มีระบบตรวจจับ
อากาศยานข้าศึกเป็นเรดาร์แบบเอเอ็น/เอสพีเอส 48 อี แบบ 3 มิติ
ทั้งยังมีระบบเรดาร์ที่ใช้ในภารกิจต่าง ๆ เช่น เรดาร์ตรวจจับเป้าหมาย,
เรดาร์ควบคุมการจราจรทางอากาศ, เรดาร์ช่วยในการลงสนาม, ระบบต่อต้านทางอิเล็ก
ทรอนิกส์ประกอบด้วยระบบต่อต้านสัญญาณตอร์ปิโด เอสแอลคิว-25 เอ มีอากาศยาน
และเฮลิคอปเตอร์จำนวน 90 เครื่อง (มีเครื่องบินรบ เอฟ/ เอ 18 ประจำการ)
ทั้งนี้ในการเข้าเยี่ยม ชมเรือจอร์จ วอชิงตัน ของ เอกอัครราชทูตสหรัฐ
ประจำประเทศไทย ผู้แทนเหล่าทัพ
และสื่อมวลชนได้เปิดโอกาสให้ชมการฝึกซ้อมบินของฝูงบินขับไล่เอฟ 18
ที่ประจำการอยู่บนเรือจอร์จ วอชิงตันในน่านน้ำไทยเป็นครั้งแรก ในระยะใกล้ชิด

จะเห็นได้ว่า เรือบรรทุกเครื่องบินยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน มีสมรรถนะที่สูง
ไปที่ไหนทุกคนต่างยำเกรง
คงเป็นเรื่องที่ยากและไกลเกินฝันที่ประเทศไทยจะสามารถมีเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดใหญ่ได้
หวังแต่ว่า ขอให้ประเทศไทย
มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้านก็เพียงพอแล้ว.