Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

TOP Engineering Group - VTOL UAV Thailand

Advertising in marinerthai.net FB MarinerThai News

หลงในฮัมบวร์ก ผู้ชายเหงาๆ พาไปดูเรือดำน้ำ U-434

ในฮัมบวร์ก ผู้ชายเหงาๆ พาไปดูเรือดำน้ำ U-434


จาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โดย : จุลดิส รัตนคำแปง  

เดินหลงในเมืองฮัมบวร์กแบบผู้ชายเหงาๆ แถมยังอยู่ต่างบ้านต่างเมือง คราวนี้ขอพาไปเที่ยวชม พิพิธภัณฑ์เรือดำน้ำ U-434 ริมแม่น้ำเอลเบ เดินกันจนสุดทางรักถึงได้เจอ อดีตเพชฌฆาตใต้น้ำของกองทัพโซเวียตจอดสงบนิ่งรอให้เราไปหา อย่าเสียเวลาครับ ตามไปดูกันดีกว่า...

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ผู้ชายเหงาๆ กลับมาพบท่านอีกครั้ง คราวนี้ขอพาย้อนกลับไปที่เมืองฮัมบวร์ก ประเทศเยอรมนีอีกรอบ นี่เป็นทริปเดียวกับที่ไปรับเครื่องบินแอร์บัส เอ-320-200 ของสายการบินไทยสมายล์ครับ เดิมทีตารางในวันนั้นเราต้องไปดูโรงงานแอร์บัส แต่เนื่องจากเรามีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ทำให้ในช่วงบ่ายถึงเย็นว่าง หลายๆ ท่านเลือกจะไปเดินชมเมืองที่ศาลากลาง และย่านช็อปปิ้ง แต่ผมทราบมาว่าที่ฮัมบวร์กยังมีเรือดำน้ำจอดโชว์อยู่ด้วย และรู้แต่ว่าอยู่ตรงตลาดปลาใกล้ท่าเรือบริเวณแม่น้ำเอลเบ (Elbe) ก็เลยสอบถามคนแถวนั้นแล้วให้เขาเอาแผนที่มาชี้ให้ดู ก็เลยคิดว่าน่าจะเดินไปดูได้ ก็เลยตัดสินใจหิ้วกล้องเดินไปดูพิพิธภัณฑ์เรือดำน้ำ U-434 เพราะผมเองก็ยังไม่เคยได้ลงเรือดำน้ำมาก่อน นี่เป็นครั้งแรกในชีวิตเลยตื่นเต้นเป็นพิเศษ แต่เรือดำน้ำลำนี้ ไม่ได้เป็นเรือดำน้ำสัญชาติเยอรมนี ทว่ากลับเป็นสุดยอดเครื่องจักรสังหารใต้น้ำของอดีตกองทัพเรือโซเวียต เพราะมันเป็นเรือดำน้ำพลังงานดีเซล ชั้นแทงโก B-515 เคยประจำการอยู่ในกองเรือฝั่งทะเลดำมาก่อน ทางเยอรมนีเค้าคงไปซื้อต่อมาเลยมาจอดสงบนิ่งอยู่ที่นี่

เราเดินลัดเลาะจากโรงแรมแมริออต ในฮัมบวร์ก อันเป็นที่พักซุกหัวนอนของคณะ ออกมายังถนนใหญ่ เดินตามรางรถไฟลอยฟ้ามุ่งหน้าออกมายังท่าเรือโดยสารของเมืองที่สถานี LANDUNGSBRUCKEN อันเป็นสถานีรถไฟลอยฟ้าที่ชาวฮัมบวร์กใช้เดินทางต่อเรือเฟอรี่ และทัวร์ชมเมือง จุดนี้สามารถนั่งรถไฟใต้ดินจากสถานีราร์ทเฮาส์ (Rathaus) หน้าศาลากลางที่เป็นย่านช็อปปิ้งได้ บริเวณนี้จะมีทิวทัศน์ของท่าเรือ อู่ต่อเรือ ร้านขายของที่ระลึก เรือใบโบราณฮัมบวร์กจอดอยู่ แต่เรือดำน้ำยังต้องเดินเลยออกไปอีก แต่กว่าจะเดินมาตรงนี้ ไอ้บ้านนอกอย่างผมก็เดินวนไปวนมาหลงทางซะนาน เพราะมัวเดินเข้าซอยนึกว่าจะพาลัดแต่อ้อมมาซะไกลเชียว (รู้แบบนี้นั่งรถไฟไปดีกว่า) แต่ที่เรือดำน้ำนี้รถไฟมาไม่ถึงนะครับ

เราเดินเลาะริมแม่น้ำไปสักพักใหญ่ๆ ก็เห็นเสาอากาศ และกล้องเปอริสโคปของเรือดำน้ำตั้งอยู่ไกลๆ ผมเองก็ดีใจ รีบเดินจ้ำๆ เข้าไปจนถึงเรือดำน้ำ U-434 ในที่สุด ถึงหน้ารั้วก็ต้อนรับอาคันตุกะจากเมืองไทยด้วยตอร์ปิโดสีเขียวปลายหม่นลูกเขื่อง 2 ลูก วางหน้าทางเข้าเลยทีเดียว เราก็ไม่พูดพล่ามให้เสียเวลา เพราะพูดเยอรมันไม่ได้อยู่แล้ว จ่ายเงินค่าตั๋ว 9 ยูโร แล้วเข้าไปลุยดูข้างในเลยดีกว่า

เดินผ่านสะพานไปยังเรือจะเห็นแท็งก์เหล็กทำเป็นทางเข้า เดิมทีส่วนทางเข้าจะอยู่ที่สะพานเดินเรือ หรือ ไอ้ตรงแท่งดำๆ ตรงกลางเรือ แต่ทางพิพิธภัณฑ์เขาใช้ทางออกฉุกเฉินเป็นทางเข้าหลักทำบันไดวน และเอาโดมเหล็กครอบไว้ดูแปลกตาดี ไต่บันไดลงมาก็จะเจอกับห้องตอร์ปิโดครับ ตอร์ปิโดรัสเซียเป็นตอร์ปิโดขนาด 21 นิ้ว ลูกสีเขียวๆ เรือชั้นแทงโก มีช่องยิงตอร์ปิโด 6 ช่อง ในภาพที่เห็นเขาจำลองการโหลดตอร์ปิโดเข้าท่อ พร้อมทั้งมีหุุ่นลูกเรือ แสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ของลูกเรือดำน้ำให้ดูด้วย

ภายในห้องตอร์ปิโดค่อนข้างอับและคับแคบพอสมควร เชื่อว่าหากตอนยังใช้งานจริง ลูกเรือคงแทบจะนอนกอดตอร์ปิโดเลยทีเดีียว อย่างไรก็ตามห้องตอร์ปิโดถือเป็นส่วนที่มีพื้นที่กว้างขวาง จึงพอจะแทรกเตียงนอนของลูกเรือไว้ตามซอกหลืบต่างๆ ได้หลายจุด พอสมควร โดยในห้องตอร์ปิโดจะมีลูกเรือทำงานประมาณ 10 คน คอยใช้กว้านโซ่ลากตอร์ปิโดเข้าท่อยิง นอกจากกลิ่นเหม็นอับแล้ว กลิ่นน้ำมันดีเซลก็คลุ้งชวนเวียนหัว เรียกได้ว่าเขาจำลองมาให้เหมือนจริง มีเสียงเครื่องจักรเดิน พร้อมเสียบปิ๊ง (Ping) ของโซนาร์ที่หัวเรือด้วย บรรยากาศแบบกำลังดำลงไปกบดานหลบเรือพิฆาตอยู่ใต้น้ำเลยทีเดียว

เดินผ่านประตูกั้นน้ำกลมๆ ผ่านเข้าส่วนที่ 2 จะเป็นส่วนของเคบินห้องพักกัปตัน และนายทหารสัญญาบัตร ส่วนนี้สามารถอาศัยอยู่ได้ 5 คน จะมีห้องกัปตัน ห้องต้นเรือ ต้นหน แพทย์ และเจ้าหน้าที่ข่าวกรอง นอกจากนี้ในส่วนนี้ยังมีห้องอาหารสำหรับนายทหาร ที่สามารถใช้เป็นห้องประชุมได้ด้วย

ส่วนที่ 3 จะเป็นสะพานเดินเรือ ห้องควบคุม ห้องเรดาร์ ห้องโซนาร์ส่วนนี้จะมีลูกเรือเยอะที่สุด คือ 23 คน นอกจากนี้ยังเป็นส่วนที่มีห้องต่างๆ มากมาย ทั้งห้องน้ำที่มีอ่างล้างหน้า และชักโครกแบบนั่งพร้อม ปุ่มกดชำระระบบแรงดันเหมือนเครื่องบิน ส่วนที่ 4 จะเป็นส่วนที่มีห้องครัว ห้องซักล้าง ห้องช่าง ห้องพยาบาล ห้องเย็นสำหรับเก็บอาหาร เวลาออกทะเลไปนานๆ อาหารสดจะถูกเก็บในห้องนี้ทั้งไส้กรอก เนื้อแห้ง เบคอน แฮม ชีส เมื่ออาหารสดในห้องเย็นหมด ก็จะงัดเอาอาหารกระป๋องมาใช้ทำอาหารเลี้ยงคนบนเรือ ห้องครัวมีระบบระบายอากาศและความร้อนแยกจากระบบระบายอากาศปกติ ทำให้อุณหภูมิในเรืออยู่ที่ไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส และในห้องเครื่องยนต์ไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส

ตอนที่ 5 และตอนที่ 6 ของเรือจะเป็นส่วนของห้องเครื่องยนต์ มีเครื่องยนต์ดีเซล กำลัง 1,733 แรงม้า 3 ตัว มอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับเคลื่อนที่ใต้น้ำ กำลัง 1,470 แรงม้า 3 ตัว และเครื่องยนต์เงียบอีก 1 ตัว ทำความเร็วที่ผิวน้ำได้ 13 นอต และใต้น้ำอยู่ที่ 16 นอต เป็นส่วนที่ร้อนที่สุดในเรือ และมีเสียงดังมาก ลูกเรือต้องคอยเดินดูการทำงานของเครื่องยนต์ วาล์ว แรงดันน้ำมัน แรงดันไฟฟ้า เป็นห้องทำงานของต้นกล และช่างเครื่อง ช่างไฟฟ้า มีส่วนบังคับเครื่องยนต์ สั่งการจากสะพานเดินเรือ รวมถึงยังควบคุมการดับเพลิงได้ด้วย เพราะมีหน้ากากออกซิเจนที่ใช้งานได้ 20 นาที บนเรือมีถังดับเพลิงขนาดใหญ่ 2 ถังที่หัวเรือ และท้ายเรือ เดินผ่านท่อ และตัวสปริงเกอร์ดับไฟ นอกเหนือจากถังดับเพลิงแบบคาร์บอนไดออกไซค์ที่วางตามจุดต่างๆ อยู่แล้ว โดยการดับเพลิงบนเรือจะไม่มีการใช้น้ำ เพราะบนเรือเต็มไปด้วยสายไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่จะเป็นโฟม และเคมี สำหรับส่วนที่ 5 มีลูกเรือทำงาน 11 คน และส่วนที่ 6 มีลูกเรือ 6 คน

เรือดำน้ำชั้นแทงโก สามารถดำน้ำได้นาน 3 วันครึ่ง หลังจากนั้นต้องลอยขึ้นมารับอากาศใหม่ ผ่านทางสน็อกเกิล และชาร์จแบตเตอรี่ โดยแบตเตอรี่จะอยู่ใต้ของส่วนที่ 2-4 หากดูแบบแปลนจะเห็นแบตเตอรี่จำนวนมากวางเรียงกันอยู่ใต้ท้องเรือ และนี่เป็นหัวใจสำคัญของเรือดำน้ำพลังงานดีเซล ดำน้ำได้ลึก 400 เมตร และอยู่ในน้ำลึกได้ไม่เกิน 600 เมตร ตัวเรือกินน้ำลึก 6 เมตร เรือลำนี้ถูกสร้างมาตั้งแต่ปี 1976 ปลดประจำการแล้วนำมาเป็นพิพิธภัณฑ์เมื่อปี 2002

เดินทางจนถึงส่วนสุดท้ายที่เป็นส่วนที่ 7 อยู่ท้ายเรือ มีลูกเรือ 4 คน ดูแลรับผิดชอบส่วนนี้ จะมีแท็งก์น้ำสะอาดสำหรับใช้อุปโภคบริโภคในเรือ ข้อต่อชุดเพลาใบจักร และหางเสือ นอกจากนี้ยังมีช่องหนีฉุกเฉินเหมือนกับห้องตอร์ปิโดด้วย แต่เรือชั้นนี้ไม่มีช่องตอร์ปิโดท้ายลำ เหมือนเรืออูของกองทัพเรือเยอรมนี เดินจนสุดทางก็ต้องเดินขึ้นบันไดวน ขึ้นมารับอากาศบริสุทธิ์เป็นอันจบการเยี่ยมชมเรือ U-434 แต่เพียงเท่านี้

เรือดำน้ำจัดเป็นเครื่องจักรที่เป็นสุดยอดการออกแบบทางวิศวกรรม มันใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการต่อเรือ มีบทบาทมากในสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 โดยฝูงหมาป่าเรืออูของเยอรมนี สร้างชื่อและผลงานในการจมกองเรือคอนวอยของสัมพันธมิตรในทะเลแอตแลนติก รวมทั้งยังเป็นเครื่องมือการถ่วงดุลอำนาจทางทหารในทะเลช่วงสงครามเย็นของ 2 มหาอำนาจอีกด้วย สำหรับคนไทยอย่างผมโอกาสได้เห็นเรือดำน้ำของจริงมีอยู่ไม่มากนัก ครั้งนี้ได้มาเจอเรือดำน้ำโซเวียตนับว่าเป็นบุญตา นอกจากได้มาดูเครื่องบิน สำหรับผู้ที่ได้มีโอกาสมาเที่ยวเมืองฮัมบวร์ก ไม่ควรพลาดจะมาเยี่ยมชมเรือดำน้ำ U-434 นะครับ...

ที่มารูปภาพกราฟฟิกเรือ และข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/U-434


มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   3196

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

TOP Engineering Group - UAV Thailand นิทานชาวเรือ

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network