Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

Nathalin Group

Nathalin Group Advertising in MarinerThai.Com

ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย -The Pharos Lighthouse of Alexandria

ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย (The Pharos Lighthouse of Alexandria)


โดย กัปตัน นีโอ วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559

 

การเดินเรือในยุคแรกๆ ชาวเรืออาศัยธรรมชาติของภูเขาไฟที่ยังลุกอยู่เป็นตัวบ่งบอก ต่อเมื่อภูเขาไฟดับแล้ว จึงได้จัดหาไฟขึ้นมาใช้แทนที่ภูเขาไฟที่หายไป จนเกิดเป็นประภาคารขึ้น ประภาคารแห่งแรกของโลกคือประภาคารที่ตั้งอยู่บนเกาะฟารอส (Pharos) หน้าเมืองอะเล็กซานเดรีย (Alexandria) ในอียิปต์ ชื่อว่าฟารอสแห่งอะเล็กซานเดรีย ประภาคารนี้สร้างโดยชาวกรีก ชื่อ ซอสตราตุส ชาวเมืองไนดัส ในสมัยกษัตริย์ปโตเลมี ประมาณ พ.ศ. 260 แต่ปัจจุบันสูญไปไม่เหลือแม้แต่ร่องรอย

รูปสลักของพระเจ้าปโตเลมีที่ 1 (พระเจ้าปโตเลมีฟิลาเดลฟัส) ตอนนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (th.wikipedia.org) ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย หรือ ประภาคารแห่งอเล็กซานเดรีย (อังกฤษ: Pharos of Alexandria, Lighthouse of Alexandria, คำว่าฟาโรสในภาษากรีก (Φάρος) แปลว่าประภาคาร) เป็นประภาคารโบราณซึ่งจัดให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตั้งอยู่บนเกาะฟาโรส เมืองอเล็กซานเดรีย ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สร้างประมาณ 270 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในรัชสมัยพระเจ้าปโตเลมีที่ 1 โดยสถาปนิกชื่อ โซสเตรโตส

ตัวประคาภารมีความสูงเท่าใดไม่แน่ชัด แต่อยู่ในระหว่าง 200-600 ฟุต (ขนาดพอ ๆ กับ เทพีเสรีภาพ มีบางหลักฐานคาดว่าประภาคารนี้สูงประมาณ 134 เมตร) สร้างด้วยหินอ่อนแกะสลัก ช่วงล่างเป็นรูปสี่เหลี่ยม ช่วงกลางเป็นรูปแปดเหลี่ยม และช่วงบนเป็นทรงกลม ยอดบนสุดของประภาคารนี้ มีภาชนะสำหรับใส่ถ่านหรือกองฟืน ทำหน้าที่เป็นตะเกียงขนาดใหญ่บนยอด

นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าในเวลากลางวันจะปล่อยควัน ในเวลากลางคืนจะเป็นแสงไฟสว่างที่เห็นได้จากระยะไกล ซึ่งลุกโชติช่วงทั้งวันทั้งคืนเพื่อเป็นไฟสัญญาณไฟบนยอดประภาคารนี้เห็นได้ ไกลในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนถึง 40 กิโลเมตร ซึ่งยังไม่ทราบว่าใช้วิธีใดในการจุดไฟและส่องแสง บ้างก็สันนิษฐานว่าใช้กระจกในการส่องแสง บ้างก็เชื่อว่า สามารถส่องแสงได้ถึง 4 ทาง แต่บางส่วนก็เชื่อว่า ส่องแสงได้เพียงแค่ 2 ทางเท่านั้น

ตามตำนานเล่าขานกันมา กระจกนี้สะท้อนเหตุการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในกรุงคอนสแตนติโนเปิล ข้ามไปจนถึงภาคตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและเอเชียไมเนอร์ ยังมีการเล่าต่อกันมาอีกว่ากระจกนี้ยังมีอิทธิฤทธิ์อิทธิเดชสำคัญสะท้อนแสงอาทิตย์ไปเผา เรือศัตรูในทะเล เพราะเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาเหล่านี้ ทำให้ประภาคารแห่งเมืองอเล็กซานเดรียนี้มีชื่อเสียง เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ประภาคารนี้ได้ชื่อมาจากชื่อเกาะที่มันตั้งอยู่ คือ ฟาโรส และกลายมาเป็นชื่อเรียกประภาคารในภาษาต่าง ๆ

ประภาคารฟาโรสตั้งตระหง่านนำทางสัญจรของเรือเข้าสู่เมืองอเล็กซานเดรียมาเป็นเวลาร่วม 1,500 ปี จนกระทั่งพวกอาหรับเข้ายึดครองเมือง ประภาคารก็ถูกรื้อทิ้งไป เล่ากันมาว่าพวกอาหรับถูกสายลับซึ่งจักรพรรดิแห่งคอนสแตนติโนเปิลส่งมาหลอกลวงให้ทำลายประภาคารเสีย เพื่อไม่ให้ใช้มันเป็นประโยชน์ในการเดินเรือของพวกมุสลิม สายลับอ้างว่าข้างใต้ประภาคารมีขุมทรัพย์ฝังอยู่ แต่หลังจากประภาคารถูกทำลายไปแล้วพวกอาหรับถึงตระหนักว่าเสียรู้ ในช่วงนั้นกระจกขนาดใหญ่ก็หล่นร่วงลงมาและแตกละเอียดเป็นผุยผง มีบางส่วนของประภาคารหลงเหลือ และส่วนนี้ก็ยังคงมีอยู่ให้เห็นจนปี ค.ศ. 1375 จนแผ่นดินไหวในเมืองอเล็กซานเดรีย ทำให้ประภาคารแห่งนี้พังทลายลงมาจนสิ้นซาก

ในปี ค.ศ. 1994 นักโบราณคดีได้ดำน้ำสำรวจบริเวณปากอ่าวอเล็กซานเดรีย พบหลักฐานของสิ่งที่เชื่อว่าเป็นซากชิ้นส่วนของประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย ซึ่งบางส่วนเป็นหินที่หนักถึง 70 ตันและเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ


 



มารีนเนอร์ไทย | MarinerThai.Net | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   11530

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

Advertising in MarinerThai.Com Photos from Mariner

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network