Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

Cho.Charoen Maritime Instruments

Advertising in marinerthai.net FB MarinerThai News

4 เทคโนโลยีสุดล้ำที่น่าจับตามองในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

4 เทคโนโลยีสุดล้ำที่น่าจับตามองในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี


จาก ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2560

บทวิเคราะห์จาก EIC ธนาคารไทยพาณิชย์

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่กำลังก้าวเข้ามาเปลี่ยนโลกในยุคปัจจุบัน ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีก็เช่นเดียวกัน เทคโนโลยีใหม่ๆ กำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงในห่วงโซอุปทาน ตั้งแต่กระบวนการสรรหาสารตั้งต้นในการผลิตปิโตรเคมี ไปจนถึงตัวผลิตภัณฑ์ที่ส่งต่อถึงมือผู้บริโภค ซึ่งเทคโนโลยีที่จะทำให้การสรรหาวัตถุดิบตั้งต้นเปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ fracking และ on-purpose ทั้งสองเทคโนโลยีสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ผู้ผลิตที่มีวัตถุดิบและใช้เทคโนโลยีดังกล่าว จะได้สารตั้งต้นในปริมาณมากและมีต้นทุนที่ถูกลง ส่วนเทคโนโลยีที่ใช้ในตัวผลิตภัณฑ์ ได้แก่ bio-plastic และ 3D printing ซึ่งจะช่วยตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น พลาสติกบางชนิดจะมีการขยายตัวเพื่อรองรับความต้องการใช้งาน เช่น ABS PLA

-อีไอซีคาดว่าผลจากการใช้เทคโนโลยี fracking และ on-purpose จะทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวให้สามารถแข่งขันทางด้านต้นทุนกับผู้ผลิตในระดับโลก ส่วนผลจากการใช้เทคโนโลยี bio-plastic และ 3D printing จะเป็นโอกาสสำคัญให้ผู้ประกอบการไทยพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าของเม็ดพลาสติก เพื่อขยายตลาดต่อไปในอนาคต

เทคโนโลยีการขุดเจาะแบบ fracking ทำให้ได้ปริมาณก๊าซธรรมชาติออกมามหาศาลเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตปิโตรเคมี fracking เป็นวิธีการขุดเจาะที่ผสมผสานสองเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน คือ hydraulic fracturing กับ horizontal drilling โดยจะฉีดผสมสารเคมีและทรายจำนวนมหาศาลลงใต้ดิน เพื่อทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหิน เป็นเหตุให้ shale gas กับ shale oil ที่ถูกเก็บกักอยู่ระหว่างชั้นหลุดออกมา ซึ่งสหรัฐฯ ใช้วิธีการขุดเจาะแบบนี้มากกว่าจีน

จากเทคโนโลยีดังกล่าวทำให้ผู้ผลิต ethylene จาก gas cracker ที่ใช้ shale gas เป็นวัตถุดิบ มีต้นทุนที่ถูกลง เนื่องจาก shale gas มีปริมาณมากและราคาถูก ส่งผลให้การผลิต ethylene จาก gas cracker มากขึ้น สอดคล้องกับการคาดการณ์ของ EIA ที่ประเมินว่าการผลิต ethylene จาก gas cracker ของสหรัฐฯ จะเติบโตขึ้นราว 16.3% ต่อปี ระหว่างปี 2016-2018

ทั้งนี้ gas cracker จะให้สัดส่วนของ ethylene ประมาณ 82% ในขณะที่ naphtha cracker จะให้สัดส่วนของ ethylene ออกมาราว 30% ดังนั้น เทคโนโลยีใหม่นี้จะทำให้ได้ ethylene ออกมาจำนวนมาก ส่วน propylene เป็นสารตั้งต้นสำคัญอีกตัวหนึ่งในกระบวนการผลิตปิโตรเคมี ซึ่ง gas cracker จะให้สัดส่วนของสารตั้งต้นนี้ออกมาที่ 13% และ naphtha cracker จะให้สัดส่วนออกมาที่มากกว่าอยู่ที่ 15% อย่างไรก็ดี จากสัดส่วนของ propylene ที่น้อยลง ทำให้มีแนวโน้มที่ปริมาณอุปทานของสารตั้งต้นนี้ไม่เพียงพอต่อปริมาณอุปสงค์ของตลาด

เทคโนโลยี on-purpose ช่วยแก้ปัญหาความขาดแคลนของสารตั้งต้นในการผลิตปิโตรเคมี ในขณะที่สหรัฐฯ มี shale gas เป็นแหล่งวัตถุดิบของปิโตรเคมี ฝั่งของจีนก็มีถ่านหินที่เป็นแหล่งวัตถุดิบเช่นเดียวกัน ซึ่งเทคโนโลยี on-purpose ถูกนำมาใช้กับถ่านหินเพื่อผลิตสารตั้งต้นสำหรับปิโตรเคมี เรียกว่า Coal-to-Olefin (CTO) และ Methanol-to-Olefin (MTO) นอกจากนี้ เทคโนโลยีนี้ยังช่วยแก้ปัญหาการได้สัดส่วน propylene ที่ลดลง จากการใช้ gas cracker โดยใช้เทคโนโลยี on-purpose ที่เรียกว่า PDH (Propane dehydrogenation)

On Purpose Technologies

เทคโนโลยีดังกล่าวสร้างความท้าทายให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในด้านความสามารถทางการแข่งขันทางด้านต้นทุน ผู้เล่นในฝั่งสหรัฐฯ จะมีความได้เปรียบทางด้านต้นทุนการผลิตทั้ง ethylene และ propylene ที่ถูกลง จากเทคโนโลยีการขุดเจาะ shale gas และ PDH สำหรับผู้เล่นในฝั่งเอเชียโดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน เทคโนโลยี CTO/ MTO ยังมีต้นทุนการผลิตที่สูง แต่หากในอนาคต จีนมีการปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ก็จะเป็นผู้เล่นที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันในอนาคตและย่อมเป็นความท้าทายต่อผู้ผลิตที่มีต้นทุนสูงกว่า โดยเฉพาะผู้ผลิตในเอเชียที่ส่วนใหญ่เป็น naphtha based อย่างบริษัทในเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน ทำให้การส่งออกสินค้าไปยังจีนอาจไม่ขยายตัวเหมือนอย่างที่แล้วมา ส่งผลให้มีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น และอาจต้องหาตลาดใหม่ทดแทนหรือผลิตสินค้าประเภท specialty product เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดปิโตรเคมีได้

เทคโนโลยี bio-plastic ทำให้สินค้ามีความพิเศษและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่รักสิ่งแวดล้อม จากกระแสรักษ์โลก ทำให้ผู้เล่นปรับตัวมาผลิตเม็ด bio-plastic มากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ โดย PLA, PHA และ PET จะเป็นเม็ดพลาสติกที่มีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญของตลาดนี้ ที่คาดว่าจะเติบโตราว 30% ตั้งแต่ช่วงปี 2013-2030 ในขณะที่ตลาด conventional plastic หรือพลาสติกแบบดั้งเดิม จะเติบโตราว 3% ต่อปี

ทั้งนี้ อีไอซีมองว่าเทคโนโลยี bio-plastic ไม่ได้มาทดแทน conventional plastic อย่างสมบูรณ์ แต่สัดส่วนการใช้จะสูงขึ้นในอนาคต โดยในปี 2013 ตลาด bio-plastic มีสัดส่วนน้อยกว่า 1% ของตลาดพลาสติกทั่วโลก และเพิ่มสัดส่วนขึ้นเป็น 4% และ 40% ในปี 2019 และ 2030 ตามลำดับ สำหรับประเทศไทยมีข้อได้เปรียบในการผลิต bio-plastic โดยมีสินค้าเกษตร คือ มันสำปะหลัง และอ้อย ซึ่งไทยสามารถผลิตได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อการใช้ในประเทศและการส่งออกอยู่แล้ว ถือเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาดโลก

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายสำคัญ คือต้นทุนการผลิต เม็ดพลาสติกชีวภาพในปัจจุบันมีต้นทุนสูงกว่าเม็ดพลาสติกแบบทั่วไปประมาณ 1.5-3 เท่า แตกต่างกันไปตามชนิดของเม็ดพลาสติก ถึงแม้ว่าพลาสติกชีวภาพจะมีราคาที่ค่อนข้างสูง แต่คาดว่านวัตกรรมการผลิตในอนาคตจะส่งผลให้ราคาปรับลดลงโดยการสรรหาวัตถุดิบใหม่ๆ มาใช้ โดยเฉพาะวัตถุดิบเหลือทิ้งอย่างฟางข้าว เปลือกข้าว และเปลือกไม้ แทนการใช้มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ควบคู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้สามารถแข่งขันกับพลาสติกแบบทั่วไปได้

เทคโนโลยี 3D printing อีกหนึ่งเทคโนโลยีใหม่ที่สร้างโอกาสให้กับผู้ผลิตเม็ดพลาสติก ABS และ PLA 3D printing เป็นเครื่องพิมพ์ที่แปลงข้อมูลที่เป็นข้อมูลดิจิทัล เช่น ตัวอักษร หรือรูปภาพต่างๆ จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ออกมาเป็นชิ้นงานที่สามารถจับต้องได้ โดยพลาสติกหลักในการสร้างชิ้นงานมี 2 ชนิด คือ ABS (Acrylonitrile Butadiene Styrene) และ PLA (Polyactic acid)

3D printing ทำงานโดยผู้พิมพ์จะสร้างรูปแบบจำลอง 3 มิติ จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำพวก CAD (Computer Aided Design) เมื่อได้โมเดลหรือชิ้นงานในรูปของไฟล์ดิจิทัลแล้ว ก็จะนำไฟล์นั้นมาใส่เครื่องพิมพ์ 3 มิติ และเครื่องพิมพ์จะใช้พลาสติก มาเป็นวัสดุในการขึ้นรูปโมเดล 3 มิติ

ประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้จะช่วยลดต้นทุนการผลิต เพราะสามารถผลิตชิ้นงานต้นแบบได้ในราคาถูก ผลิตได้แบบเรียลไทม์ อีกทั้งช่วยลดระยะเวลาของห่วงโซ่อุปทาน ลดค่าจัดส่งและจัดเก็บวัสดุ เนื่องจากชิ้นงานมีน้ำหนักเบา ทำให้การจัดการสินค้าคงคลังดีขึ้น

ปัจจุบัน เทคโนโลยีนี้จะใช้เม็ดพลาสติก ABS และ PLA ในการขึ้นรูปชิ้นงานเป็นหลัก โดยถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลายอุตสาหกรรม และใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการบิน ในอนาคตคาดว่าเทคโนโลยีนี้จะถูกนำไปใช้ในโรงงานและเครื่องจักรกลมากขึ้น ซึ่งการเติบโตของตลาด 3D Printing คาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่าระหว่างปี 2015-2020

 



มารีนเนอร์ไทย | MarinerThai.Net | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   2170

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

IT knowhow for Mariner Cho.Charoen Maritime Instruments

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network