หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

ติดต่อเรา

Facebook

MarineThai.Com | MarineThai.Net

 

 

 

 
 
 

 

 

บทความและเอกสารน่าอ่านสำหรับเครื่องมือสื่อสารและอุปกรณ์ช่วยการเดินเรือ

ในส่วนของความรู้ต่างๆ ในเรื่องของอุปกรณ์สื่อสารและเครื่องช่วยในการเดินเรือหรือเรียกในภาษาอังกฤษว่า "Marine Communication System" และ "Navigation Aid System" ตามลำดับที่ทาง มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ได้รวบรวมเอาไว้ในส่วนนี้ ได้รับความอนุเคราะห์จากท่านสมาชิกและท่านเจ้าของบทความที่มีความกรุณาให้ทีมงาน มารีนเนอร์ไทยดอทคอม นำลงเพื่อเผยแพร่ให้กับมวลสมาชิก และ ท่านที่สนใจทั่วไป เพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นในการทำความรู้จักกับอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยหรือใช้ในการเดินเรือทั่วไป ว่ามีประโยชน์อย่างไรและทำไมต้องมีไว้ในการเดินเรือ ตลอดจนเกล็ดความรู้และข้อบังคับต่างๆ ขององค์การทะเลโลก (IMO - International Maritime Origanization) ที่ได้วางบรรทัดฐานว่าเครื่องมือใดหรืออุปกรณืใดจำเป็นต้องมีไว้ติดตั้งประจำเรือเดินทะเล นอกจากบทความในส่วนนี้แล้ว ท่านสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้จากส่วนของ คู่มือปฏิบัติงานเรือ ของ มารีนเนอร์ไทยดอทคอม

ทางทีมงานต้องขอขอบพระคุณ ท่านสมาชิก และ ท่านที่ได้มอบ เอกสาร บทความ นี้แก่ทาง มารีนเนอร์ไทยดอทคอม มา ณ ที่นี้ด้วย บทความและ เอกสารทั้งหมดเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนแต่ละท่านนะครับ และไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงการค้าหรือซื้อขายอย่างเด็ดขาด แต่ยินดีเผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานหรือแนวทางแก่ผู้ที่ทำงานเรือหรือจำเป็นต้องใช้ในงานต่อไปครับ

หากท่านมีข้อติชมประการใด เกี่ยวกับบทความและเอกสารที่นำลงในส่วนนี้ โปรดส่งข้อคิดเห็นของท่านมาได้ที่ webmaster@marinerthai.net หรือนำไปตั้งกระทู้ถามใน เว็บข่าวชาวเรือ ได้ครับ ขอบคุณครับ

 

ระบบสื่อสารเพื่อการป้องกันภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล GMDSS - Global Maritime Distress and Safety System

IMO-SOLAS ที่ได้กำหนดให้เรือเดินทะเลทุกลำที่มีขนาด 300 ตันกรอส ขึ้นไป และ เรือโดยสารทุกลำ เปลี่ยนระบบสื่อสารแจ้งเหตุอันตรายจากระบบเดิมมาใช้ระบบ GMDSS ก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 และ เรือทุกลำต้องปฏิบัติตามกฎข้อ 7.1.4 (ติดตั้ง Navtex Receiver) และกฏข้อที่ 7.1.6 (ติดตั้ง Satellite Eprib) ก่อนวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1993

กระโจมวิทยุแจ้งตำบลที่ฉุกเฉิน EPIRB และทุ่น PLB

กระโจมวิทยุแจ้งตำบลที่ฉุกเฉินหรือทุ่นส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือผ่านดาวเทียม EPIRB (Emergency Position Indicating Radio Beacon) เป็นเครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน ซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานตามระบบ GMDSS ที่ให้เรือเดินทะเลขนาด 300 ตันกรอสขึ้นไปทุกลำจะต้องมีไว้ประจำเรือ

เครื่องรับข่าวประกาศชาวเรือ NAVTEX Receiver

เครื่องรับประกาศชาวเรือ เป็นเครื่องรับข้อมูลข่าวสารด้านการเดินเรือระหว่างประเทศแบบอัตโนมัติ ลักษณะการส่งข้อความแบบ NBDP หรือ Narrow Band Direct Printing รับสัญญาณย่าน MF คลื่นความถี่ 518 kHz ข่าวสารที่ได้รับจะเป็นข้อมูลการเดินเรือหรือคำเตือนทางอุตุนิยมวิทยาต่างๆ รวมทั้งข่าวสารการค้นหาและช่วยเหลือเรือที่ประสบอันตรายฉุกเฉินเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเรือเดินทะเลทุกลำจะต้องติดตั้งเครื่องรับข่าวสารเพื่อการเดินเรือนี้

ระบบรายงานตนอัตโนมัติ หรือ AIS- Automatic Indentification System

IMO ได้กำหนดให้ เรือโดยสาร, เรือสินค้า (ขนาด 300 ตันกรอสขึ้นไป และเดินทางระหว่างประเทศ) และ เรือสินค้า (ขนาด 500 ตันกรอส ขึ้นไปที่ไม่ได้เดินทางระหว่างประเทศ) ทุกลำต้องติดตั้งระบบ AIS – Automatic Identification Systemไม่ช้ากว่าการตรวจเรือ (Survey for Safety Equipment) ครั้งแรกหลังวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2004 และไม่เกิน 31 ธันวาคม ค.ศ. 2004

เครื่องเรดาร์ตรวจการณ์ประจำเรือ (Marine Radar)

ระบบเรดาร์ทางเรือ หรือ Marine Radar เป็นเครื่องมือช่วยในการเดินเรือใช้สำหรับตรวจจับวัตถุ รวมทั้งการหาตำแหน่งและความเร็วของวัตถุที่จับได้นั้น เรดาร์ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ หลายอย่าง ดังเช่น เรดาร์ประจำเรือเดินทะเล, เรดาร์ประจำหอควบคุมท่าเรือหรือสถานีชายฝั่ง, เรดาร์ประจำหอบังคับการของสนามบิน และเรดาร์สำหรับจับภาพของสภาพอากาศจะจับภาพ ของก้อนเมฆและการเคลื่อนที่ของมัน ตลอดจนใช้ในงานตรวจจับวัตถุทางภาคพื้นดินของกองทัพบก เป็นต้น

เครื่องแสดงแผนที่และข้อมูลเดินเรือ ECDIS

เครื่องแผนที่เดินเรืออัตโนมัติ หรือ ECDIS ย่อมาจากคำว่า Electronic Chart Display and Information System ความหมายโดยรวมคือ ระบบข้อมูลของการเดินเรือที่มีความสามารถอยู่ในระดับยอมรับได้ด้วยแผนที่เดินเรือที่ปรับปรุงทันสมัยอยู่เสมอ ตามข้อกำหนดของ SOLAS 1974

เครื่องแจ้งตำบลที่ด้วยดาวเทียม GPS - Global Positioning System

คำว่า "GPS" ว่ากำลังมีบทบาทในการหาตำแหน่งและการนำร่อง เครื่องรับ GPS Receiver ทั่วไปสามารถนำไปใช้งานได้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะการนำร่องสำหรับเรือหรือเครื่องบิน แต่ยังไม่ดีพอสำหรับการใช้เพื่อวัดระยะในการสำรวจหรืองานทางวิศวกรรม เพื่อให้ SPS สามารถให้คำตอบถูกต้องแม่นยำขึ้น เราต้องพยายามตัด error ต่างๆ ออกให้ได้ และนั่นก็เป็นที่มาของ Differential GPS หรือ DGPS

เครื่องหยั่งความลึกน้ำสำหรับเดินเรือและการทำประมง (Echo Sounder)

Echo Sounder เป็นอุปกรณ์ช่วยในการเดินเรือสำหรับใช้เป็นเครื่องวัดระดับความลึกของน้ำใต้เรือในขณะที่กำลังแล่นเรืออยู่ในทะเล เพื่อให้ผู้ที่นำเรือทราบได้ว่าเรือได้แล่นอยู่ในเขตน้ำที่มีความลึกจากใต้ท้องเรือลงไปเป็นระยะความลึกเท่าไร ป้องกันมิให้เรือแล่นเข้าไปในบริเวณเขตน้ำตื้น อันอาจเป็นเป็นภัยต่อตัวเรือได้

เครื่องโซน่าร์ (SONAR)

อุปกรณ์ของเครื่องโซน่าร์จะส่งสัญญาณคลื่นเสียงออกไปและคอยเฝ้าฟังสัญญาณคลื่นเสียงที่ไปกระทบกับวัตถุใต้น้ำหรือฝูงปลาแล้วสะท้อนกลับมายังเครื่องโซน่าร์ เพื่อประมวลว่าระยะทางไปและกลับของคลื่นเสียง ความชัดเจนของเสียงเพื่อแยกแยะประเภทของวัตถุที่กระทบ ตลอดจนการจดจำการเคลื่อนที่ของวัตถุนั้น เพื่อแสดงข้อมูลบนจอภาพให้ผู้ใช้งานทราบ

การเดินเรือดาราศาสตร์ (Celestial Navigation)

การเดินเรือดาราศาสตร์ใช้หลักการหาตำบลที่เรือเดิน โดยการสังเกตวัตถุท้องฟ้า นักเดินเรือจะต้องรู้จักใช้อัตราแก้ให้ชำนาญและแม่นยำ การเดินเรือในสมัยโบราณนักเดินเรือคำนวณเข้าสูตรด้วยตนเอง สมัยต่อมามีการใช้สมุดมาตราที่คำนวณไว้แล้ว การวัดดาวจึงง่ายขึ้นมาก เพียงเปิดมาตราหาตัวเลขที่ใช้งานให้ถูก ก็นำมาพลอต (plot) เส้นตำบลที่ได้ ในปัจจุบันมีการผลิตเครื่องคำนวณสูตรการวัดดาว ซึ่งทำให้การวัดดาวสะดวกรวดเร็วขึ้นอีกมาก โดยใส่ข้อมูล เช่น มุมสูง, ชื่อดาว, วันเวลาที่วัด เครื่องก็จะคำนวณตัวเลขออกมาให้นำไปพลอต (plot) เส้นตำบลที่ได้รวดเร็วกว่าการเปิดสมุดมาตรา ในเรือที่มีการจัดการที่ดี การหาตำบลที่เรือตามหลักการเดินเรือดาราศาสตร์ (celestial navigation)  

วันบังคับใช้กฏตามอนุสัญญาข้อตกลงต่างๆ ขององค์การทะเลโลก IMO

รวบรวมวัน Action Date หรือวันที่มีผลบังคับใช้ตามกฎข้อบังคับต่างๆ ขององค์การทะเลโลก (IMO - International Maritime Organization) เพื่อใช้อ้างอิงว่า หลังวันที่/เดือน/ปีอะไรที่เรือเดินทะเลแต่ละลำจะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ ต้องติดตั้งอุปกรณ์หรือมีสิ่งใดเพิ่มเติมประจำเรือของท่านบ้าง หลังวันที่ประกาศบังคับใช้กฎต่างๆ หากเรือของท่านอยู่ในข่ายที่ต้องดำเนินการจัดหาหรือติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมตามข้อบังคับ แต่มิได้ปฏิบัติตาม อาจส่งผลให้เรือโดนกักโดย Port State ของแต่ละประเทศได้

LRIT การเฝ้าติดตามและพิสูจน์ทราบที่เรือจากระยะไกล Long Range Identification and Tracking

LRIT ย่อมาจาก Long Range Identification Tracking เรียกเป็นภาษาไทยว่า การเฝ้าติดตามและพิสูจน์ทราบเรือจากระยะไกล คือมาตรการพิเศษเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของการรักษาความปลอดภัยทางทะเล ที่ IMO กำหนดให้เรือที่เดินเรือบนเส้นทางเดินเรือสากล ได้แก่ เรือโดยสาร รวมทั้งเรือเร็ว, เรือบรรทุกสินค้า รวมทั้งเรือเร็ว ที่มีระวางขับน้ำตั้งแต่ 300 ตันกรอสขึ้นไป และหน่วยปฏิบัติงานขุดเจาะไกลฝั่งเคลื่อนที่ (mobile offshore drilling unit) ไม่ช้ากว่าการตรวจเรือครั้งที่ 1 หลังจากวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551)

ระบบแจ้งเตือนเพื่อความปลอดภัยของเรือ หรือ SSAS (Ship Security Alert System)

อีกหนึ่งมาตรการความปลอดภัยสำหรับเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการรักษาความปลอดภัยสำหรับเรือเดินทะเลและช่วยบรรเทาเหตุร้ายจากการกระทำของโจรสลัดและ/หรือผู้ก่อการร้ายต่อการขนส่งทางเรือ โดยทั่วไปได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของ ประมวลข้อบังคับระหว่างประเทศว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือ หรือ International Ship and Port Facility Security Code - ISPS Code ที่ต้องมีระบบแจ้งเตือนเพื่อความปลอดภัยของเรือ (SSAS) เสริมเข้าตามข้อบังคับจากองค์การทะเลโลก (International Maritime Organization - IMO) ที่มีความพยายามที่จะเพิ่มความปลอดภัยให้กับเรือเดินทะเลในการเดินเรือผ่านพื้นที่อันตรายจากโจรสลัดและ/หรือผู้ก่อการร้าย

กล่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง VDR Voyage Data Recorders

กล่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง VDR หรือกล่องดำ เป็นอุปกรณ์ที่ทางองค์การทะเลโลก (IMO - International Maritime Organization) ได้ประกาศให้ เรือโดยสารทุกลำ และเรืออื่นๆ ที่มีขนาดตั้งแต่ 3000 ตันกรอสขึ้นไป และสร้างเสร็จหลังจากวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) จะต้องติดตั้งกล่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง voyage data recorders (VDRs) เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ตรวจสอบอุบัติเหตุ ภายใต้กฎข้อบังคับที่ประกาศเมื่อปี ค.ศ. 2000 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545)

โคมไฟสัญญาณสำหรับการเดินเรือ (Navigation Lights)

การเดินเรือในเวลากลางคืน เรือเดินทะเลทุกลำจะต้องติดตั้งและใช้โคมไฟสัญญาณตามกฎการเดินเรือสากล เพื่อแสดงให้เรือที่อยู่ในบริเวณได้ทราบและสามารถกำหนดทิศทางของเรือลำนั้นๆ ได้อันเป็นประโยชน์ในการบังคับเรือไม่ให้เกิดการชนกัน หรือหลีกเลี่ยง หรือส่งสัญญาณขอทาง เป็นต้น

การสื่อสารทัศนสัญญาณระหว่างเรือด้วย ธงประมวล (Nautical Flags)

การใชัทัศนสัญญาณเป็นเครื่องมือในการสื่อสารทางยุทธวิธีระหว่างเรือในเวลากลางวัน ซึ่งการสื่อสารประเภททัศนะเป็นเครื่องมือที่มีใช้อยู่ทุกหน่วยงานทั้งทางบกและทางน้ำ สัญญาณอาจใช้ส่งด้วย ธง แสง ดอกไม้เพลิง แผ่นผ้า แขน ควันไฟ กระจกสะท้อนแสงอาทิตย์ และสัญญาณธงประมวลต่างๆ ตลอดจนวิธีการทางทัศนะใด ๆ ที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า สำหรับเรือรบนั้นมีการใช้เครื่องมือทัศนสัญญาณสำหรับเวลากลางวัน

สัญญาณเสียงและสัญญาณแสง สิ่งจำเป็นในการเดินเรือ

หวูดเรือ ไซเร็น ระฆัง ฆ้อง เป็นสัญญาณเสียงในการเดินเรือ บอกทางเดินเรือ ในกรณีที่เรือเข้าที่คับขันมีหมอก เรียกคนประจำเรือลง เรือสินค้าโดยสารใช้เรียกคนโดยสารให้ทราบว่าเรือเตรียมเดินทางและเป็นการทดลองหวูดด้วย เป็นต้น และใช้ในกรณีพิเศษ เช่น แสดงความยินดีต้อนรับผู้มีเกรียติหรือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จผ่าน หรือในพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นสัญญาณภัยทางอากาศอีกด้วย

 

 

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

การนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร บทความ หรือข้อความอื่นใดทั้งหมดในเว็บไซด์ นี้เป็นเพียงการให้บริการ รวบรวมข้อมูล ความรู้ ฐานข้อมูลทางวิชาการ และความรู้ด้านต่าง ๆ รวมทั้งเป็นเวทีแสดงความคิดเห็น หรือแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสาร ระหว่างผู้ใช้บริการ ด้วยกันเท่านั้น ดังนั้น มารีนเนอร์ไทยดอทคอมจึงไม่รับรองความถูกต้อง ของบรรดาข้อมูล ข่าวสาร บทความ หรือข้อความอื่นใดกำหนดในเว็บไซด์นี้ นอกจากนี้ขอเรียนว่า มารีนเนอร์ไทยดอทคอมไม่ใช่ตัวแทนหรือบุคคลที่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับเจ้าของข้อมูลข่าวสาร บทความ หรือข้อความใดๆ ซึ่งปรากฏอยู่บนเว็บไซด์ของ มารีนเนอร์ไทยดอทคอม เว็บไซด์นี้เป็นเพียงสื่อกลางที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูล ระหว่างผู้ใช้บริการและเจ้าของข้อมูลข่าวสาร ในด้านต่างๆ เท่านั้น โดยมารีนเนอร์ไทยดอทคอม ไม่สามารถตรวจสอบ หรือทราบถึงแหล่ง ที่มาและ/หรือรายละเอียด ของเนื้อหา ทั้งหมดของเว็บไซด์ ดังนั้นการนำเสนอข้อมูล ดังกล่าวหากก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใช้บริการ หรือบุคคลภายนอก จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิความรับผิด และ/หรือ ภาระผูกพันทาง กฎหมายไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น ระหว่าง มารีนเนอร์ไทยดอทคอม เจ้าของข้อมูลข่าวสาร ผู้ใช้บริการ สมาชิกของเว็บไซด์ และบุคคลภายนอก

 

 

 
 

 

 

 

หน้าแรก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com | Marine Thai Dot Net . All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network