ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

TOKYO MOU ประเมินกองเรือชักธงไทย เป็นกลุ่มเรือที่มีคุณภาพดีมาก

เริ่มโดย mrtnews, ส.ค 05, 17, 06:23:37 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

Tokyo Mou ได้ออกรายงานประจำปี ค.ศ. 2016 สรุปผลการตรวจประเมินคุณภาพเรือของประจำปี ค.ศ. 2013 - 2015 ประเมินสถานะกองเรือชักธงไทย เป็นกลุ่มเรือบัญชีขาว (White List) ซึ่งเป็นกลุ่มเรือที่มีคุณภาพดีมากติดต่อกัน 2 ปี ในปี ค.ศ. 2015 และ ค.ศ. 2016


ประเทศไทยได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจกรุงโตเกียว (Tokyo Mou) เกี่ยวกับการตรวจควบคุมเรือในเมืองท่า เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๙๓ (พ.ศ.๒๕๓๖) ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 20 ประเทศ ประกอบด้วย Australia, Canada, Chili, China, Fiji, Hongkong(China), Indonesia, Japan, Republic of Korea, Malaysia, New Zealand, Papua New Guinea, The Philippines, Peru ,The Russian Federation, Singapore, Marshall Islands, Thailand, Vanuatu, และ Vietnam โดยบันทึกความเข้าใจกรุงโตเกียวนี้ มีสาระสำคัญในการควบคุมเรือต่างชาติที่เดินเรือเข้ามาในเมืองท่าของประเทศสมาชิกที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อทำการพัฒนาการตรวจควบคุมเรือในเมืองท่า โดยให้เป็นไปตามพันธะข้อตกลงบันทึกความเข้าใจกรุงโตเกียว(Tokyo Mou) และเป็นไปตามมาตรฐานข้อกำหนดของอนุสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อให้มีความปลอดภัยในการเดินเรือและป้องกันไม่ให้การเดินเรือก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ Tokyo Mou ได้ให้ประเทศสมาชิกตรวจเรือต่างประเทศในแต่ละเมืองท่า และประเมินผลคุณภาพเรือ โดยนำผลการตรวจสอบคุณภาพเรือในรอบ 3 ปี มาคิดคำนวณ ซึ่งจัดเป็นกลุ่มบัญชีดำ (Black List หมายถึง กลุ่มเรือที่มีคุณภาพด้อยมาตรฐาน) กลุ่มบัญชีเทา (Grey List หมายถึง เรือที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน) และกลุ่มบัญชีขาว (White List หมายถึง กลุ่มเรือที่มีคุณภาพดีมาก) ซึ่งประเทศไทยได้รับการตรวจประเมินอยู่ในกลุ่มบัญชีดำ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 2013

สำนักมาตรฐานเรือ กรมเจ้าท่า ได้ดำเนินการแก้ปัญหาเรือชักธงไทยได้รับการตรวจประเมินอยู่ในกลุ่มบัญชีดำ   อย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหากองเรือชักธงไทยถูกขึ้นบัญชีดำ ซึ่งมีมาตรการดำเนินการแก้ไขปัญหากับ  เจ้าของเรือ ผู้บริหารเรือ บุคลากรปฏิบัติงานในเรือ เจ้าพนักงานตรวจเรือ และองค์กรเอกชนที่ได้รับอำนาจในการตรวจเรือ ดังนี้

1.มาตรการเชิงป้องกันในการแก้ไขปัญหา  ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่อง Port State Control แก่ผู้บริหารเรือ ผู้ปฏิบัติงานบนเรือ และผู้เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง การตรวจเรือเพื่อตรวจสอบความพร้อมก่อนเข้าหรือออกจากเมืองท่าทุกครั้ง สำหรับเรือที่มีประวัติอัตราการถูกกักเรือสูง ผู้บริหารเรือ ผู้ปฏิบัติงานในเรือ และเจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่า จะต้องร่วมกันตรวจเรือให้มีความพร้อมก่อนเดินเรือไปเมืองท่าต่างประเทศ โดยใช้วิธีการตรวจมาตรฐานเดียวกับเจ้าหน้าที่ควบคุมเรือในเมืองท่าในต่างประเทศที่ทำการตรวจ

2.มาตรการแก้ไขปัญหาระหว่างกรมเจ้าท่ากับเจ้าของเรือหรือบริษัทผู้บริหารเรือ กรณีเรือไทยถูกกักเรือ กรมเจ้าท่าจะเชิญเจ้าของเรือและบริษัทผู้บริหารเรือ ชี้แจงสาเหตุและกำหนดเวลาการดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน กรณีตรวจเรือแล้วพบข้อบกพร่องที่ร้ายแรง กรมเจ้าท่าจะจัดส่งเจ้าพนักงานตรวจเรือหรือเจ้าหน้าที่ขององค์กรที่ได้รับมอบอำนาจในการตรวจเรือ(Recognize Organization ; RO) ทำการตรวจสอบเรือซ้ำเพื่อให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามเกณฑ์ที่อนุสัญญาระหว่างประเทศกำหนด และในกรณีที่ตรวจพบว่าเรือลำใดมีประวัติถูกกักเรือสูงเกินกว่า 1 ครั้ง ในรอบ 12 เดือน รวมทั้งเป็นข้อบกพร่องที่เคยเป็นสาเหตุให้ถูกกักเรือมาแล้วนั้น เจ้าพนักงานตรวจเรือ จะออกใบสำคัญรับรองการตรวจเรือประจำปีให้มีอายุการใช้งานสั้นลงเป็น 3 เดือน หรือ 6 เดือน แล้วแต่กรณี เพื่อจะได้กำกับ ควบคุมดูแลมาตรฐานของเรืออย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด และเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เจ้าของเรือ ผู้บริหารเรือ ใส่ใจบำรุงรักษาคุณภาพของเรือให้ได้ตามมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง

  3.มาตรการแก้ไขปัญหาระหว่างกรมเจ้าท่ากับหน่วยงานผู้ได้รับมอบอำนาจ (RO) กรณีเรือที่ได้รับการตรวจเรือจากหน่วยงานที่ได้รับมอบอำนาจถูกกักเรือ กรมเจ้าท่าจะเชิญหน่วยงานผู้ได้รับมอบอำนาจชี้แจงสาเหตุและกำหนดเวลาการดำเนินการให้ชัดเจน กรณีตรวจเรือแล้วพบข้อบกพร่องที่ร้ายแรง กรมเจ้าท่า จะจัดส่งเจ้าพนักงานตรวจเรือหรือร่วมตรวจเรือซ้ำ หากพิจารณาแล้วพบว่าข้อบกพร่องต่างๆ ยังไม่มีการดำเนินการแก้ไขให้อยู่ในสภาพปกติและปลอดภัย กรมเจ้าท่าจะพิจารณายกเลิกการมอบอำนาจเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการการแก้ไข  ให้แล้วเสร็จ และหากพบว่าหน่วยงานผู้ที่ได้รับมอบอำนาจไม่ใส่ใจควบคุมมาตรฐานตามข้อกำหนดของอนุสัญญาระหว่างประเทศจะยกเลิกการมอบอำนาจดังกล่าวเป็นการถาวร


จากการที่เรือชักธงไทยถูกขึ้นบัญชีดำดังกล่าว กรมเจ้าท่า ได้วางแผนแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและดำเนินการตามมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องจนเป็นผลสำเร็จในปี ค.ศ. 2014 ประเทศไทยได้รับการตรวจประเมินคุณภาพเรือพ้นจากกลุ่มเรือบัญชีดำและเลื่อนสถานะเข้ามาอยู่ในกลุ่มเรือบัญชีเทา(Grey List) ซึ่งเป็นกลุ่มเรือที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน กลุ่มเรือบัญชีขาว(White List) ซึ่งเป็นกลุ่มเรือที่มีมาตรฐานดีมากในปี ค.ศ. ๒๐๑๖ และปัจจุบันในรายงานผลการตรวจประเมินคุณภาพประจำปี ค.ศ. 2016 กลุ่มเรือชักธงไทยได้รับการตรวจประเมินจาก Tokyo Mou มาอยู่ในกลุ่มเรือที่คุณภาพดีมาก (White List) โดย  กรมเจ้าท่าในฐานะเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านการขนส่งทางน้ำ ได้ให้ความใส่ใจและดำเนินการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง จนมาตรการนี้ดำเนินการมาประสบความสำเร็จอย่างดีส่งผลดีต่อภาพลักษณ์พาณิชยนาวีของไทย

ในสายตาชาวโลกกองเรือพาณิชยนาวีไทยได้รับความสะดวกมีโอกาสในการประกอบการพาณิชยนาวีระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น และช่วยส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทยในเวทีโลกด้วย สำหรับรายละเอียดการดำเนินการทั้งหมดสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักมาตรฐานเรือ กรมเจ้าท่า โทร. 0 2233 1311 - 8  ต่อ 224



ที่มา Data & Images -





..