ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

เรือขุดทราย ยังโผล่น่านน้ำอันดามัน ชาวบ้านหวั่นกระทบชายฝั่ง

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 09, 13, 23:02:36 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เรือขุดทราย จำนวนหลายยังโผล่น่านน้ำอันดามันด้านฝั่งพม่าไกล้แนวพรมแดนระนอง เพื่อดูดหาแร่ซิลิก้า ขนส่งโรงงานสิงคโปร์ ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมอุปกรณ์ไฟฟ้า,สุขภัณฑ์ หวั่นมีผลกระทบต่อชายฝั่ง และระบบนิเวศน์ ของ จ.ระนอง


นายอธิคม ธนบัตร คณะทำงานพัฒนาพื้นที่ 3 เหลี่ยมทางเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน เปิดเผยว่าจากการที่ตนได้ลงพื้นที่ยังเกาะตาครุฑ ต.ปากน้ำ จ.ระนองอีกครั้ง ซึ่งเป็นเกาะที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รอยต่อระหว่างฝั่งทะเลของไทยด้าน จ.ระนอง กับฝั่งทะเลของพม่าด้าน จ.เกาะสอง ยังพบว่ายังมีเรือขุดทรายไม่ทราบสัญชาติยังคงลอยลำดูดทรายอยู่กลางทะเลอันดามันใหล้แนวพรมแดน จ.ระนอง

"ตอนแรกได้รับคำบอกเล่าจากชาวบ้านว่ามีเรือขุดทรายไม่ทราบสัญชาติเข้ามาขุดทรายในน่านน้ำทะเลอันดามันฝั่งประเทศพม่าเป็นจำนวนมากถึง 10 ลำ และทำให้ชาวบ้านหลายคนหวั่นวิตกว่าเมื่อเรือขุดทรายเหล่านั้นขุดทรายจนเป็นบ่อขนาดใหญ่ แม้ว่าเรือขุดทรายจะตั้งอยู่ในเขตน่านน้ำประเทศพม่า แต่ก็จะทำให้ทรายจากน่านน้ำไทยไหลไปยังบ่อทรายดังกล่าว ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อปัญหาชายฝั่ง และระบบนิเวศน์ในอนาคตได้"

นายอธิคมกล่าวต่อว่าเมื่อทราบข้อมูลตนจึงได้ร่วมกับชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวประมงนำเรือออกไปสำรวจยังเรือขุดทรายที่ลอยลำอยู่ในน่านน้ำทะเลอันดามัน ด้านจ.เกาะสองประเทศพม่า พร้อมกับสอบถามซึ่งพบว่าลูกเรือประจำเรือขุดทรายส่วนใหญ่สามารถพูดภาษายาวีได้ และทราบว่าเป็นเรือมาจากประเทศอินโดนีเซีย มีทั้งหมด 10 ลำ เป็นเรือขุดขนาดใหญ่ ทำการขุดทรายในน่านน้ำทะเลอันดามันไปส่งยังประเทศสิงคโปร์ เพื่อสกัดหาแร่ซิลิกา ซึ่งที่สิงคโปร์มีโรงงานสกัดแร่ดังกล่าว จากการสอบถามทราบว่าปริมาณทราย 2,000 คิว สามารถสกัดแร่ซิลิกาได้จำนวน 1 กก. ซึ่งปัจจุบันราคาซื้อขายแร่ซิลิกาอยู่ในระดับราคา 32,000 บาทต่อ กก. โดยเป็นแร่สำคัญที่ใช้ในโรงงานผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า และเครื่องสุขภัณฑ์ ส่วนทรายที่เหลือจากการสกัดทางสิงคโปร์จะนำไปถมทะเลต่อไป

ก่อนหน้านี้มีกลุ่มทุนจากประเทศสิงคโปร์เข้ามาติดต่อขอทำการขุดทรายในทะเลบริเวณ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ซึ่งมี อปท.ท้องถิ่นหนึ่งได้เซ็นอนุญาต แต่ต่อมาเมื่อกลุ่มนักวิชาการ และเอ็นจีโอทราบจึงทำการประท้วง เนื่องจาก จากผลการศึกษาพบว่าการขุดทรายในน่าน้ำทะเลจะเกิดผลกระทบกับชายฝั่งหากอยู่ใกล้กับชายฝั่ง ทั้งยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทางทะเล จึงทำให้เกิดกระแสต่อต้าน จนบริษัทดังกล่าวไม่สามารถขุดทรายในพื้นที่ อ.ตะกั่วป่าได้ ในส่วนของจ.ระนองก็เช่นเดียวกันแม่ว่าการขุดทรายขณะนี้จะทำการขุดในทะเลของพม่า แต่เชื่อว่าในอนาคตจะส่งผลกระทบกับฝั่งไทยอย่างแน่นอน

"ทรายที่ทับถมอยู่ในทะเลอันดามันทั้งฝั่งจ.ระนอง และฝั่งจ.เกาะสอง เป็นจำนวนมากหลายล้านตัน มาจากการทำเหมืองแร่ในจ.ระนองในอดีต ซึ่งตนเห็นสภาพการเปลี่ยนแปลงและการทับถมของทรายจนทำให้ลำคลอง ร่องน้ำ ปากแม่น้ำและทะเลหลายส่วนมีการตื้นเขิน ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีหลายบริษัทดำเนินการเพื่อขอสัมปทานการขุดทรายในทะเลฝั่งจ.ระนอง แต่ถูกต่อต้าน เพราะมีการหวั่นเกรงว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อการทรุดตัวของชายฝั่งและระบบนิเวศน์ "นายอธิคม กล่าว

ที่มา -