ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

"ตกเรือ" เสียงสะท้อนจากแรงงานทาสบนเรือประมง

เริ่มโดย mrtnews, ต.ค 06, 14, 21:13:25 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

โดย...นรินทร์ ใจหวัง


ช่างปลายเดือนก.ย.ที่ผ่านมาว่า มีการพบลูกเรือไทยและต่างชาติ ที่ "ตกเรือ" บริเวณเกาะอัมบล ประเทศอินโดนีเซีย และได้มีความพยายามช่วยเหลือให้กลับภูมิลำเนา จนกระทั่งวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ลูกเรือไทยที่ตกเรือจำนวน 6 คนก็ได้เดินทางกลับมาถึงแผ่นดินแม่ได้โดยสวัสดิภาพ ทว่าในความเป็นจริงแล้วยังมีลูกเรือที่ตกเรืออีกจำนวนมากที่ หลบซ่อนอยู่ในเกาะต่างๆ ในอินโดนีเซีย

"ตกเรือ"คืออะไร

ตกเรือคือการหนีออกจากเรือของแรงงานประมงที่ไม่สามารถอยู่บนเรือต่อได้ โดยแรงงานดังกล่าวอาจยอมหนี ด้วยการกระโดดจากเรือเพื่อว่ายน้ำไปขึ้นเกาะที่อยู่ใกล้ๆ ซึ่งส่วนหนึ่งก็ได้รับบาดเจ็บ ส่วนบางรายจะรีบหนีออกจากเรือขณะที่เรือเข้าเทียบท่าบริเวณเกาะใดเกาะหนึ่งในประเทศอินโดนีเซีย แล้วไม่ยอมกลับขึ้นเรืออีก

สาเหตุสำคัญที่ทำให้แรงงานเหล่านี้ยอมตกเรือก็เนื่องมาจากการตกเป็นแรงงานบังคับ ที่ถูกใช้งานไม่ต่างจากทาส อาทิ คนงานที่ถูกกังขังทั้งบนบกหรือในเรือ โดยเอกสาสำคัญจะถูกเก็บไว้กับนายจ้างหรือไต้ก๋งเรือ (พลาสปอร์ต ซีแมน บุ๊ก), ถูกทำร้ายร่างกาย, อยู่ในสภาพของคนมีหนี้ หรือเป็นแรงงานขัดดอก ,โดนลงโทษทางการเงิน เช่นหักเงินโดยไม่ถูกต้อง ไม่จ่ายค่าจ้าง เรียกได้ว่าแรงงานบังคับเหล่านี้ก็คือประเภทหนึ่งของการค้ามนุษย์

จากข้อมูลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ที่ทำการสำรวจเรื่องแรงงานงานบังคับที่ทำงานประมงในประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี 2012 พบว่า ในจำนวนลูกเรือกว่า 500 ชีวิต จะมีกว่า 17% ที่เข้าข่ายเป็นแรงงานบังคับ ซึ่งหนึ่งในสาเหตุของวงจรนี้เกิดขึ้นจากการที่เจ้าของกิจการเลือกใช้บริการนายหน้าทั้งคนไทย และนายหน้าประเทศต้นทางเช่นกัมพูชา เมียนมาร์ เพื่อหาคนเข้ามาทำอย่างไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก เช่นแรงงานต่างด้าวไม่จดทะเบียนก็ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิใดๆ ได้ คล้ายกับต้องทำงานอย่างหนักแต่กลับไม่ได้รับค่าตอบแทนเท่าที่ควร หรือไม่ได้รับเลย

ฟิล โรเบิร์ตสัน รองผู้อำนวยการ Human Right Watch Asia ผู้ที่คลุกคลีกับเรื่องนี้มาเป็นเวลานาน ฉายภาพในประเด็นนี้ว่าเป็นสิ่งที่น่าหนักใจมาเป็นเวลานาน โดย สาเหตุพื้นฐานมาจากนายหน้าที่ล่อลวงทั้งคนไทยและข้ามชาติ ในคนไทยจะหาหลอกคนที่เพิ่งมาจากต่างจังหวัด คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน หรือดูติดสุราจากบริเวณ หัวลำโพง สนามหลวง หมอชิต มาลงเรือโดยประมงนอกน่านน้ำไทย โดยแรงงานเหล่านั้นจะเป็นหนี้ทันทีจากค่านายหน้าที่นายจ้างต้องจ่ายให้คนพามา ตั้งแต่ 15,000-25,000 ขึ้นไป

มันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นนานมากแล้ว มูลนิธิกระจกเงาบอกชัดเจนว่ามีกระบวนการทำอย่างไร แนะนำว่าภาครัฐ, ตำรวจควรจะทำอย่างไร แต่ก็ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ มีการทำวิจัยหลายหน่วยงาน สัมมนากับรัฐ ซึ่งครม.เห็นชอบทุกอย่าง รัฐบาลทุกสมัยทราบดีว่าปัญหาการค้ามนุษย์ของการทำอุตสาหกรรมนี้ เกิดขึ้นทุกที่และเป็นระบบ เพราะขาดแคลนแรงงาน มีคนไม่พอจะทำอย่างไรได้ ก็ต้องติดต่อนายหน้า พามาคนมาทำงานโดยไม่มีคำถามว่า มาจากไหน เอามาอย่างไร เจ้าของเรือก็เพียงแต่จ่ายเงินค่าหัวไปในที่สุด มันไม่มีอะไรคืบหน้า จัดสัมมนากี่ครั้งก็ได้ แต่มันไม่ทำให้ต่างชาติเชื่อถือว่าผลิตภัณฑ์ของไทย ไร้การค้ามนุษย์ ไร้แรงงานบังคับ หวังว่าเราจะแก้ปัญหาได้ ผมพร้อมที่จะแก้กับทุกฝ่าย แต่ว่าต้องมีจิตจำนง ความตั้งใจที่จะทำ เชิญรัฐมนตรีมาพูดๆ แล้วก็ออกไป ถ่ายรูป มันไม่ได้แล้ว"โรเบิร์ตสันระบุ

6 ปีกับนรกบนเรือ

สุรชัย ชายชาวพม่า เจ้าหน้าที่มูลนิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) อดีตแรงงานบนเรือนรกของคนไทยเล่าประสบการณ์เลวร้ายที่สุดในชีวิตว่า ครั้งหนึ่ง เมื่อ6 ปีก่อนเคยได้ลงเรือไปทำประมงกับไต้ก๋งคนไทย โดยสมัครใจเอง เพราะเชื่อใจไต้ก๋ง และต้องการเงินสักก้อน ก่อนที่จะพบความเลวร้ายอย่างที่ไม่คาดฝันมาก่อน

ผมจงใจไปเองครับ ไต้ก๋งบอกไปปีเดียวก็กลับ มีคนยินดีจะไป 8 คน เพราะอยากได้เงินสักก้อน เราขึ้นเรือที่ จ.สมุทรสาคร ผมช่วยเขาตั้งแต่เรือต่อใหม่ รู้จักไต้ก๋งเรือดี สนิทกัน เขาชวนไปด้วยพูดดีมาก บอกว่าไปออกเรือไปอินโดฯก็เหมือนทำในชายฝั่งนี่แหละ ผมก็ยังช่วยเขาต่อเรืออยู่หลายวัน ไม่มีคนงานให้เห็น แต่พอเรือจะออกแค่ชั่วโมงเดียวเท่านั้น นายหน้าก็พาคนมาขึ้นเรือ ทั้งพม่า เขมรมาประมาณ 20 คน นายหน้าได้เงินคนงานละ15,000 ถ้าเป็นคนงานเก่าได้นายหน้าจะได้ 30,000 แต่พอเรือออกฝั่งครับ ฉี่ในห้องน้ำยังไม่ได้เลย ทั้งๆ ที่เรามองเห็นอยู่ แต่เขาไล่ไปฉี่ท้ายเรือ


ผมก็ถามคนพม่าด้วยกันว่ามาได้ไง เขาก็บอกว่าเราจะไปลงเรือใกล้ๆ แค่นี้เอง(ถูกหลอกว่าทำประมงชายฝั่ง) นายหน้าบอกอย่างนั้น เด็กเขมรอายุ13-14 ปีก็มี รอบที่ออกไปต้องอยู่กลางทะเลนาน 72 เดือน ทั้งที่เคยบอกเอาไว้ว่าไม่เกิน 30 เดือน แต่พอเอาเข้าจริงผมโดนออกไปอยู่ในทะเล 6 ปี ได้เข้าเกาะแค่ 6 ครั้ง ครั้งละ 1สัปดาห์ ถึง 1 เดือน แล้วแต่เรือจะบางทีเสบียงหมด พวกผมต้มปลากิน"

เมื่อกล่าวถึงเอกสารสำคัญประจำตัว สุรชัยกล่าวพร้อมส่ายหัวและเล่าว่า

ผมชื่อสุรชัย เป็นพม่าครับ แต่หนังสือเดินทางเป็นอีกคน ชื่อเอกชัย มโนศิริ เป็นคนร้อยเอ็ด มีเจ้าหน้าที่ขึ้นเรือ สั่งให้ถ่ายรูป เขาจะพยายามให้เราจำชื่อ เธอชื่อเอกชัยนะ จำไว้ๆ จากนั้นก็ออกเรือไป 20 กว่าวัน เราต้องทำงานไม่ได้หลับไม่ได้นอน จนกว่าเขาพอใจ พักนั่งกินข้าวแค่15 นาที เสร็จปุ๊บต้องทำงานทันที นึกถึงอวนความยาว 15ไมล์สิครับ มี 3,000 ลูก ลูกหนึ่ง 3-4 วาครึ่ง  วันหนึ่งๆ นอนแค่4 ชั่วโมง 1ทุ่ม  5ทุ่ม หลังจากนั้นทำงานตลอด ปลาจะติดไม่ติดไม่เกี่ยว ต้องเฝ้าอวน บางคนเมาเรือ รอคอยว่าเมื่อไหร่เรือจะมารับ เพราะโดนหลอกไม่รู้ตัวว่าจะเปลี่ยนไถ่ตัวกันกลางทะเล เมาเรือ ทานอาหารไม่ได้ เป็นอาทิตย์ จนซีดเหลือง ในเรือมียานะครับ สมมุติผมปวดท้องแต่จะได้ยาอีกอย่างหนึ่งมากิน ผมเชื่อว่านายจ้างบางคนจะไม่รู้ว่า อะไรเกิดขึ้นบ้างในทะเล เพราะถือว่าจ้างไต้ก๋งไปแล้ว บางเรื่อง ท่านอาจมองว่าไม่สำคัญ แต่มันอาจสำคัญกับแรงงานมากๆ อย่างพวกเรา น่าจะมีมาตรการที่อะไรบ้างเช่นหักเงินไต้ก๋ง เพราะถ้าไต้ก๋งเลวร้าย ก็ไม่มีที่ไหนสบาย

เมื่อถามถึง 6 ครั้งที่แรงงานประมงสามารถขึ้นเกาะได้ ทำไมจึงไม่หนี หรือพยายามติดต่อให้คนช่วยเหลือ ประเด็นนี้สุรชัยตอบด้วยน้ำเสียงปวดร้าวว่า

"ไต้ก๋งยิ่งกว่าพระเจ้าครับ ถ้ามีเงิน ไม่ต้องกลัวทางรัฐ(อินโดนีเซีย)ครับ คอยให้เงินไป พวกตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ก็เป็นพวกเดียวกับไต้ก๋ง สบายๆครับ ให้ปลาโอไปตัวหนึ่งเรื่องอะไรก็จบ ผมไม่ได้หยามเขานะครับแต่ผมเจอด้วยตัวเอง จะไปขอความช่วยเหลือจากใครได้ ในเมื่อเราเข้าไปที่เกาะไม่ใช่ว่าจะออกเรือไปเมื่อไหร่ก็ได้ ต้องรอเขาอนุญาต กระทรวงสาธารณะสุขอินโดฯจะมาตรวจ พร้อมกับ ตม. เชื่อมั้ยครับ ระยะ 6 ปีอยู่บนเรือ เรือยังเปลี่ยนชื่อเรือเป็นว่าเล่น" 

แต่ท้ายที่สุดก่อนเทศการสงกรานต์ของปีที่แล้ว สุรชัยก็ได้กลับขึ้นสู่แผ่นดินไทยอีกครั้ง เนื่องจากเรือที่เขาทำงานถึงเวลาต้องได้รับการซ่อมแซม และปัจจุบัน สุรชัย ก็ทำงานกับมูลนิธิLPN เพราะตั้งใจอยากช่วยเหลือคนงานประมงที่ยังตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกับเขา ทั้งนี้สุรชัยได้รับเงินทดแทนจากนายจ้างจำนวนเงิน 200,000 บาท และฝากเตือนคนที่สนใจจะไปทำประมงนอกน่านน้ำให้ศึกษาข้อมมูลให้ดีก่อน
ครั้งแรกที่ผมกลับมาได้ ผมไม่ได้ดีใจว่าผมได้เงิน ถ้าเรือไม่เสียเราก็อาจไม่ได้กลับเข้าประเทศไทย สำหรับความรู้สึกของผม ผมอยู่มา 23 ปี ไม่เคยเห็นคนไทยใจร้ายขนาดนี้ ไต้ก๋งคนไทยคนนี้ผมจำชื่อตลอดเวลาจนผมตาย สุรชัยกล่าว

มีทางออก ถ้าทุกฝ่ายจริงใจ

จากการเปิดประเด็นเรื่องประมงที่ตกเรือ ที่เกาะอัมบล ครั้งนี้กลุ่มคนที่ดูจะถูกเป็นจำเลยของสังคมทันที่อย่าง สมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย ก็พยายามออกมาชี้แจงว่าไม่ใช่เรือทุกลำที่จะเลวร้ายไปหมด และเรียกร้องให้ภาครัฐมีนโยบายลงโทษเรือที่ค้ามนุษย์เหล่านี้ให้เฉียบขาด

อภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ ที่ปรึกษากิติมศักดิ์และกรรมการบริหารสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย(TOFA) ระบุว่าเชื่อว่ายังมีเรือประมงไทยอีกมากที่ทำงานด้วยความไม่เอาเปรียบ แต่ต้องมาเสียหายกับเรือประมงบางลำที่โหดร้ายและกดขี่แรงงาน ดังนั้นต้องการให้สังคมอย่าเหมารวม

"ถ้ายังมีไต้ก๋งชั่ว ๆ ผู้ประกอบการ ชั่วๆ อยู่ ผมขอให้สังคมประณามและจำกัดคนเหล่านั้นทิ้ง เพราะทำให้เสียหายต่อกลุ่มที่ทำงานถูกต้อง ต้องจ่ายสัมปทานมากมายแต่ละครั้ง พวกนี้พาคนดีซวยไปด้วย รัฐต้องเข้าไปจัดการ  ผมว่าไต้ก๋งส่วนใหญ่ยังดูแล ลูกน้องได้ดี แต่แบบที่สุรชัยเล่ามาควรจับติดคุกให้หมด"

ทั้งนี้ ดร.บัณทิต โชคสงวน  ผู้เชี่ยวชาญจาก ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC) ให้ข้อมูลที่น่าสนใจในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ว่าพื้นฐานสำคัญคือเรื่องทะเบียนเรือ และ อาชญาบัตร ซึ่งพื้นฐานและต้นเหตุของการทำรประมงผิดกฎหมาย ไร้การควบคุม ถ้าทุกประเทศสามารถหันกลับมาดูเรื่องพวกนี้ เชื่อปัญหาว่าอื่นๆ คงเบาลงไป

เราพบว่ามีความยุ่งยากพอสมควรกับการการจดทะเบียนเรือ  จึงต้องเริ่มทำใหม่โดยเริ่มที่ความยาวเรือตั้งแต่24 เมตรขึ้นไปก่อน ซึ่งกำลังเริ่มได้ดี ประเทศไทยตอนนี้มีอยู่ 800 ลำ ทุกประเทศในอาเซียนทยอยส่งเรือมาประมาณประเทศละ 30ลำก่อน เพื่อทำฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต เช่น ชื่อเรือ ชื่อลูกเรือ ไต้ก๋ง ขนาด ทะเบียนเรือ ถ้าเราทำข้อมูลเรือให้เข้มแข็งถูกต้อง น่าจะแก้ปัญหาเรื่องปัจจุบันนี้ได้

"อีกเรื่องการการป้องกันผลิตภัณฑ์ปลาที่เข้าข่ายทำประมงโดยผิดกฏหมาย และใช้แรงงานเข้าข่ายค้ามนุษย์ เข้ามาอยู่ในห่วงลูกโซ่ธุรกิจการประมง โดยการเริ่มดูแลให้ความรู้ความปลอดภัยในทะเล การทำงาน โดยการฝึกอบรม จัดหลักศูตร 3-5วัน เพื่อให้แรงงานรู้ว่าทำประมงอย่างไรให้ปลอดภัยทั้งคนไทย และต่างชาติ เขาควรมีความรู้ ข้อมูลในการทำงาน เป็นสิทธิที่ควรไปได้รับ ส่วนการทำงานบนเรือ ชั่วโมงการทำงาน ควรมีการทราบทั้งเถ้าแก่ และลูกจ้างก่อนไป ซึ่งฝ่ายรัฐ กรมประมง เจ้าท่ากรมศุล  ฯลฯ ถ้ามีความร่วมมือแจ้งอย่างตรงไปตรงมา มีความจริงใจผมว่าแก้ได้" ดร.บัณฑิตระบุ

ที่มา -




พม. จัดการประชุมทำความเข้าใจเรื่องการจัดระเบียบเรือประมงและแรงงานประมงเพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

วันนี้ (๒ ต.ค.๕๗) เวลา ๑๐.๐๐ น. นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ เป็นประธานพิธีเปิด "การประชุมทำความเข้าใจเรื่องการจัดระเบียบเรือประมงและแรงงานประมงเพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์" เพื่อทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการประมงเกี่ยวกับการจัดระเบียบเรือประมงและแรงงาน ณ ตลาดทะเลไทย จังหวัดสมุทรสาคร

นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า ตามคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๗ ได้กำหนดนโยบายสำคัญ ๑๑ ด้าน ซึ่งด้านที่ ๒ เป็นเรื่องการรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ โดยกำหนดให้การค้ามนุษย์เป็นปัญหาเฉพาะหน้า ที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขโดยการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด และจัดการปัญหาอื่นๆ ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องให้เบ็ดเสร็จ เช่น การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว เป็นต้น นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว) ได้แถลงนโยบายเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗ กำหนดให้การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เป็นเรื่องเร่งด่วนของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ที่จะต้องขับเคลื่อนและบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรณีการช่วยเหลือแรงงานประมงของไทยที่เกาะอัมบน ประเทศอินโดนีเซีย ที่ปรากฏตามสื่อมวลชนนั้น รัฐมนตรีฯ ได้ให้ความสำคัญและลงมากำกับดูแลสั่งการด้วยตนเอง และได้มอบให้ตนช่วยจัดการประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพเรือ กระทรวงแรงงาน สำนักงานอัยการสูงสุด กรมประมง และกรมเจ้าท่า เพื่อจัดระเบียบเรือประมงและแรงงานประมง ซึ่งได้มีการประชุมร่วมกันเมี่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา และมีมติเห็นชอบให้จัดประชุมในวันนี้ขึ้น เพื่อทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการประมงเกี่ยวกับการจัดระเบียบเรือประมงและแรงงานประมง เพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ก่อนรัฐมนตรีฯจะนำชุดปฏิบัติการลงพื้นที่ตรวจตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ จังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดแรก ก่อนลงพื้นที่ในจังหวัดอื่นต่อไป

ทั้งนี้ "ปัจจุบันปัญหาการค้ามนุษย์ถูกนำไปโยงกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมหาศาล เราต้องแยกผู้ประกอบการที่ดีออกมา อย่าเหมารวม เพื่อจะได้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายได้ ถูกทาง ถูกคน และร่วมมือกันดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในรูปแบบแรงงานอย่างจริงจัง มีประสิทธิภาพ และที่สำคัญจะได้นำเสนอข้อเท็จจริงให้ทุกภาคส่วนในสังคมไทย องค์การระหว่างประเทศ และประเทศ ต่างๆ ได้รับทราบถึงเจตนารมณ์และผลสัมฤทธิ์จากการตรวจปฏิบัติการนี้ต่อไป" นายวิเชียร กล่าวตอนท้าย.

ที่มา -


..-