ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

รัฐ-เอกชนเซ็น MOU จับทูน่า ประมงขอเคลียร์อาชญาบัตร

เริ่มโดย mrtnews, พ.ย 23, 14, 18:16:42 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

กรมประมงเซ็น MOU กับสมาคมต่อการประมงและอุตสาหกรรมทูน่าไทย ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาโอดำของไทยให้ถูกกฎหมาย เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ด้านสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย จี้ภาครัฐร่วมหารือแก้ปัญหาเรือไม่มีอาชญาบัตรจับปลา


ผู้สื่อ ข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่าปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ดร.จุมพล สงวนสินอธิบดีกรมประมง นายภูเบศ จันทนิมิ ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย นายวิริยะ ศิริชัยเอกวัฒน์ นายกสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย และ ดร.ชนินท์ ชลิศราพงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาโอดำของไทยให้เป็นที่ยอมรับใน ระดับสากล ตลอดห่วงโซ่อุปทาน หนุนสร้างมาตรฐานให้ผลิตภัณฑ์ปลาโอดำ ซึ่งเป็นวัตถุดิบการผลิตปลาทูน่ากระป๋องของไทย ต้องมาจากการทำประมงที่ถูกกฎหมายเท่านั้น โดยมีระบบการควบคุมและติดตามเรือที่มีประสิทธิภาพ มีกระบวนการแปรรูปที่มีมาตรฐาน ตลอดจนมีระบบการจ้างงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นธรรมตลอดสายการผลิต

ดร.จุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมงกล่าวว่า อุตสาหกรรมทูน่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจในภาคการประมง ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย แต่ละปีไทยส่งออกผลิตภัณฑ์จากทูน่ากว่า 6 แสนตัน มูลค่ากว่า 9 หมื่นล้านบาท เป็นผู้นำในการส่งออกลำดับต้น ๆ ของโลก แม้ว่าวัตถุดิบส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 90 จะนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ในน่านน้ำไทยทั้งฝั่งทะเลอ่าวไทย และอันดามันยังมีกลุ่มปลาทูน่าขนาดเล็ก คือ ปลาโอดำ ซึ่งใช้สำหรับการแปรรูปในอุตสาหกรรมทูน่ากระป๋อง กรมประมงและผู้ประกอบการภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องตลอดซัพพลายเชน มีความตระหนักที่จะให้การประมงของไทยปราศจากการทำประมงที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมทูน่า จึงได้ร่วมจัดทำ MOU ขึ้น เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาโอดำให้ได้รับความเชื่อมั่นและยอมรับ

นาย ภูเบศ จันทนิมิ ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัญหาใหญ่ของเรือประมงไทยในขณะนี้ คือ การทำประมงผิดกฎหมาย โดยเฉพาะปัญหาอาชญาบัตรการจับปลาที่กรมประมงออกให้ ที่ผ่านมาขาดต่ออายุเพียง 1 วัน กรมก็ไม่ให้ต่ออายุอาชญาบัตร ซึ่งควรจะแก้ไขโดยปรับเหมือนรถยนต์ที่ขาดอายุการต่อทะเบียนรถยนต์ ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องควรจะมาประชุมหารือกันว่า เรือทุกประเภททั้งเรืออวนลอย อวนรุน อวนลาก ควรจะมีอาชญาบัตรเรือแต่ละประเภทกี่ลำ เพราะทุกวันนี้เรือที่ไม่มีอาชญาบัตรหรือผิดกฎหมายก็ยังจับปลาตามปกติ ควรจะดำเนินการให้อยู่ในระบบต่อไป เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของเรือไทยในสายตาต่างชาติ


ส่วน ความคืบหน้าเรื่องการทำข้อปฏิบัติที่ดีต่อแรงงาน (GLP) นางสาววราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมงต่างประเทศ กรมประมง เปิดเผยว่า การทำGLP ต่ออุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้ง คาดว่าจะไม่มีปัญหาและจะแล้วเสร็จประมาณเดือนมกราคมปีหน้า ส่วน GLP เรือประมง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ซึ่งจะต้องสอบถามกับเรือประมง 500 ลำ ใน 22 จังหวัดที่ติดทะเลของไทยและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) อีกรอบ ก่อนรายงานสถานการณ์ให้สหรัฐอเมริการับทราบความคืบหน้า ส่วนศูนย์ตรวจสอบเรือประมงผ่านดาวเทียมมูลค่า 45 ล้านบาท ใกล้จะเสร็จแล้ว สามารถติดตามเรือที่ติดจีพีเอสได้ทั่วโลก ขณะที่เอกชนจะต้องติดระบบจีพีเอสในเรือมูลค่าประมาณ 1-2 หมื่นบาท และค่าแอร์ไทม์เดือนละประมาณ 1,000 บาท

ที่มา -