ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

คนครัวเรือเดินทะเลผ่านการฝึกอบรม งานหนัก-แต่เงินเดือนดี

เริ่มโดย mrtnews, ธ.ค 23, 16, 06:28:04 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศมากกว่าร้อยละ 90 ยังขนส่งโดยเรือเดินทะเลระหว่างประเทศ ใช้เวลาเดินทาง กว่า 6 - 9 เดือน "คนครัวบนเรือ" จึงเป็นตำแหน่งที่สำคัญ


การขนส่งทางทะเล นับได้ว่าเป็นธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจโลก เนื่องจาก การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศมากกว่าร้อยละ 90 ยังขนส่งโดยเรือเดินทะเลระหว่างประเทศ และเรือเหล่านี้ ยังต้องการใช้แรงงานจำนวนมาก ในการทำหน้าที่ต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนสินค้าให้ไปถึงเมืองท่าปลายทางที่ต้องการ โดยมักจะใช้เวลาเดินทางไกลเป็นเวลานาน กว่า 6-9 เดือน ดังนั้น "คนครัวบนเรือ"จึงเป็นตำแหน่งที่สำคัญ ในการดูแลโภชนาการของแรงงานบนเรือเดินทะเลตลอดการเดินทาง

ขณะที่การจัดระเบียบคนงานบนเรือให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลนั้น องค์กรที่เกี่ยวข้องคือ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือไอแอลโอ ซึ่งมีอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทะเล 2006 (Maritime Labor Convention: MLC 2006) บังคับใช้กับเรือเดินทะเลระหว่างประเทศ เรือพาณิชย์ เรือท่องเที่ยว ขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอสส์ขึ้นไป

โดยหนึ่งในข้อบังคับ 14 ข้อของอนุสัญญาดังกล่าว ได้กำหนดให้คนครัวบนเรือต้องผ่านการอบรมการประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การจัดการเก็บอาหาร การควบคุมห้องจัดเก็บอาหาร การจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการจัดเตรียมอาหารจากสถาบันที่ผ่านการรับรองหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ และที่สำคัญคนครัวบนเรือต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 75 แห่งพ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 ที่กำหนดให้คนครัวเรือต้องผ่านมาตรฐานการฝึกอบรม ตามหลักเกณฑ์ที่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กำหนด

ธีรพล ขุนเมือง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่าเพื่อเป็นการส่งเสริมให้แรงงานไทยสามารถประกอบอาชีพนี้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นอาชีพที่มีรายได้สร้างความมั่นคง จึงได้เกิดความร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงาน และกระทรวงศึกษาธิการ ตามนโยบายรัฐบาล ในการฝึกอบรมแบบทวิภาคี เริ่มที่วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช

อาจารย์สุจิรา ปั่นสัญชัย อาจารย์ผู้ดูแลสาขางานประกอบอาหารในเรือเดินทะเลระหว่างประเทศ กล่าวว่า วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช เป็นแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เปิดสาขา การประกอบอาหารในเรือเดินทะเลระหว่างประเทศ โดยรับนักเรียนชายที่จบชั้น ปวช.มาศึกษาต่อ เพียงปีละ20คนเท่านั้น

ขณะนี้มีนักศึกษาที่จบหลักสูตร ในระดับ ปวส.ไปทำงานแล้ว 6 รุ่น โดยรุ่นที่ 7 กำลังฝึกงาน และรุ่นที่ 8 กำลังเตรียมความพร้อม โดยเมื่อ นศ.เรียนตามหลักสูตรถึง ปลายเทอม 2 ของ ชั้น ปวส.1 ก็จะต้องไปทำงานบนเรือในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งหลักสูตรนี้เป็นแบบทวิภาคี นั่นคือเรียนทั้งในวิทยาลัยอาชีวะ และสถานประกอบกิจการ

นศ.ที่เริ่มไปฝึกงานบนเรือกับบริษัทเดินเรือ ในชั้น ปวส.ปี่ที่ 2 จะมีรายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 2.5 หมื่นบาท แล้วแต่บริษัท และทิปที่ได้รับ เมื่อจบการฝึกงาน ทุกคนจะมีเงินก้อนกลับมาให้ผู้ปกครองคนละกว่า 2 แสนบาท และเมื่อเรียนจบก็จะได้ทำงานทันที

อย่างไรก็ตาม ลักษณะงานคนครัวบนเรือนั้น จะต้องพบกับความเครียดหลายด้าน เช่นสภาพแวดล้อมการทำงานบนเรือกลางทะเลหลายเดือน อีกทั้งยังถูกมองว่าเป็นงานที่มีตำแหน่งต่ำที่สุด ดังนั้น นร.ที่จะมาเรียนสาขานี้จะต้องมีใจรักงานบริการ มีความอดทน และรู้จักปล่อยวาง ถ้าหากสามารถทำงานนี้ได้ นับว่าเป็นงานที่มีโอกาสในการมีรายได้เป็นเงินก้อนใหญ่อย่างแน่นอน

"ทุกปีทางวิทยาลัยฯ จะเชิญรุ่นพี่มาเล่าประสบการณ์ทำงาน และสอนให้น้อง ๆ รู้จักการเอาตัวรอด และทำงานอย่างมีความสุข ตลอดจนเชิญผู้ปกครองมาพูดคุย ปีละ 3 ครั้ง เพื่อให้ทราบว่าลักษณะงาน และสภาพการทำงานนี้ บุตรหลานของท่านจะต้องเจออะไรบ้าง หากไม่ชอบ และคิดว่าไม่น่าจะทำได้ ก็สามารถย้ายสาขาได้ เราอยากให้ นศ.และผู้ปกครองได้รู้จัก และยอมรับกับงานนี้ตั้งแต่ก่อนมาสมัครเรียน ซึ่งหากมีความอดทน และใจรักบริการ ก็มักจะประสบความสำเร็จ โดยเมื่อประสบการณ์ทำงานมากขึ้นจนเป็นกุ๊ก จะมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 5 หมื่นบาท" อ.สุจิรากล่าว


ธีรภัทร รุ่งเมือง  หรือน้องคิว อายุ19ปี นศ. ปวส.ปี 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช 1 ใน 20 คนของหลักสูตรคนครัวบนเรือกล่าวว่า ตั้งใจสมัครมาเรียนในสาขานี้เพราะอยากไปทำงานบนเรือ เพื่อจะได้มีโอกาสท่องเที่ยว ได้รับผิดชอบทำงานในหน้าที่ มีรายได้ดี และคิดว่างานที่ต้องมีความอดทนสูงแบบนี้ จะทำให้ชีวิตของตนเองเติบโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้น

น้องคิวกล่าวว่า นอกจากเรียนตามหลักสูตรแล้ว รุ่นพี่ยังมาเล่าประสบการณ์ให้ฟังว่างานนี้มีทั้งส่วนดี และด้อย ที่เราต้องเรียนรู้และยอมรับมัน เช่นเป็นงานที่มีรายได้ดี แต่เราก็ต้องมีความอดทน และจะต้องรองรับอารมณ์ของคนจำนวนมากที่สำนักงานบนเรือ เพราะเราทำงานในตำแหน่งที่ต่ำที่สุดในเรือ จึงจำเป็นที่จะต้องเตรียมตัว เตรียมใจตั้งแต่เนิ่น ๆ

"ก่อนที่รุ่นผมจะลงทำงานบนเรือในเดือนมีนาคม 2560 นี้ พวกผมคือต้องปรับตัวเองให้พร้อมในทุก ๆ ด้าน เช่นทักษะการทำงาน ภาษา การทำงานอย่างมีความสุข ส่วนตัวผมยังไม่คิดเรื่องมีเพื่อนต่างเพศ เพราะจะทำให้เราทำงานไม่เต็มที่ แต่ผมตั้งเป้าหมายว่าจะทำงานเก็บเงิน เมื่อถึงวันหนึ่งผมจะลาออกจากงานนี้ไปช่วยครอบครัวทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างต่อไป" ธีรภัทรกล่าวทิ้งท้าย



ที่มา Data & Images -