ภาคที่ 2 ข้อบังคับสำหรับออกใบอนุญาตการใช้และ การควบคุมเรือกำปั่นและเรือเล็กต่าง ๆ
หมวดที่ 1 ว่าด้วยข้อบังคับทั่วไป
มาตรา 134* [ยกเลิกแล้วโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2481]
มาตรา 135* [ยกเลิกแล้วโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2481]
มาตรา 136* [ยกเลิกแล้วโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2481]
มาตรา 137* เรื่องราวขอรับใบอนุญาตหรือขอต่ออายุใบอนุญาตนั้น ให้ยื่นต่อเจ้าท่าเจ้าพนักงาน ซึ่งได้แต่งตั้งขึ้นเพื่อการจดทะเบียนและต้องเขียน ด้วยกระดาษแบบพิมพ์ของราชการ เวลาที่ยื่นเรื่องราวของผู้ขอใบอนุญาตต้อง นำเงินไม่ต่ำกว่ากึ่งจำนวนเงินค่าธรรมเนียมสำหรับออกใบอนุญาตนั้นมาวาง ไว้ด้วย ถ้าเป็นเรือกลไฟหรือเรือยนต์ที่ประสงค์จะเดินรับจ้างบรรทุกคน โดยสารหรือสินค้า หรือจูงเรือ ผู้ยื่นเรื่องราวต้องแจ้งมาให้ชัดเจน ถ้าจะเดิน รับจ้างเป็นการประจำทางจะต้องระบุด้วยว่า ตนจะนำเรือนั้นไปเดินจากตำบลใด ถึงตำบลใด เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ เรือกลไฟหรือเรือยนต์ลำใดเดินรับจ้าง เป็นการประจำระหว่างตำบลใด ๆ มีกำหนดตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ให้ถือว่า เป็นเรือเดินประจำทาง เรือกลไฟหรือเรือยนต์ที่ได้รับอนุญาตให้เดินรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร หรือสินค้า หรือจูงเรือตามความประสงค์ในวรรคก่อนนี้แล้ว ต่อมาถ้าจะขอแก้ ทะเบียนเปลี่ยนความประสงค์ที่ได้รับอนุญาตไว้แต่เดิมนั้นก็ได้ *[มาตรา 137 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477]
มาตรา 138 เมื่อเจ้าพนักงานออกใบอนุญาตวินิจฉัยโดยเหตุ อันสมควรเห็นว่าเรือกำปั่นและเรือเล็กลำใดมีความพิทักษ์รักษาและความสะอาด เรียบร้อยไม่พอเพียงสำหรับการที่ใช้กันอยู่หรือที่คิดจะใช้นั้นก็ดี หรือว่าผู้ที่ได้รับ อนุญาตหรือคนประจำเรือลำใดได้ประพฤติไม่เรียบร้อยอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าถ้าเป็นเรือที่ยังไม่มีใบอนุญาตเจ้าพนักงานผู้นั้นมีอำนาจที่จะไม่ยอมออก ใบอนุญาตให้ ถ้าเป็นเรือที่มีใบอนุญาตแล้วเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะเรียกคืนและ ริบใบอนุญาตนั้นได้
มาตรา 139* เมื่อเจ้าท่าตรวจพบว่าเรือกำปั่นลำใดที่ใช้ในทะเล หรือเรือที่ใช้ในแม่น้ำไม่อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย หรือไม่เหมาะสมสำหรับการใช้ ให้เจ้าท่ามีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือถึงนายเรือห้ามใช้เรือนั้น และสั่งให้ เปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือซ่อมแซมให้เรียบร้อยจนเป็นที่ปลอดภัยหรือมีสภาพเหมาะสม สำหรับการใช้ ถ้านายเรือนำเรือตามวรรคหนึ่งมาใช้โดยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของ เจ้าท่าที่สั่งตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าท่ามีอำนาจกักเรือนั้นไว้จนกว่าจะได้ปฏิบัติ ให้ถูกต้องตามคำสั่ง *[มาตรา 139 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2525]
มาตรา 140* [ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2525]
มาตรา 141* [ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2525]
มาตรา 142* ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีอำนาจออก กฎกระทรวงกำหนดแบบใบอนุญาตใช้เรือ ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการขอรับใบอนุญาตใช้เรือและการออกใบอนุญาตใช้เรือ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้ บังคับได้ *[มาตรา 142 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2525]
มาตรา 143* การออกใบอนุญาต หรือการออกใบอนุญาตใหม่แทน ฉบับเดิมที่หมดอายุ สำหรับเรือที่บัญญัติไว้ในหมวดที่ 3 หมวดที่ 4 และหมวดที่ 5 ในภาคที่ 2 ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่เกิน ฉบับละสองพันบาท ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีอำนาจกำหนดเรือที่ได้รับการ ยกเว้นค่าธรรมเนียมในวรรคหนึ่งไว้ในกฎกระทรวง *[มาตรา 143 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2510]
มาตรา 144* [ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2481]
มาตรา 145* ใบอนุญาตนั้นจะสับเปลี่ยนกันใช้ไม่ได้ แต่ถ้าใน ระหว่างที่ใบอนุญาตยังไม่หมดอายุเรือนั้นได้เปลี่ยนเจ้าของกันไปแล้วก็ให้จัดการ โอนกรรมสิทธิ์กันได้ แต่ต้องแจ้งความให้เจ้าท่าทราบด้วย เพื่อเจ้าท่าจะได้แก้ ใบอนุญาตเปลี่ยนชื่อบัญชีในทะเบียนไว้เป็นสำคัญ โดยเรียกค่าธรรมเนียม ถ้าเป็น เรือเล็ก เรือบรรทุกสินค้าหรือเรือเป็ดทะเล ฯลฯ เป็นเงินสองบาท ถ้าเป็น เรือนอกจากที่ว่ามานี้เป็นเงินยี่สิบบาท *[มาตรา 145 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2490]
มาตรา 146 เมื่อยังไม่ได้จัดการโอน ในทะเบียนและในใบอนุญาต ตามที่บังคับไว้ในมาตรา 145 ท่านว่าผู้ที่จะโอนนั้น ต้องคงเป็นผู้รับผิดชอบ อยู่ก่อนตามบัญญัติมาตรา 298 และ 299 และให้ถือว่าการโอนนั้นยังชอบด้วย กฎหมายไม่ได้สำหรับคนผู้อื่นที่ยังไม่รู้ในเรื่องการโอนนั้น
มาตรา 147 ถ้าในระหว่างอายุใบอนุญาตฉบับใด กระดาษใบอนุญาต นั้นลบเลือนจนอ่านไม่ชัดก็ดี หรือสูญหายไปก็ดี ท่านห้ามมิให้ใช้เรือลำนั้น จนกว่า เจ้าท่าจะได้ออกสำเนาใบอนุญาตฉบับใหม่ให้ ถ้าเป็นการที่สูญหายจะขอใหม่ให้ยื่น เรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษร
มาตรา 148 ใบอนุญาตฉบับใหม่ที่ออกให้แทนเช่นว่ามานั้น ให้มีอักษร ว่า “สำเนาใบอนุญาต” เขียนลงไว้เป็นสำคัญ และให้ใช้ได้ชอบด้วยกฎหมาย เพียงกำหนดเวลาที่ฉบับเดิมยังไม่หมดอายุ
มาตรา 149* การออกสำเนาใบอนุญาต ให้เรียกค่าธรรมเนียม กึ่งอัตราค่าธรรมเนียมออกใบอนุญาต แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยบาท *[มาตรา 149 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2510]
มาตรา 150 ผู้ที่ควบคุมเรือกำปั่นและเรือเล็กลำใด ที่ได้จดทะเบียน แล้ว ต้องรักษาใบอนุญาตไว้ในเรือนั้นเสมอ
มาตรา 151 ผู้ที่ควบคุมเรือกำปั่นและเรือเล็กลำใดที่เป็นเรือต้อง จดทะเบียนนั้น เมื่อเจ้าพนักงานออกใบอนุญาต หรือเจ้าพนักงานกองตระเวน หรือเจ้าพนักงานกรมเจ้าท่า หรือผู้ที่เช่าเรือลำนั้นมีความประสงค์จะขอตรวจดู ใบอนุญาตสำหรับเรือลำนั้นแล้ว ผู้ควบคุมต้องนำมาแสดงให้เห็นปรากฏ
มาตรา 152* ผู้ใดเป็นผู้ควบคุมเรือกำปั่นหรือเรือเล็กลำใดที่มี ใบอนุญาตหรือยังไม่มีใบอนุญาตก็ดี ถ้าและผู้นั้นรู้อยู่แล้วนำเอาใบอนุญาตสำหรับ เรือลำอื่นออกแสดงและใช้เป็นใบอนุญาตสำหรับเรือลำที่ตนเป็นผู้ควบคุม หรือ ผู้ใดจัดหาใบอนุญาตมาเพื่อใช้ในการกระทำความผิดดังกล่าว ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ *[มาตรา 152 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2535]
มาตรา 153 ห้ามมิให้เรือกำปั่นลำใดเอาชื่อของเรือลำอื่นที่ได้ จดทะเบียนไว้แล้วมาใช้ ถ้าและเรือกำปั่นลำใดที่ขอรับใบอนุญาตมีชื่อพ้องกัน กับเรือลำอื่น เจ้าท่าต้องขอให้ผู้ที่ยื่นเรื่องราวขอรับใบอนุญาตนั้นเปลี่ยนชื่อเรือ เป็นอย่างอื่น และให้ยับยั้งการออกใบอนุญาตไว้จนกว่าจะได้เปลี่ยนชื่อเรือนั้น
มาตรา 154* เจ้าของเรือกำปั่นลำใดจะเปลี่ยนชื่อเรือที่จดทะเบียน ไว้แล้ว ต้องนำชื่อใหม่ไปจดทะเบียนทันที และเสียค่าธรรมเนียมจดทะเบียน ครั้งละห้าสิบบาท *[มาตรา 154 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2510]
มาตรา 155* ห้ามมิให้เรือกลไฟหรือเรือยนต์ลำใดบรรทุกผู้โดยสาร มากกว่าจำนวนที่แจ้งในใบอนุญาตสำหรับเรือลำนั้น *[มาตรา 155 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2535]
มาตรา 156 เรือกำปั่นลำใดจะใช้ธงพิเศษสำหรับเป็นเครื่องหมาย ของเจ้าของ หรือใช้เครื่องหมายอย่างใดที่ปล่องเรือก็ดี ต้องได้จดทะเบียนธง หรือเครื่องหมายนั้นไว้ ณ ที่ว่าการกรมเจ้าท่า และอธิบายลงไว้ในใบอนุญาต สำหรับเรือเสียก่อนจึงให้ใช้ได้
มาตรา 157 ตัวเลขและตัวอักษรที่เป็นส่วนของชื่อและเลขลำดับ ที่พระราชบัญญัตินี้บังคับให้เขียนด้วยสี หรือให้ติดหรือสลักลงไว้ที่เรือกำปั่นและ เรือเล็กต่าง ๆ นั้น จะต้องเป็นเลขหรืออักษรขนาดเท่าใดต้องแล้วแต่เจ้าท่า จะเห็นสมควร
มาตรา 158 เจ้าท่า เจ้าพนักงานกองตระเวน เจ้าพนักงาน กรมเจ้าท่าคนใดก็ดี ย่อมมีอำนาจโดยพระราชบัญญัตินี้ที่จะขึ้นไปและตรวจ บนเรือกำปั่นหรือเรือเล็กลำใด ๆ ได้ทุกลำ เพื่อให้ทราบว่าเรือนั้นได้รับอนุญาต สำหรับเรือแล้วหรือไม่ และเพื่อให้ทราบว่าได้มีความละเมิดต่อข้อบังคับใน พระราชบัญญัตินี้ หรือในกฎข้อบังคับอย่างใด ๆ ซึ่งเจ้าท่าได้ออกโดยชอบด้วย กฎหมายอย่างหนึ่งอย่างใดหรือไม่
มาตรา 159 สิ่งของอย่างใด ๆ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ แม้จะเป็นจำนวนอย่างน้อยสักเพียงใดก็ดี ท่านห้ามมิให้บรรทุกไปในเรือกำปั่น หรือเรือเล็กลำใดพร้อมกันกับคนโดยสาร เว้นไว้แต่เรือลำนั้น ๆ ได้จัดที่ไว้ เป็นพิเศษในตอนใต้ดาดฟ้าสำหรับบรรทุกน้ำมันปิโตรเลียมและน้ำมันเบ็นซิน และถ้าเจ้าท่าเห็นเป็นการสมควรแล้วจึงให้บรรทุกของสองอย่างนั้นไปด้วยได้ แต่ข้อบังคับในมาตรานี้ท่านว่าไม่ต้องถือเป็นการห้ามคนโดยสารใดที่จะพา อาวุธปืนของตนกับเครื่องกระสุนปืนมีจำนวนอันสมควรสำหรับใช้เองไปด้วย ในเรือได้
มาตรา 160* เมื่อปรากฏว่าเรือไทยที่ได้รับใบอนุญาตใช้เรือมีอุปกรณ์ และเครื่องใช้ประจำเรือไม่ถูกต้องหรือไม่อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ตามใบสำคัญ ที่ออกตามกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือตามมาตรา 163 ให้เจ้าท่ามีอำนาจ ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้นายเรือแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้านายเรือนำเรือตามวรรคหนึ่งมาใช้โดยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของ เจ้าท่าที่สั่งตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าท่ามีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตใช้เรือจนกว่า จะได้ปฏิบัติถูกต้องตามคำสั่ง เมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามคำสั่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้เจ้าท่าออกคำสั่ง เพิกถอนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตใช้เรือโดยพลัน เมื่อเจ้าท่าตรวจพบว่าเรือต่างประเทศที่เข้ามาในเขตท่าเรือของ ประเทศไทยมีอุปกรณ์และเครื่องใช้ประจำเรือไม่ถูกต้องหรือไม่อยู่ในสภาพ ที่ใช้การได้ตามใบสำคัญตามที่กำหนดในกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือตาม มาตรา 163 ให้เจ้าท่ามีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้นายเรือแก้ไขให้ถูกต้อง เสียก่อน เมื่อเห็นว่าถูกต้องแล้ว จึงจะอนุญาตให้ออกเรือได้ *[มาตรา 160 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2525]
มาตรา 161* ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 145 มาตรา 147 มาตรา 150 มาตรา 151 มาตรา 156 มาตรา 157 มาตรา 159 มาตรา 162 ทวิ มาตรา 162 ตรี มาตรา 166 มาตรา 167 มาตรา 168 มาตรา 171 หรือมาตรา 173 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งร้อยบาทถึง หนึ่งพันบาท *[มาตรา 161 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2535]
มาตรา 161 ทวิ* นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือกลไฟหรือเรือยนต์ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 155 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่ หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ *[มาตรา 161 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2535]
หมวดที่ 2 การตรวจเซอร์เวย์เรือ
มาตรา 162* เจ้าพนักงานออกใบอนุญาตจะออกใบอนุญาตใช้เรือ หรือเปลี่ยนใบอนุญาตใช้เรือแทนฉบับเดิมให้แก่เรือลำใด ให้กระทำได้ต่อเมื่อมี ใบสำคัญรับรองการตรวจเรือเพื่ออนุญาตให้ใช้เรือซึ่งเจ้าพนักงานตรวจเรือได้ ออกให้ไว้แสดงว่าเรือลำนั้นได้รับการตรวจตามกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ และปรากฏว่าเป็นเรือที่อยู่ในสภาพปลอดภัยและเหมาะสมสำหรับการใช้นั้นใน ช่วงระหว่างเวลาสิบสองเดือน หรือน้อยกว่านั้น *[มาตรา 162 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2525]
มาตรา 162 ทวิ* เรือที่เป็นเรือเดินทะเลระหว่างประเทศ ต้องมี ใบสำคัญรับรองเกี่ยวกับความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเลตามมาตรา 163 (3) เว้นแต่
(1) เรือของทางราชการทหารไม่ว่าจะเป็นของประเทศไทยหรือของ ต่างประเทศ หรือเรือลำเลียงทหารไม่ว่าจะเป็นเรือไทยหรือเรือต่างประเทศ
(2) เรือสินค้าขนาดต่ำกว่าห้าร้อยตันกรอสส์
(3) เรือที่มิใช่เรือกล
(4) เรือไม้ที่ต่อแบบโบราณ
(5) เรือสำราญและกีฬา
(6) เรือประมง *[มาตรา 162 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2525]
มาตรา 162 ตรี* เรือทุกลำต้องมีใบสำคัญรับรองแนวน้ำบรรทุก ตามมาตรา 163(4) เว้นแต่
(1) เรือของทางราชการทหาร ไม่ว่าจะเป็นของประเทศไทยหรือ ของต่างประเทศ
(2) เรือที่วางกระดูกงูในวันหรือหลังวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2511 ที่มีความยาวฉากน้อยกว่ายี่สิบสี่เมตร
(3) เรือที่วางกระดูกงูก่อนวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2511 ที่มีขนาด ต่ำกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบตันกรอสส์
(4) เรือสำราญและกีฬา
(5) เรือประมง *[มาตรา 162 ตรี เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2525]
มาตรา 163* ให้เจ้าท่าโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีอำนาจออกกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และ เงื่อนไขในการออกใบสำคัญดังต่อไปนี้
(1) ใบสำคัญรับรองการตรวจเรือเพื่ออนุญาตให้ใช้เรือ
(2) ใบสำคัญแสดงการตรวจเรือเพื่อจดทะเบียนเรือไทย
(3) ใบสำคัญรับรองเกี่ยวกับความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล
(4) ใบสำคัญรับรองแนวน้ำบรรทุก
(5) ใบสำคัญรับรองการตรวจเรือเพื่อการอื่น ๆ กฎข้อบังคับนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ *[มาตรา 163 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2525 (รก.2476/-/824)]
มาตรา 164* ผู้ยื่นเรื่องราวขอรับใบสำคัญตามมาตรา 163 ต้อง เตรียมเรือไว้ให้เจ้าพนักงานตรวจเรือตรวจตามกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ *[มาตรา 164 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2525]
มาตรา 164 ทวิ* ผู้ยื่นเรื่องราวตามมาตรา 164 ประสงค์จะ ให้เจ้าพนักงานตรวจเรือตรวจเรือนอกสถานที่ราชการไม่ว่าในหรือนอกเวลา ราชการนอกจากต้องเสียค่าธรรมเนียมการตรวจเรือตามมาตรา 165 แล้ว ให้เสียค่าเดินทาง และค่าธรรมเนียมสำหรับการเดินทางไปตรวจเรือนอก สถานที่ราชการ ไม่ว่าในหรือนอกเวลาราชการ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนด อัตราค่าเดินทางและค่าธรรมเนียมสำหรับการเดินทางไปตรวจเรือนอกสถานที่ ราชการไม่ว่าในหรือนอกเวลาราชการ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้ บังคับได้ *[มาตรา 164 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2525]
มาตรา 165 ค่าธรรมเนียมการตรวจนั้น ต้องเสียตามพิกัดที่กำหนด ไว้ในกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ
หมวดที่ 3 ว่าด้วยเรือกลไฟทุกอย่าง
มาตรา 166 เรือกลไฟทุกลำต้องมีชื่อเรือเป็นอักษรไทยและอักษรฝรั่ง เขียนหรือติดไว้ในที่เด่นแลเห็นได้ง่ายที่หัวเรือทั้งสองแคม ถ้าเป็นเรือกลไฟเดิน ทะเลต้องเขียนหรือติดชื่อเรือและชื่อเมืองที่ได้จดทะเบียนเรือนั้นไว้ที่ท้ายเรือด้วย ถ้าเป็นเรือไม่มีชื่อฉะนั้น ต้องเขียนหรือติดเลขลำดับของใบอนุญาตสำหรับเรือเป็น เลขไทย และเลขฝรั่งไว้ที่หัวเรือทั้งสองแคม และห้ามมิให้เอาสิ่งใดปิดบังชื่อหรือ เลขที่ว่านี้เป็นอันขาด
มาตรา 167 บรรดาเรือกลไฟสำหรับให้เช่าต้องเอาใบอนุญาต สำหรับเรือและสำเนาข้อบังคับที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้และในหมวดที่ 1 ใส่กรอบ แขวนไว้ในที่เด่นในเรือที่คนทั้งหลายอ่านได้ง่าย
มาตรา 168 บรรดาเรือกลไฟสำหรับให้เช่า ซึ่งมิใช่เรือกลไฟ เดินทะเลต้องเขียนเลขลำดับของใบอนุญาตสำหรับเรือเป็นเลขไทยและเลขฝรั่ง ที่หัวเรือขนาบข้างชื่อเรือและต้องเขียนชื่อและเลขเช่นนั้นไว้ที่ท้ายเรือด้วย จำนวนคนโดยสารที่อนุญาตให้บรรทุกได้นั้นต้องเขียนหรือติดไว้ในที่เด่นแลเห็น ได้ง่ายจากภายนอกทั้งสองข้างลำเรือ และห้ามมิให้เอาสิ่งใดปิดบังชื่อหรือเลข เช่นว่ามานี้เป็นอันขาด
มาตรา 169 เนื้อที่ในเรือสำหรับให้คนโดยสารคนหนึ่ง ๆ จะต้อง มีขนาดเท่าไรนั้นจะได้กำหนดไว้โดยชัดในกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ และ เรือลำใดจะยอมให้บรรทุกคนโดยสารได้กี่คนนั้นจะได้กำหนดไว้ในใบอนุญาต สำหรับเรือ
มาตรา 170* เมื่อเจ้าท่าตรวจพบว่าเรือที่ได้รับอนุญาตให้บรรทุก คนโดยสาร บรรทุกสินค้า หรือบรรทุกคนโดยสารและสินค้าลำใด อยู่ในสภาพ ที่ไม่ปลอดภัยต่อคนโดยสาร มีสภาพไม่เหมาะสมกับการใช้ ให้เจ้าท่ามีอำนาจ สั่งห้ามใช้เรือลำนั้นจนกว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองจะได้แก้ไขให้เรียบร้อย ผู้ใดใช้เรือที่เจ้าท่าสั่งห้ามใช้ตามวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองพันบาท *[มาตรา 170 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ(ฉบับที่ 13) พ.ศ.2525]
มาตรา 171 ในเรือลำใดถ้าใช้เนื้อที่ที่กำหนดสำหรับคนโดยสาร เป็นที่วางสิ่งของกินเนื้อที่มากน้อยเท่าคนโดยสารกี่คน ต้องลดจำนวนคนโดยสาร ที่อนุญาตให้บรรทุกได้นั้นลงไปให้สมกัน
มาตรา 172 ในใบอนุญาตต้องกล่าวว่า แรงสติมที่หม้อน้ำของ เรือนั้นควรมีหรืออนุญาตให้มีได้เพียงใดเป็นอย่างมากที่สุด ถ้าเจ้าของหรือ ผู้ใช้จักรหรือนายเรือเรือกลไฟลำใดใช้แรงสติมเกินกว่าที่อนุญาตให้ใช้ก็ดี หรือ เอาของหนักหรือสิ่งใดถ่วงหรือกดที่(เซฟติแวลฟ์) คือเครื่องสำหรับให้พ่นสติม ไอน้ำเพื่อป้องกันอันตรายไว้โดยมิควรก็ดี ท่านว่ามีความผิดต้องระวางโทษ ปรับเงินไม่เกินกว่าห้าร้อยบาท
มาตรา 173 ถ้ามีอุบัติเหตุอันตรายเกิดขึ้นในเรือกลไฟลำใดแก่ ลำเรือหรือหม้อน้ำ หรือเครื่องจักร หรือแก่คนโดยสาร หรือบุคคลใด ๆ ก็ดี หรือมีอุบัติเหตุอันตรายซึ่งเรือลำนั้นเป็นต้นเหตุก็ดี ท่านว่าต้องแจ้งความไปยัง เจ้าท่าโดยพลัน
มาตรา 174* [ยกเลิกแล้วพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2510]
มาตรา 175* ผู้ใดใช้เรือผิดจากเงื่อนไขหรือข้อกำหนดในใบอนุญาต ใช้เรือ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท *[มาตรา 175 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2535]
มาตรา 176* เรือลำใดบรรทุกเกินกว่าที่กำหนดในใบสำคัญรับรอง แนวน้ำบรรทุก เจ้าท่ามีอำนาจที่จะกักเรือลำนั้นไว้ และสั่งให้นายเรือหรือ ผู้ที่ควบคุมเรือจัดการให้เรือลำนั้นบรรทุกให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้านายเรือหรือผู้ควบคุมเรือผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าท่าตาม วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท *[มาตรา 176 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2535]
หมวดที่ 4 ว่าด้วยเรือใบ เรือโป๊ะจ้าย เรือลำเลียง เรือเป็ดทะเลและอื่น ๆ และเรือสำเภา
มาตรา 177 ในใบอนุญาตทุกฉบับสำหรับเรือใบ เรือโป๊ะจ้าย เรือลำเลียง เรือเป็ดทะเล และอื่น ๆ และเรือสำเภานั้น ต้องชี้แจงขนาด กว้างยาว ลึกของเรือ และเรืออาจบรรทุกของหนักได้เพียงใด
มาตรา 178 เรือที่ว่ามาแล้วเช่นนั้นทุก ๆ ลำต้องมีเลขลำดับของ ใบอนุญาตสำหรับเรือเป็นเลขไทยและเลขฝรั่งเขียนด้วยสีให้อ่านได้ชัดไว้ที่หัวเรือ ทั้งสองแคมและที่ท้ายเรือ ห้ามมิให้เขียนเลขอื่นที่มิใช่เลขลำดับของใบอนุญาต และห้ามมิให้เอาสิ่งใดปิดบังเลขที่เขียนไว้นั้นเป็นอันขาด
มาตรา 179 ห้ามมิให้เรือโป๊ะจ้าย เรือลำเลียง เรือเป็ดทะเล และอื่น ๆ และเรือสำเภา มีท้องเรือปลอมหรือมีระวางหรือที่ลับสำหรับซ่อนสินค้า หรือซ่อนบุคคล
มาตรา 180* [ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2510]
หมวดที่ 5 ว่าด้วยเรือบรรทุกสินค้าและเรือเล็กต่าง ๆ ——–
มาตรา 181* [ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2481]
มาตรา 182* [ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2481]
มาตรา 183 เมื่อมีผู้ยื่นเรื่องราวขอรับใบอนุญาต หรือขอเปลี่ยน ใบอนุญาตใหม่แทนฉบับเดิมที่หมดอายุ สำหรับเรือบรรทุกสินค้าหรือเรือเล็ก ลำใด ๆ ถ้าเจ้าท่ามีเหตุอันสมควรที่จะสงสัยว่าได้มีการละเมิดที่เกี่ยวด้วย เรือนั้นเองหรือเกี่ยวด้วยใบอนุญาตใด ๆ สำหรับเรือนั้นไซร้ ท่านว่าเจ้าท่ามี อำนาจที่จะรอการออกใบอนุญาตตามที่ขอนั้นและกักเรือลำนั้น ๆ ไว้เพื่อไต่สวน ต่อไป ถ้าและไต่สวนตกลงในชั้นที่สุดว่าไม่ควรออกใบอนุญาตให้ฉะนั้น ให้ถือว่า เรือลำนั้นดุจทรัพย์สมบัติที่เก็บได้ ตามความมุ่งหมายของบัญญัติในมาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 184 ในใบอนุญาตสำหรับเรือบรรทุกสินค้า ต้องชี้แจงขนาด กว้างยาวและลึกของลำเรือและจำนวนน้ำหนักที่เรือนั้นมีกำลังบรรทุกได้เพียงใด
มาตรา 185 ในใบอนุญาตสำหรับเรือเล็กต่าง ๆ ที่รับจ้างบรรทุก คนโดยสาร ต้องชี้แจงจำนวนคนโดยสารที่อนุญาตให้เรือนั้นบรรทุกได้ ถ้าเป็น เรือที่ใช้ทั้งสำหรับบรรทุกสินค้าและรับจ้างบรรทุกคนโดยสารฉะนั้น ในใบอนุญาต ต้องชี้แจงขนาดกว้างยาวและลึกของลำเรือและกำลังของเรือที่บรรทุกของหนัก ได้เพียงใด และจำนวนคนโดยสารที่อนุญาตให้บรรทุกได้นั้นด้วย
มาตรา 186 เรือบรรทุกสินค้าและเรือเล็กต่าง ๆ ทุกลำ ที่ใช้ สำหรับให้เช่าหรือรับจ้างและได้รับใบอนุญาตสำหรับเรือแล้วนั้น ต้องมีเลขลำดับ ของใบอนุญาตเป็นเลขไทยที่เขียนด้วยสีอ่านได้ชัดไว้ที่หัวเรือทั้งสองแคม ห้าม ไม่ให้มีเลขอย่างอื่นเขียนไว้ในที่นั้นเป็นอันขาด และต้องสลักเลขลำดับนั้นลงไว้ ในที่แลเห็นได้ง่ายในลำเรือนั้น ๆ ด้วย ถ้าเป็นเรือสำหรับรับจ้างบรรทุกคน โดยสารต้องเขียนจำนวนคนโดยสารที่อนุญาตให้บรรทุกได้นั้นด้วยสีลงไว้ในที่ แลเห็นได้ง่ายในลำเรือนั้นเป็นอักษรเลขไทยและเลขฝรั่ง และที่เขียนไว้เช่นนี้ ห้ามมิให้เอาสิ่งใดปิดบังไว้เป็นอันขาด
มาตรา 187 ห้ามมิให้เรือบรรทุกสินค้าและเรือเล็ก ๆ ลำใด ๆ มีท้องเรือปลอมหรือมีที่ลับอย่างใด ๆ สำหรับซ่อนสิ่งของหรือบุคคล
มาตรา 188* [ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2510]