marinerthai

พระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 7) พุทธศักราช 2483

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2480)

อาทิตย์ทิพอาภา พล.อ.พิชเยนทรโยธิน

ตราไว้ ณ วันที่ 24 กันยายน พุทธศักราช 2483 เป็นปีที่ 7 ในรัชกาลปัจจุบัน

โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรแก้ไขกฎกระทรวงว่าด้วย การเดินเรือในน่านน้ำไทยที่เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการเดินเรือ ในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 7) พุทธศักราช 2483”

มาตรา 2* ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป*(1) *[รก.2483/-/440/1 ตุลาคม 2483]

มาตรา 3 ค่าธรรมเนียมตรวจเรือซึ่งจะต้องเสียตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พุทธศักราช 2456 เมื่อรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงคมนาคม เห็นสมควรผ่อนผันลดอัตราก็ดี หรือจะงดเว้นไม่เก็บก็ดี สำหรับเรือชนิดใด เพื่อใช้ในท้องที่ใด เป็นกำหนดเวลาเท่าใด ก็ให้ทำได้โดย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการมีหน้าที่รักษาการ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พิบูลสงคราม

นายกรัฐมนตรี

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พุทธศักราช 2479 (ฉบับที่ 5)

หมายเหตุ:- ซึ่งพระราชบัญญัตินี้ให้ยกเลิกมีความมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยามแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) ดังนี้ “แต่เจ้าของเรือหรือนายเรือย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องขอให้ ผู้นำร่องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ตนอีกต่อหนึ่ง” *[รก.2479/-/719/29 พฤศจิกายน 2479]

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 7) พุทธศักราช 2483

หมายเหตุ:- หลักการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยที่เกี่ยวกับ ค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐมนตรีผู้มีหน้าที่รักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้ พิจารณาผ่อนผันลดอัตราค่าธรรมเนียมลงหรืองดเว้นไม่เก็บ สำหรับเรือชนิดใด เพื่อใช้ในท้องที่ใด เป็นกำหนดเวลาเท่าใดได้ *[รก.2483/-/440/1 ตุลาคม 2483]

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 10) พุทธศักราช 2510

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจาก บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยในส่วนที่เกี่ยวกับ ทางเดินเรือ เขตท่าเรือ เขตจอดเรือ ค่าปรับและค่าธรรมเนียมที่ใช้อยู่ ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าว *[รก.2510/30/158/4 เมษายน 2510]

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 11) พุทธศักราช 2520

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็น การสมควรให้เจ้าท่ามีอำนาจประกาศกำหนดเส้นทางเดินเรือและควบคุม การเดินเรือในเขตท่ากรุงเทพฯ และในแม่น้ำลำคลองเป็นการเฉพาะคราวได้ ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือในเขตท่ากรุงเทพฯ และในแม่น้ำ ลำคลองเป็นการเฉพาะคราวได้ ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ ในเขตกรุงเทพฯ และในแม่น้ำลำคลองอีกทั้งอัตราโทษที่จะลงแก่ผู้ฝ่าฝืนที่มีอยู่ ในหมวดที่ 4 ของภาคที่ 1 ยังไม่เหมาะสมถึงสถานการณ์ปัจจุบันสมควรแก้ไข ปรับปรุงอัตราโทษดังกล่าวเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น *[รก.2520/86/17พ/19 กันยายน 2520]

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 12) พุทธศักราช 2522

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบัน กฎหมายให้อำนาจเจ้าท่าหรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ทำการขจัดสิ่งกีดขวางได้ เฉพาะการเดินเรือในเขตท่า หรือในแม่น้ำที่เรือเดินได้ตำบลใด ๆ เท่านั้น ดังนั้น เมื่อมีเรือหรือสิ่งอื่นใดจมลงหรืออาจเป็นอันตรายแก่การเดินเรือ นอกเขตท่าและไม่ใช่ในแม่น้ำที่เรือเดินได้ เจ้าท่าหรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ จึงไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะทำการขจัดสิ่งกีดขวางนั้นทันท่วงที อันจะ เป็นการก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและการค้าทางทะเลของประเทศ จำเป็นต้องให้อำนาจแก่เจ้าท่าและเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ทำการขจัดสิ่งกีดขวาง ดังกล่าวได้ตามควรแก่กรณี และให้มีอำนาจขายทอดตลาดเรือหรือสิ่งอื่นใดและ ทรัพย์สินที่มีอยู่ในเรือหรือสิ่งอื่นใดที่จมลงหรืออาจเป็นอันตรายได้ รวมทั้งให้มี การขจัดหรือป้องกันสิ่งซึ่งก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในเรือหรือสิ่งอื่นใด นั้นได้ด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น *[รก.2522/28/21พ/1 มีนาคม 2522]

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 13) พุทธศักราช 2525

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทย กำลังดำเนินการเพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัย แห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1960 แต่กฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย ยังมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาดังกล่าว ประกอบกับบทบัญญัติ บางมาตราในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการ เดินเรือในน่านน้ำไทย เพื่ออนุวัตการให้เป็นไปตามอนุสัญญาดังกล่าวข้างต้น และเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ *[รก.2525/88/1พ/25 มิถุนายน 2525]

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 14) พุทธศักราช 2535

หมายเหตุ :-เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจาก ในปัจจุบันผู้ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งล่วงล้ำน้ำได้ใช้อาคารหรือ สิ่งส่วงล้ำน้ำนั้นประกอบธุรกิจ สมควรแก้ไขอัตราโทษให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตดังกล่าวต้องชำระค่าตอบแทนเป็นรายปีตาม วิธีการและอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ประกอบกับขณะนี้ประเทศไทยได้พัฒนา ไปเป็นประเทศอุตสาหกรรมมากขึ้นเป็นผลให้มีการนำเคมีภัณฑ์และสิ่งของต่าง ๆ ที่อาจก่อให้อันตรายขึ้นได้เข้ามาในประเทศเป็นจำนวนมากกว่าที่เป็นมาในอดีต หากไม่มีการควบคุมการนำเข้ามาโดยทางเรือให้เหมาะสมแล้ว อาจก่อให้เกิด อันตรายอย่างกว้างขวางแก่บุคคล สัตว์ สิ่งของและสิ่งแวดล้อม สมควรแก้ไข เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจของกรมเจ้าท่าในการควบคุมการขนส่งสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ และเนื่องจากอัตราโทษสำหรับผู้กระทำผิดตาม กฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยยังไม่เหมาะสม จึงจำเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น *[รก.2535/44/16/9 เมษายน 2535]

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 15) พุทธศักราช 2540

หมายเหตุ :-เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ เนื่องจากได้ มีการประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย สมควรแก้ไขเพิ่มเติ่มพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 เพื่อขยายอำนาจบังคับการตามกฎหมายดังกล่าวบางประการไปใช้ใน บริเวณน่านน้ำดังกล่าวด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น *[รก.2540/72ก/18/16 พฤศจิกายน 2540]

Share the Post: