marinerthai

พระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2525

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2525

เป็นปีที่ 37 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอม ของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2525

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 50 ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2515 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้

เรือ” หมายความว่า ยานพาหนะทางน้ำทุกชนิด ไม่ว่าจะใช้เพื่อ บรรทุกลำเลียง โดยสาร ลาก จูง ดัน ยก ขุดหรือลอก รวมทั้งยานพาหนะอย่างอื่นที่สามารถใช้ในน้ำได้ ทำนองเดียวกัน

เรือกำปั่น” หมายความว่า เรือที่เดินด้วยเครื่องจักรกลหรือด้วยใบ และไม่ได้ใช้ กรรเชียง แจวหรือพาย

เรือกำปั่นไฟ” หรือ “เรือกลไฟ” หมายความว่า เรือที่เดินด้วยเครื่องจักรจะใช้ใบ ด้วยหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมตลอดถึงเรือกำปั่นยนต์ด้วย

เรือกำปั่นยนต์” หรือ “เรือยนต์” หมายความว่า เรือที่เดินด้วยเครื่องยนต์จะใช้ กำลังอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม

เรือกำปั่นใบ” หรือ “เรือใบ” หมายความว่า เรือที่เดินด้วยใบและไม่ใช้ เครื่องจักรกล

เรือกล” หมายความว่า เรือที่เดินด้วยเครื่องจักรกล และใช้กำลัง อื่นด้วยหรือไม่ ก็ตาม

เรือกลไฟเล็ก” หมายความว่า เรือที่มีขนาดต่ำกว่าสามสิบตัน กรอสส์ที่เดินด้วย เครื่องจักร

เรือเดินทะเล” หรือ “เรือทะเล” หมายความว่า เรือที่มีลักษณะสำหรับใช้ในทะเล ตามกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ

เรือเล็ก” หมายความว่า เรือที่เดินด้วยกรรเชียง แจวหรือพาย

เรือโป๊ะ” หรือ “เรือโป๊ะจ้าย” หมายความว่า เรือทะเลที่มีรูปร่างแบบยุโรป และ เครื่องเสาเพลาใบอย่างแบบจีน หรือแบบประเทศใด ๆ ในเอเซีย

เรือเป็ดทะเลและอื่น ๆ” หรือ “เรือเป็ดทะเลและเรืออื่น ๆ” หมายความว่า เรือที่ ใช้ใบในเวลาเดินทะเล และใช้ใบหรือกรรเชียงหรือแจวในเวลาเดินในลำแม่น้ำ และให้ หมายความรวมตลอดถึงเรือฉลอมทะเล เรือเท้งฉลอมท้ายญวน หรือเรือสามก้าวด้วย

เรือสำเภา” หมายความว่า เรือเดินทะเลต่ออย่างแบบจีน หรือแบบประเทศใด ๆ ในเอเซีย

เรือบรรทุกสินค้า” หมายความว่า เรือที่ไม่มีดาดฟ้าหรือมีไม่ตลอดลำ เดินด้วย กรรเชียง แจว หรือพาย หรือบางทีใช้ใบ และใช้สำหรับบรรทุกสินค้า

เรือลำเลียง” หมายความว่า เรือที่มิใช่เรือกล และใช้สำหรับลำเลียง หรือขนถ่าย สินค้าจากเรือกำปั่น หรือบรรทุกสินค้าส่งเรือกำปั่น

เรือลำเลียงทหาร” หมายความว่า เรือที่ใช้ในการลำเลียงทหาร ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็น เรือของทางราชการหรือไม่ก็ตาม

เรือโดยสาร” หมายความว่า เรือที่บรรทุกโดยสารเกินสิบสองคน

เรือสินค้า” หมายความว่า เรือที่มิใช่เรือโดยสาร

เรือประมง” หมายความว่า เรือที่ใช้สำหรับการจับสัตว์น้ำหรือ ทรัพยากรที่มีชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่ในทะเล

เรือสำราญและกีฬา” หมายความว่า เรือที่ใช้สำหรับหาความสำราญ หรือเรือที่ใช้ เพื่อการเล่นกีฬาโดยเฉพาะ และไม่ได้ใช้เพื่อการค้าการทหาร หรือการค้นคว้างทาง วิทยาศาสตร์

เรือไม้ที่ต่อแบบโบราณ” หมายความว่า เรือใบเสาเดียวเรือสำเภา หรือเรือไม้ ที่ ต่อตามแบบเรือที่ใช้อยู่ในสมัยโบราณ

แพ” หมายความรวมตลอดถึงโป๊ะ อู่ลอย และสิ่งลอยน้ำอื่นที่มี ลักษณะคล้ายคลึงกัน

แพคนอยู่” หมายความว่า เรือนที่ปลูกอยู่บนแพ และลอยอยู่ใน ลำแม่น้ำหรือลำคลอง

ตันกรอสส์” หมายความว่า ขนาดของเรือที่คำนวณได้ ตามกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจ เรือตาม มาตรา 163

น่านน้ำไท” หมายความว่า บรรดาน่านน้ำที่อยู่ภายใต้อำนาจ อธิปไตยของประเทศไทย

เมืองท่า” หมายความว่า ทำเล หรือถิ่นที่จอดเรือเพื่อ ขนถ่ายคนโดยสารหรือของ

นายเรือ” หมายความว่า ผู้ควบคุมเรือกำปั่น หรือเรืออื่น ๆแต่ไม่รวมถึงผู้นำร่อง

คนประจำเรือ” หมายความว่า คนที่มีหน้าที่ทำการประจำอยู่ในเรือ

ลูกเรือ” หมายความว่า คนประจำเรือนอกจากนายเรือ

คนโดยสาร” หมายความว่า คนที่อยู่ในเรือ เว้นแต่

(1) คนประจำเรือ หรือผู้อื่นที่รับจ้างทำงานในเรือนั้น

(2) เด็กที่มีอายุต่ำกว่าหนึ่งปี

เจ้าท่า” หมายความว่า อธิบดีกรมเจ้าท่า หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรม เจ้าท่ามอบหมาย

เจ้าพนักงานออกใบอนุญาต” หมายความว่า อธิบดีกรมเจ้าท่า หรือผู้ซึ่งอธิบดี กรมเจ้าท่ามอบหมายให้ทำการออกใบอนุญาต

เจ้าพนักงานตรวจเรือ” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่า การกระทรวงคมนาคม แต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจเรือตามพระราชบัญญัตินี้”

มาตรา 4 ให้ยกเลิก มาตรา 4 มาตรา 6 และ มาตรา 7 แห่ง พระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 กับ มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทยพระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 50 ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2515

มาตรา 5 ให้ยกเลิก ความในหมวดที่ 2 ของภาค 1 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือใน น่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา 6 ให้ยกเลิก ความใน มาตรา 139 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 139 เมื่อเจ้าท่าตรวจพบว่าเรือ กำปั่นลำใดที่ใช้ในทะเลหรือ เรือที่ใช้ในแม่น้ำ ไม่อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย หรือไม่เหมาะสมสำหรับการใช้ ให้เจ้าท่ามีอำนาจออกคำสั่งเป็น หนังสือถึงนายเรือห้ามใช้เรือนั้นและสั่งให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือซ่อมแซมให้เรียบร้อยจนเป็นที่ ปลอดภัยหรือมีสภาพเหมาสะสมสำหรับการใช้ ถ้านายเรือนำเรือตามวรรคหนึ่งมาใช้โดยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าท่าที่สั่งตาม วรรคหนึ่ง ให้เจ้าท่ามีอำนาจกักเรือนั้นได้จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่ง”

มาตรา 7 ให้ยกเลิก มาตรา 140 และ มาตรา 141 แห่ง พระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456

มาตรา 8 ให้ยกเลิก ความใน มาตรา 142 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศแก้ไขพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 142 ให้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคมมีอำนาจออก กฎกระทรวงกำหนด แบบใบอนุญาตให้เรือ ตลอดจนหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตใช้เรือและ การออกใบอนุญาตใช้เรือ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ “

มาตรา 9 ให้ยกเลิก ความใน มาตรา 160 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำ ไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 160 เมื่อปรากฏว่าเรือไทย ที่ได้รับใบอนุญาตใช้เรือมีอุปกรณ์ และเครื่องใช้ ประจำเรือไม่ถูกต้องหรือไม่อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ตามใบสำคัญที่ออกตามกฎข้อบังคับสำหรับ การตรวจเรือตาม มาตรา 163 ให้เจ้าท่ามีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้นายเรือแก้ไขให้ ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้านายเรือนำเรือตามวรรคหนึ่งมาใช้โดยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าท่าที่สั่งตาม วรรคหนึ่ง ให้เจ้าท่ามีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตใช้เรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติถูกต้องตามคำสั่ง เมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามคำสั่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้เจ้าท่าออกคำสั่งเพิก ถอนคำสั่งพัก ใช้ใบอนุญาตใช้เรือโดยพลัน
เมื่อเจ้าท่าตรวจพบว่าเรือต่างประเทศที่เข้ามาในเขตท่าเรือของประเทศไทย มีอุปกรณ์ และเครื่องใช้ประจำเรือไม่ถูกต้องหรือไม่อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ตามใบสำคัญตามที่กำหนดใน กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือตาม มาตรา 163 ให้เจ้าท่ามีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ นายเรือแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน เมื่อเห็นว่าถูกต้องแล้ว จึงจะอนุญาตให้ออกเรือได้”

มาตรา 10 ให้ยกเลิก ความใน มาตรา 162 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 50 ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2515 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน.

” มาตรา 162 เจ้าพนักงานออก ใบอนุญาตจะออกใบอนุญาตใช้เรือ หรือเปลี่ยนใบอนุญาต ใช้เรือแทนฉบับเดิมให้แก่เรือลำใด ให้กระทำได้ต่อเมื่อมีใบสำคัญรับรองการตรวจเรือเพื่อ อนุญาตให้ใช้เรือซึ่งเจ้าพนักงานตรวจเรือได้ออกให้ไว้ แสดงว่าเรือลำนั้นได้รับการตรวจตาม กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ และปรากฏว่า เป็นเรือที่อยู่ในสภาพปลอดภัยและเหมาะสม สำหรับการใช้นั้นในช่วยระหว่างเวลาสิบสองเดือน หรือน้อยกว่านั้น”

มาตรา 11 ให้เพิ่ม ความต่อไปนี้เป็น มาตรา 162ทวิ และ มาตรา 162ตรี แห่ง พระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456

” มาตรา 162ทวิ เรือที่เป็นเรือ เดินทะเลระหว่างประเทศต้องมีใบสำคัญรับรอง เกี่ยวกับความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล มาตรา 163 (3) เว้นแต่

(1) เรือของทางราชการทหารไม่ว่าจะเป็นของประเทศไทยหรือของต่างประเทศ หรือเรือลำเลียงทหารไม่ว่าจะเป็นเรือไทยหรือเรือต่างประเทศ

(2) เรือสินค้าขนาดต่ำกว่าห้าร้อยตันกรอสส์

(3) เรือที่มิใช่เรือกล

(4) เรือไม้ที่ต่อแบบโบราณ

(5) เรือสำราญและกีฬา

(6) เรือประมง

มาตรา 162ตรี เรือทุกลำต้องมีใบสำคัญ รับรองแนวน้ำบรรทุกตาม มาตรา 163 (4) เว้นแต่

(1) เรือของทางราชการทหาร ไม่ว่าจะเป็นของประเทศไทยหรือของ ต่างประเทศ

(2) เรือที่วางกระดูกงูในวันหรือหลังวันที่ 21 กรกฎาคมพ.ศ. 2511 ที่มีความยาว ฉากน้อยกว่ายี่สิบสี่เมตร

(3) เรือที่วางกระดูกงูก่อนวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 ที่มีขนาดต่ำกว่าหนึ่งร้อย ห้าสิบตันกรอสส์

(4) เรือสำราญและกีฬา

(5) เรือประมง”

มาตรา 12 ให้ยกเลิก ความใน มาตรา 163 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2476 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 163 ให้เจ้าท่าโดยอนุมัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีอำนาจออก กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการออกใบสำคัญ ดังต่อไปนี้

(1) ใบสำคัญรับรองการตรวจเรือเพื่ออนุญาตให้ใช้เรือ

(2) ใบสำคัญแสดงการตรวจเรือเพื่อจดทะเบียนเรือไทย

(3) ใบสำคัญรับรองเกี่ยวกับความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล

(4) ใบสำคัญรับรองแนวน้ำบรรทุก

(5) ใบสำคัญรับรองการตรวจเรือเพื่อการอื่น ๆ

กฎข้อบังคับนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับ ได้”

มาตรา 13 ให้ยกเลิก ความใน มาตรา 164 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำ ไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 164 ผู้ยื่นเรื่องราวขอรับ ใบสำคัญตาม มาตรา 163 ต้องเตรียม เรือไว้ให้ เจ้าพนักงานตรวจเรือตรวจตามกฎหมายข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ”

มาตรา 14 ให้เพิ่ม ความต่อไปนี้เป็น มาตรา 164ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือ ในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ให้เจ้าพนักงานตรวจเรือตรวจเรือนอกสถานที่ราชการ ไม่ว่าในหรือนอกเวลาราชการ นอกจากต้องเสียค่าธรรมเนียมการตรวจเรือตาม มาตรา 165 แล้ว ให้เสียค่าเดินทางและค่าธรรมเนียม สำหรับการเดินทางไปตรวจเรือ นอกสถานที่ราชการ ไม่ว่าในหรือนอกเวลาราชการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนด อัตราค่าเดินทาง และค่าธรรมเนียมสำหรับการเดินทางไปตรวจเรือนอกสถานที่ราชการไม่ว่าในหรือนอก เวลาราชการ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับ ได้”

มาตรา 15 ให้ยกเลิก ความใน มาตรา 170 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 50 ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2515 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 170 เมื่อเจ้าท่าตรวจพบว่า เรือที่ได้รับอนุญาตให้บรรทุกคน โดยสารบรรทุก สินค้าหรือบรรทุกคนโดยสารและสินค้าลำใดอยู่ในสภาพ ไม่ปลอดภัยต่อคนโดยสารมีสภาพไม่ เหมาะสมกับการใช้ให้เจ้าท่ามีอำนาจสั่งห้ามใช้เรือลำนั้นจนกว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองจะได้ แก้ไขให้เรียบร้อย ผู้ใดฝ่าฝืนใช้เรือที่เจ้าท่าสั่งห้ามตามวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท”

มาตรา 16 ให้ยกเลิก ความใน มาตรา 175 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2510 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 175 ผู้ใดใช้เรือผิดจาก เงื่อนไขและข้อกำหนดในใบอนุญาตใช้เรือ ต้องระวาง โทษปรับไม่เกินสองพันบาท”

มาตรา 17 ให้ยกเลิก ความใน มาตรา 176 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 176 เรือลำใดบรรทุก เกินกว่าที่กำหนดในใบสำคัญรับรอง แนวน้ำบรรทุก เจ้าท่ามีอำนาจที่จะกักเรือลำนั้นไว้ และสั่งให้นายเรือจัดการให้เรือลำนั้นบรรทุกให้ถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ถ้านายเรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าท่าตามวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสอง พันบาท”

มาตรา 18 ให้ยกเลิก ความใน มาตรา 189 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 189 ให้เจ้าท่าโดยอนุมัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีอำนาจประกาศ ในราชกิจจานุเบกษากำหนดชั้นของสิ่งของและสิ่งของที่อาจ ทำให้เกิดอันตรายได้”

มาตรา 19 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 277 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2477 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 277 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการ ในเรือกลไฟ เรือยนต์เรือเดินทะเล เรือบรรทุก สินค้าขนาดตั้งแต่ 100 หาบขึ้นไปซึ่งทำการติดต่อกับเรือเดินทะเลหรือเรือซึ่งใช้เป็นเรือชูชีพ ประจำเรือเดินทะเลในตำแหน่งที่กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือกำหนดให้ต้องมี ประกาศนียบัตร เว้นแต่เป็นผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความสามารถให้ทำการ เช่นนั้นได้”

มาตรา 20 ให้ยกเลิก ความใน มาตรา 279 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำ ไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2477 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา 279 ให้เจ้าท่าโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่า การกระทรวงคมนาคมมีอำนาจออก ข้อบังคับเกี่ยวกับการสอบความรู้ของผู้ทำการในเรือใน เรื่องดังต่อไปนี้

(1) การแบ่งชั้นความรู้

(2) วิธีการสอบความรู้

(3) หลักสูตร

(4) คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ

(5) ค่าธรรมเนียมในการสอบ

(6) การออกประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความสามารถ

(7) รายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับการสอบความรู้

ข้อบังคับนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้”

มาตรา 21 ให้ยกเลิก ความใน มาตรา 282 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2477 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 282 ผู้ใดทำการในเรือใน ตำแหน่งที่กฎข้อบังคับสำหรับ การตรวจเรือกำหนด ให้ต้องมีประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความสามารถ โดยมิได้รับประกาศนียบัตรรับรองความรู้ ความสามารถอันถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือทำการในเรือในขณะที่ ประกาศนียบัตรสิ้นอายุแล้ว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

มาตรา 22 ให้ยกเลิก ความใน มาตรา 284 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 284 ผู้ทำการในเรือ ในตำแหน่งที่กฎข้อบังคับสำหรับ การตรวจเรือกำหนดให้ ต้องมีประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความสามารถต้องเก็บ ประกาศนียบัตรของตนไว้ในเรือเพื่อ ให้เจ้าท่าตรวจดูได้ในขณะที่ทำการ ถ้าเจ้าท่าหรือตัวแทนเจ้าของเรือประสงค์จะเปลี่ยนตัวผู้ทำการในเรือลำใด ให้ เจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของเรือนำใบอนุญาตให้เรือลำนั้นพร้อมทั้งประกาศนียบัตรของผู้ที่จะทำ การในเรือลำนั้นไปให้เจ้าพนักงานออกใบอนุญาตบันทึกการเปลี่ยนตัวผู้ทำการในเรือไว้ในใบ อนุญาตใช้เรือ ณ ที่ทำการเจ้าท่าท้องถิ่นที่เรือนั้นขึ้นทะเบียน ภายในกำหนดสิบห้าวัน”

มาตรา 23 ให้ยกเลิก ความใน มาตรา 290 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำ ไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2477 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 290 ผู้ใดกระทำความผิด ดังที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้และ ความผิดนั้นมิได้มีบท กำหนดโทษไว้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท”

มาตรา 24 ใน ระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวง กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ ข้อบังคับหรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ให้นำ กฎกระทรวงกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ ข้อบังคับหรือประกาศที่ใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 25 ให้รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

 พลเอก ป. ติณสูลานนท์

นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือโดยที่ประเทศไทยกำลัง ดำเนินการเพื่อเข้าเป็นภาคีอยู่สัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1960 แต่กฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยยังมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่ สอดคล้องกับอนุสัญญาดังกล่าว ประกอบกับบทบัญญัติบาง มาตรา ในพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย เพื่ออนุมัติการให้เป็นไปตามอนุสัญญาดังกล่าวข้างต้น และเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องพระราชบัญญัตินี้
(ร.จ. เล่ม 99 ตอนที่ 88 หน้า 1 25 มิถุนายน 2525)

Share the Post: