marinerthai

พระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2535

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

 ให้ไว้ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2535

 เป็นปีที่ 47 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศ ว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2535

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2525 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 24 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 มาตรา 20 มาตรา 21 มาตรา 22 หรือ มาตรา 23 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงห้าพันบาท”

มาตรา 4 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 38จัตวา แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 10)

” มาตรา 38จัตวา นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือลำใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 38 วรรคหนึ่ง หรือ มาตรา 38ตรี ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สามพันบาทถึงสามหมื่นบาท และปรับรายวันวันละหนึ่งพันบาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง”

มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของ มาตรา 46ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 50 ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2515 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“เจ้าของหรือผู้ครอบครองคนใดใช้เอง หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้ทำรับส่งคนโดยสาร ทำรับส่งสินค้า ท่าเทียบเรือ หรือแพ ซึ่งเจ้าท่า มีคำสั่งห้ามใช้ และยังไม่ได้เพิกถอนคำสั่งนั้น ต้องระวางโทษปรับ ตั้งแต่สามพันบาทถึงสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันละหนึ่งพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง”

มาตรา 6 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
” มาตรา 51 นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือหรือแพผู้ใด ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 37 มาตรา 39 มาตรา 42 มาตรา 44 มาตรา 45 มาตรา 46 มาตรา 47 มาตรา 48 หรือ มาตรา 49 ถ้าเป็น เรือกำปั่นต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันวันละห้าร้อยบาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องถ้าเป็นเรือเล็กหรือแพ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท และปรับเป็นรายวันวันละห้าสิบบาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง”

มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในวรรคสองและวรรคสามของ มาตรา 52ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือผู้ใดฝ่าฝืนหรือ ไม่ปฏิบัติตามประกาศกำหนดทางเดินเรือหรือประกาศ ควบคุมการเดินเรือตามวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงห้าพันบาท และให้เจ้าท่า มีอำนาจสั่งยึดประกาศนียบัตรควบคุมเรือมีกำหนดไม่เกินหกเดือน

นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือที่ถูกยึดประกาศนียบัตรควบคุม เรือตามวรรคสองมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงคมนาคมภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งคำชี้ขาดของรัฐมนตรีเป็นที่สุด แต่ ในระหว่างที่รัฐมนตรียังมิได้ชี้ขาด คำสั่งนั้นมีผลบังคับได้”

มาตรา 8 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 52ตรี แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 52ตรี นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือซึ่ง ถูกยึดประกาศนียบัตรควบคุมเรือผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ ในระหว่างที่ประกาศนียบัตรควบคุมเรือถูกยึดตาม มาตรา 52ทวิ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท”

มาตรา 9 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธ ศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 54 นายเรือหรือ ผู้ที่ควบคุมเรือผู้ใด ฝ่าฝืน มาตรา 53 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาท ถึงห้าพันบาท”

มาตรา 10 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทยบ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 56 นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 55 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงห้าพันบาท”

มาตรา 11 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 60 นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือผู้ ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 57 มาตรา 58 หรือ มาตรา 59 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงห้าพันบาท”

มาตรา 12 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 67 นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 62 มาตรา 63 มาตรา 64 มาตรา 65 หรือ มาตรา 66 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงห้าพันบาท”

มาตรา 13 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 69 นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 68 หรือข้อบังคับที่ออก ตาม มาตรา 68 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงห้าพันบาท”

มาตรา 14 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 75 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบติตาม มาตรา 70 มาตรา 71 มาตรา 72 มาตรา 73 หรือ มาตรา 74 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท”

มาตรา 15 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 90 และ มาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 90 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าท่า หรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ตาม มาตรา 89 ต้องระวางโทษปรับเป็นรายวันวันละหนึ่งร้อยบาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องและให้เจ้าท่าหรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ตาม มาตรา 89 บังคับให้รื้อถอนแพคนอยู่ หรือเรือนที่ปักเสาลงในชายฝั่งน้ำโดย4 ให้ผู้เป็น เจ้าของเสียค่ารื้อถอนนั้นเอง

ในกรณีที่เจ้าของไม่รื้อถอนภายในกำหนดเวลาที่ เจ้าท่าหรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ตาม มาตรา 89 กำหนด ให้เจ้าท่าร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่ง ให้เจ้าท่าเป็นผู้จัดการให้มีการรื้อถอน

ในกรณีที่เจ้าท่าเป็นผู้จัดการให้มีการรื้อถอนตามคำสั่งศาลตามวรรคสอง ให้เจ้าท่าใช้ความระมัดระวังตามควรแก่พฤติการณ์ โดยเจ้าของจะเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากเจ้าท่าไม่ได้ และ เจ้าของต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน

ในกรณีที่เจ้าของไม่ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายตามวรรคสาม ภายในระยะเวลาที่เจ้าท่ากำหนดตามควรแก่ กรณี ให้เจ้าท่าโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมนำวัสดุที่ถูกรื้อถอน รวมทั้งสิ่งของ ที่ขนออกจากแพคนอยู่หรือเรือนที่ปักเสาลงในชายฝั่งส่วนที่มีการรื้อถอนออกขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธี อื่น เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่นนั้นให้นำไปชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เจ้าท่าได้จ่ายไปในการจัดการรื้อถอน และถ้ามีเงินเหลือจากการชดใช้ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ให้เจ้าท่าเก็บรักษาเงินนั้นไว้ ถ้าเจ้าของมิได้เรียกร้องเอาภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เจ้าท่าได้เก็บรักษาไว้ ให้ตกเป็นของแผ่นดิน

” มาตรา 91 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 81 มาตรา 82 มาตรา 83 หรือ มาตรา 84 ต้อง ระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงห้าร้อยบาทถึงห้าพันบาท”

มาตรา 16 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 95 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 92 มาตรา 93 หรือ มาตรา 94 ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท”

มาตรา 17 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 98 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 98 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 96 หรือ มาตรา 97 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่ง หมื่นบาท”

มาตรา 18 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของ มาตรา 101 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 50 ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2515 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 101 เรือที่จะเข้าเทียบหรือจอดยังท่า นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือต้องใช้ความเร็วต่ำและ ด้วยความระมัดระวัง เรือที่เดินอยู่ในแม่น้ำหรือลำคลอง ต้องใช้ความเร็วไม่เกินอัตราที่เจ้าท่ากำหนด และห้ามมิให้แล่นตัดหน้าเรือกลที่กำลังเดินขึ้นล่องอยู่ในระยะสองร้อยเมตร ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงห้าพันบาท และให้เจ้าท่ามีอำนาจสั่งยึดใบอนุญาตใช้เรือหรือ ประกาศนียบัตรควบคุมเรือมีกำหนดไม่เกินหกเดือน”

มาตรา 19 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 103 นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือผู้ใด ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 99 มาตรา 100 หรือ มาตรา 102 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองร้อยบาทถึงสองพันบาท”

มาตรา 20 พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 110 นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือผู้ใด ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 104 มาตรา 105 มาตรา 106 มาตรา 107 มาตรา 108 หรือ มาตรา 109 ต้องระรางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ ปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

มาตรา 21 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 112 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 112 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 111 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงห้าพันบาท”

มาตรา 22 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 116 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 113 มาตรา 114 หรือ มาตรา 115 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท และปรับเป็นรายรายวันวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะ ปฏิบัติให้ถูกต้อง และเจ้าท่าหรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จะสั่งให้รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายทุ่นหรือเครื่อง สำหรับผูกจอดเรือนั้นด้วยก็ได้”

มาตรา 23 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิบัติฉบับที่ 50 ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2515 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 117 ห้ามมิให้ผู้ใดปลูกสร้างอาคาร หรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำเข้าไปเหนือน้ำ ในน้ำและใต้น้ำ ของแม่น้า ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ อันเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชนใช้ ประโยชน์ร่วมกัน หรือทะเลภายในน่านน้ำไทยหรือบนชายหาดของทะเลดังกล่าว เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากเจ้าท่า หลักเกณฑ์และวิธีการในการอนุญาติให้เป็นไป ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงโดยกฎกระทรวงดังกล่าว จะต้องระบุลักษณะของอาคารและการล่วงล้ำที่พึงอนุญาตได้ไว้ให้ ชัดแจ้งพร้อมทั้งระยะเวลาที่จะต้อง พิจารณาอนุญาตให้แล้วเสร็จด้วย เมื่อผู้ขออนุญาติยื่นคำขอถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและลักษณะที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ตามวรรคสองแล้ว เจ้าท่าต้องอนุญาตภายในระยะเวลาที่กำหนดใน กฎกระทรวงดังกล่าว”

มาตรา 24 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น มาตรา 117ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456

” มาตรา 117ทวิ ผู้รับอนุญาติปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดตาม มาตรา 117 ต้องเสียค่าตอบแทน เป็นรายปี ตามวิธีการและอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าตารางเมตรละห้าสิบบาท และถ้าเป็นอาคารหรือสิ่งอื่นใดซึ่งมีลักษณะหรือวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจให้เสียเป็น สองเท่าของอัตราดังกล่าว ในกรณีที่อาคารหรือสิ่งอื่นใดดังกล่าวถูกปลูกสร้างขึ้นโดยมิได้รับอนุญาต หรือไม่เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาตให้เสียค่าตอบแทนเป็นสามเท่าของอัตราดังกล่าว การกำหนดค่าตอบแทนตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึง สภาพของแต่ละท้องที่และประโยชน์ที่ผู้ปลูกสร้าง หรือผู้ครอบครองพึงได้รับ ค่าตอบแทนที่เก็บได้ตามวรรคหนึ่ง ให้ตกเป็นของ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นซึ่งมีกฎหมายจัดตั้งขึ้นแล้วแต่ กรณี ที่อาคารหรือสิ่งอื่นใดนั้นอยู่ในเขต ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร จะออกกฎกระทรวงยกเว้น หรือลดหย่อนค่าตอบแทนให้หน่วยงานหรือบุคคลใดก็ได้”

มาตรา 25 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 50 ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2515 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 118 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 117 หรือผู้ใดได้รับอนุญาตตาม มาตรา 117 แล้วปลูกสร้าง อาคารหรือสิ่งอื่นใดไม่เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษปรับโดยคำนวณตามพื้นที่ของอาคารหรือ สิ่งอื่นใดในอัตราไม่น้อยกว่าตารางเมตรละห้าร้อยบาท แต่ไม่เกินตารางเมตรละหนึ่งหมื่นบาท”

มาตรา 26 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น มาตรา 118ทวิ และ มาตรา 118ตรี แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456

” มาตรา 118ทวิ ในกรณีที่มีการฝ่าฝืน มาตรา 117 หรือผู้รับอนุญาตตา มาตรา 117 ปลูกสร้าง อาคารหรือสิ่งอื่นใดไม่เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต ให้เจ้าท่ามีคำสั่งเป็นหนังสือแจ้งให้เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองอาคารหรือสิ่งอื่นใดดังกล่าวรื้อถอนหรือแก้ไขอาคารหรือสิ่ง อื่นใดนั้นให้เสร็จสิ้นโดยถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในกรณีที่ไม่ปรากฏตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ให้เจ้าท่าปิดคำสั่งไว้ ณ อาคารหรือสิ่งใดนั้นและจะห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองนั้นใช้หรือยินยอม ให้ผู้ใดใช้อาคารหรือสิ่งอื่นใดนั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนจนกว่าจะได้รื้อถอนหรือแก้ไขเสร็จด้วยก็ได้ ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าท่าตามวรรคหนึ่ง หรือในกรณีที่ไม่ปรากฏตัวเจ้าของหรือ ผู้ครอบครอง และเจ้าท่าได้ปิดคำสั่งไว้ ณ อาคารหรือสิ่งอื่นใดนั้นครบสิบห้าวันแล้วให้เจ้าท่าร้องขอต่อ ศาลเพื่อมีคำสั่งให้มีการรื้อถอนอาคารหรือสิ่งอื่นใดนั้น ถ้าข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่ามีการฝ่าฝืน มาตรา 117 จริง ในกรณีที่ปรากฏตัวเจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคารหรือสิ่งอื่นใด ให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองเป็นผู้รื้อถอน ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่รื้อถอนตามกำหนดเวลาในคำสั่งศาล หรือในกรณีทีไม่ปรากฏตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าท่าเป็นผู้จัดการให้มี การรื้อถอน ในกรณีที่เจ้าท่าเป็นผู้จัดการให้มีการรื้อถอน ตามคำสั่งศาลตามวรรคสามให้เจ้าท่าใช้ความระมัดระวังตามควรแก่พฤติการณ์ โดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสิ่ง อื่นใดจะเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากเจ้าท่าไม่ได้ และเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสิ่งอื่นใดต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการนั้น ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือ สิ่งอื่นใดไม่ยอมใช้ค่าใช้จ่ายตามวรรคสี่ภายใน ระยะเวลาที่เจ้าที่กำหนดตามควรแก่กรณี หรือในกรณีที่ไม่ปรากฏตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้เจ้าท่า โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นำวัสดุที่ถูกรื้อถอนรวมทั้งสิ่งของที่ขนออกจาก อาคารหรือสิ่งอื่นใดส่วนที่มีการรื้อถอนออกขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่น เงินที่ได้จากการ ขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่นให้นำไปชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เจ้าท่าได้จ่ายไปในการจัดการรื้อถอนและค่าตอบแทนตาม มาตรา 118 และถ้ามีเงินเหลือจากการชดใช้ค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้เจ้าท่าเก็บรักษาไว้ เพื่อคืนให้กับเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ในกรณีที่ไม่ปรากฏตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครอง หรือเจ้าของหรือ ผู้ครอบครองไม่มารับคืนภายในหนึ่งปีให้ตกเป็นของแผ่นดิน ในกรณีที่เจ้าท่าจะดำเนินการตามวรรคหนึ่ง และอาคารหรือสิ่งอื่นใดดังกล่าวมีลักษณะซึ่งอาจอนุญาต ได้และเจ้าของหรือผู้ครอบครองยอมชำระค่าปรับตามที่เจ้าท่า กำหนดตามอัตราใน มาตรา 118 แล้ว เจ้าท่าจะออกใบอนุญาตให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองก็ได้และเมื่อ ได้รับอนุญาตแล้วให้เสียค่าตอบแทนเป็น สองเท่าของ มาตรา 117ทวิ

” มาตรา 118ตรี ในกรณีที่ไม่ชำระค่าตอบแทน ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 117ทวิ ให้เสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของเงิน ค่าตอบแทนที่ค้างชำระ”

มาตรา 27 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้าไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิบัติฉบับที่ 50 ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2515 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 119 ห้ามมิให้ผู้ใดเท ทิ้ง หรือทำด้วยประการใด ๆ ให้หิน กรวด ทราย ดิน โคลน อับเฉา สิ่งของหรือสิ่งปฏิกูลใด ๆ ยกเว้นน้ำมันและเคมีภัณฑ์ลงในแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำหรือ ทะเลสาบ อันเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือทะเลภายในน่านน้ำไทย อันจะเป็นเหตุให้เกิดการตื้นเขิน ตกตะกอนหรือสกปรก เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าท่าผู้ใด ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และต้อง ชดใช้เงินค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียในการขจัดสิ่งเหล่านั้นด้วย”

มาตรา 28 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น มาตรา 119ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456

” มาตรา 119ทวิ ห้ามมิให้ผู้ใดเท ทิ้ง หรือทำด้วยประการใด ๆ ให้น้ำมันและเคมีภัณฑ์หรือสิ่งใด ๆ ลงในแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ หรือทะเลสาบอันเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชน ใช้ประโยชน์ร่วมกัน หรือทะเลภายในน่านน้ำไทยอันอาจจะเป็นเหตุให้เกิดเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตหรือต่อสิ่งแวดล้อมหรือเป็น อันตรายต่อการเดินเรือในแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำหรือทะเลสาบดังกล่าว ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ และต้องชดใช้เงินค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปในการแก้ไขสิ่งเป็นพิษหรือ ชดใช้ค่าเสียหายเหล่านั้นด้วย”

มาตรา 29 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 50 ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2515 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 120 ให้เจ้าท่ามีหน้าที่ดูแล รักษาและขุดลอกร่องน้ำ ทางเรือเดิน แม่น้า ลำคลอง ทะเลสาบและทะเลภายในน่านน้ำไทย ห้ามมิให้ผู้ใดขุดลอก แก้ไข หรือทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเปลี่ยนแปลงร่องน้ำทางเรือเดิน แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบหรือทะเลภายในน่านน้ำไทย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าท่าผู้ใดฝ่าฝืนต้อง ระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาทและให้เจ้าท่าสั่งให้หยุดกระทำการดังกล่าว”

มาตรา 30 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 126 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 126 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 122 มาตรา 123 มาตรา 124 หรือ มาตรา 125 ต้อง ระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท”

มาตรา 31 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 130 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 130 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 127 มาตรา 128 หรือ มาตรา 129 ต้องระวางโทษปรับ ตั้งแต่หนึ่งร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท”

มาตรา 32 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 152 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 152 ผู้ใดเป็นผู้ควบคุมเรือกำปั่นหรือ เรือลำใดที่มีใบอนุญาตหรือยังไม่มีใบอนุญาตก็ดี ถ้า และผู้นั้นผู้รู้อยู่แล้วนำเอาใบอนุญาตสำหรับเรือลำอื่นออกแสดงและใช้เป็นใบอนุญาตสำหรับเรือลำที่ตน เป็นผู้ควบคุม หรือผู้ใดจัดหาใบอนุญาตมาเพื่อใช้ในการกระทำความผิดดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

มาตรา 33 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 155 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 155 ห้ามมิให้เรือกลไฟหรือเรือยนต์ ลำใดบรรทุกผู้โดยสารมากกว่าจำนวนที่แจ้งใน ใบอนุญาตสำหรับเรือลำนั้น”

มาตรา 34 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 162 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 161 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 145 มาตรา 147 มาตรา 150 มาตรา 151 มาตรา 156 มาตรา 157 มาตรา 159 มาตรา 162ทวิ มาตรา 162ตรี มาตรา 166 มาตรา 167 มาตรา 168 มาตรา 171 หรือ มาตรา 173 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท”

มาตรา 35 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น มาตรา 162ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456

” มาตรา 161ทวิ นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือกลไฟ หรือเรือยนต์ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 155 ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่ หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”
 

มาตรา 36 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ มาตรา 170 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2525 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ผู้ใดใช้เรือที่เจ้าท่าสั่งห้ามใช้ตามวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท”

มาตรา 37 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 175 และ มาตรา 176 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2525 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 175 ผู้ใดใช้เรือผิดจากเงื่อนไขหรือ ข้อกำหนดในใบอนุญาตใช้เรือต้องระวางโทษปรับ ตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท

” มาตรา 176 เรือลำใด บรรทุกเกินกว่าที่กำหนดใน ใบสำคัญรับรองแนวน้ำบรรทุก เจ้าท่ามีอำนาจที่ จะกักเรือลำนั้นไว้ และสั่งให้นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือจัดการให้เรือลำนั้นบรรทุกให้ถูกต้องภายใน ระยะเวลาที่กำหนด ถ้านายเรือหรือผู้ควบคุมเรือผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ของเจ้าท่าตามสวรรคหนึ่งต้องระวางโทษปรับ ตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท”

มาตรา 38 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 190 มาตรา 191 มาตรา 192 มาตรา 193 มาตรา 194 มาตรา 195 และ มาตรา 196 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 190 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และ วิธีการเกี่ยวกับการบรรจุหีบห่อ การจัดเก็บ การจัดแยก การจัดทำและแสดงเครื่องหมาย การจัดให้มีเอกสารที่จำเป็น และการขนถ่ายสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ในการขนส่งตามหมวดนี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วให้ใช้บังคับได้

” มาตรา 191 การขนถ่ายสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ จากเรือลำหนึ่งไปยังเรืออีกลำหนึ่ง การขนถ่ายจากเรือขึ้นบก หรือการขนถ่ายจากบกลงเรือ นายเรือหรือตัวแทนเจ้าของเรือต้องแจ้งให้ เจ้าท่าทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมงก่อนการขนถ่าย และห้ามมิให้ขนถ่ายจนกว่าจะได้รับอนุญาต จากเจ้าท่า ให้อธิบดีกรมเจ้าท่าโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่า การกระทรวงคมนาคมมีอำนายประกาศใน ราชกิจจานุเบกษายกเว้นเรือชนิดใดหรือการขนถ่ายประเภทใดที่จะไม่ต้อง อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติตามวรรคหนึ่งได้

” มาตรา 192 ให้อธิบดีกรมเจ้าท่าโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่า การกระทรวงคมนาคมมีอำนาจประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาให้เรือชนิดหนึ่งชนิดใดที่บรรทุกสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ต้องชักธงหรือ แสดงเครื่องหมายหรือต้องให้สัญญาณใด ๆ ตามที่กำหนดได้

” มาตรา 193 ในการส่งสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตราย ขึ้นได้โดยทางเรือผู้ส่งต้องจัดให้มีฉลากแสดง สภาพอันตรายของสิ่งของนั้นให้ชัดเจนที่หีบห่อ และต้องแจ้งเป็นหนังสือเกี่ยวกับสภาพอันตรายของสิ่งของ นั้น ตลอดจนชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งให้นายเรือทราบในขณะหรือก่อนการนำสิ่งของนั้นขึ้นเรือ ห้ามมิให้ผู้ใดส่งหรือรับขนโดยทางเรือซึ่งสิ่งของที่ อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ที่มิได้มีการปฏิบัติให้ ถูกต้องตามวรรคหนึ่ง หรือมีการปฏิบัติตามแต่มีข้อความอันเป็นเท็จ

” มาตรา 194 นายเรือต้องตรวจสอบอย่างระมัดระวัง ตามควรแก่กรณีมิให้มีการนำสิ่งของที่อาจทำให้ เกิดอันตรายขึ้นได้ขึ้นบนเรือโดยฝ่าฝืนกฎกระทรวงที่ออกตามความใน มารตรา 190
ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการลักลอบนำสิ่งของ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ขึ้นบนเรือ นายเรืออาจปฏิเสธที่จะรับหีบห่อนั้นได้ เว้นแต่เจ้าของหรือผู้ครอบครองจะให้เปิดหีบห่อเพื่อตรวจดู

” มาตรา 195 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 192 หรือ มาตรา 194 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

” มาตรา 196 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 190 มาตรา 191 หรือ มาตรา 193 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

มาตรา 39 ให้ยกเลิก มาตรา 198 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456

มาตรา 40 ให้ยกเลิก มาตรา 198 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำสยาม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477

มาตรา 41 ให้ยกเลิก มาตรา 201 มาตรา 202 และ มาตรา 203 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456

มาตรา 42 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 204 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 204 ผู้ใดเท ทิ้ง หรือปล่อยให้น้ำมันปิโตรเลียมหรือน้ำมันที่ปนกับน้ำรั่วไหลด้วย ประการใด ๆ ลงในเขตท่า แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ หรือทะเลภายในน่านน้ำไทย ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

มาตรา 43 ให้ยกเลิก มาตรา 207 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456

มาตรา 44 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 208 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 208 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 199 มาตรา 200 มาตรา 205 หรือ มาตรา 206 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
 

มาตรา 45 ให้ยกเลิกความซึ่งเป็นชื่อของหมวดที่ 3 ในภาคที่ 3 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“หมวดที่ 3 ข้อบังคับว่าด้วยการทอดสมอใกล้เคียง หรือเกาสมอข้ามสายท่อหรือสิ่งก่อสร้างที่ทอดใต้น้ำ”

มาตรา 46 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 209 และ มาตรา 210 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 209 สายโทรเลข สายโทรศัพท์ สายไฟฟ้าหรือสายอื่นใด หรือท่อหรือสิ่งก่อสร้างที่ทอดใต้น้ำ ในแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ อันเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชนให้ ประโยชน์ร่วมกัน หรือทะเลภายในน่านน้ำไทย ให้เจ้าท่าจัดให้มีเครื่องหมายแสดงไว้ ณที่ซึ่งสายท่อหรือ สิ่งก่อสร้างนั้นทอดลงน้ำ เครื่องหมายนั้นให้ทำเป็นเสาสูงมีป้ายใหญ่สีขาวรูปกลมติดที่ปลายเสในกลาง ป้ายมีข้อความเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษว่า “สาย ท่อหรือสิ่งก่อสร้างใต้น้ำ ห้ามทอดสมอและเกา สมอ” และในกรณีที่เห็นสมควรเจ้าท่าจะจัดให้มีการวางทุ่นหรือเครื่องหมายอื่นใดแสดงไว้ด้วยก็ได้ ห้ามมิให้เรือลำใดทอดสมอภายในระยะข้างละหนึ่ง ร้อยเมตรนับจากที่ซึ่งสายท่อหรือสิ่งก่อสร้างใต้น้ำ ทอดอยู่ หรือเกาสมอข้ามสาย ท่อหรือสิ่งก่อสร้างที่ทอดใต้น้ำนั้น

” มาตรา 210 นายเรือหรือผู้ที่ ควบคุมเรือลำใดทอดสมอเรือ ภายในเขตที่ต้องห้ามตามความในหมวดนี้ หรือเกาสมอ หรือลากแห อวน เครื่องจับสัตว์น้ำ หรือเครื่องมือใด ๆ ข้ามเขตเหล่านั้นต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่สามร้อยบาทถึงสามพันบาท และถ้าการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่สาย ท่อ หรือสิ่งก่อสร้างใด ๆ ที่ทอดใต้น้ำด้วย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่หนึ่งพัน บาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และต้องขอใช้ค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายในการซ่อมสายท่อหรือสิ่ง ก่อสร้างใต้น้ำที่เสียหายเนื่องจากการที่ได้ทอดสมอหรือเกาสมอ หรือลากของข้ามสาย ท่อหรือสิ่ง ก่อสร้างนั้นด้วย ในระหว่างการดำเนินคดีเกี่ยวกับการกระทำผิดตามวรรคหนึ่ง เจ้าท่ามีอำนาจที่จะกักเรือที่ เกี่ยวข้องไว้ได้ จนกว่าจะมีประกันมาวางสำหรับเงินค่าปรับหรือค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายใน การซ่อมแซมตามที่เจ้าท่ากำหนดตามควรแก่กรณี”

มาตรา 47 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 216 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 216 นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือผู้ใดพยายาม จะนำเรือไปจากน่านน้ำไทย โดยไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมตาม มาตรา 212 หรือไม่ยอมให้วัดขนาดเรือที่ตนเป็นผู้ควบคุมเพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงห้าพันบาท”

มาตรา 48 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 248 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 248 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 218 มาตรา 220 มาตรา 222 มาตรา 223 มาตรา 225 มาตรา 226 มาตรา 227 มาตรา 229 มาตรา 231 มาตรา 233 มาตรา 234 มาตรา 235 มาตรา 236 มาตรา 237 มาตรา 238 มาตรา 240 มาตรา 241 มาตรา 243 หรือ มาตรา 244 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท”

มาตรา 49 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 282 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2525 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 282 ผู้ใดทำการในเรือในตำแหน่งที่ กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือกำหนดให้ต้องมี ประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความสามารถ โดยมิได้รับประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความสามารถอัน ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาท ถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าทำการในเรือในขณะที่ประกาศนียบัตรสิ้นอายุแล้ว ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองพันบาท”

มาตรา 50 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 283 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 283 ผู้ใดนำประกาศนียบัตรของผู้อื่น มาใช้หรือแสดงว่าเป็นประกาศนียบัตรของตนหรือผู้ใด จัดหาประกาศนียบัตรมาเพื่อให้ผู้อื่นกระทำการดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับตั้งแต่ สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

มาตรา 51 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 290 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2525 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 290 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 284 มาตรา 285 มาตรา 287 มาตรา 288 หรือ มาตรา 289 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ร้อยบาท ถึงห้าพันบาท”

มาตรา 52 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 294 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 294 ผู้ใดถูเจ้าท่ายึดหรือเรียก คืนประกาศนียบัตรหรือใบอนุญาตอย่างใดตามพระราชบัญญัติ นี้ และสั่งให้นำประกาศนียบัตรหรือใบอนุญาตนั้นส่งเจ้าท่าถ้าไม่ส่งภายในเวลาที่เจ้าท่ากำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท”

มาตรา 53 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 297 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 297 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ของเจ้าท่าหรือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงห้าพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าท่าหรือพนักงานใน การปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการต่อสู้หรือขัดขวางนั้นกระทำโดยใช้กำลัง ประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

มาตรา 54 ให้ยกเลิกความใน (1) ของ มาตรา 310 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“(1) ถ้ามีความผิดอย่างใดต่อกฎข้อบังคับ สำหรับป้องกันเหตุเรือโดนกันเกิดขึ้นเพราะความ ละเมิดของนายเรือ ผู้ที่ควบคุมเรือหรือเจ้าของเรือผู้ใด อันเป็นละเมิดที่กระทำด้วยความจงใจ นายเรือ ผู้ที่ควบคุมเรือ หรือเจ้าของเรือผู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่หนึ่ง พันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

มาตรา 55 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของ มาตรา 312 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือผู้ใดละเลยหรือ ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติในมาตรานี้โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ และให้เจ้าท่ามีอำนาจสั่งงดใช้ประกาศนียบัตรสำหรับทำการในหน้าที่เช่นนั้น มีกำหนดไม่เกิน สองปี หรือสั่งห้ามใช้ประกาศนียบัตรนั้นตลอดไปก็ได้”

มาตรา 56 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของ มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2510 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“เรือใดที่ถูกสั่งงดการเดินเรือ หรือถูกยึด ใบอนุญาตแล้วยังขืนเดิน หรือเรือใดกระทำการ รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร หรือสินค้าหรือจูงเรือเป็นการประจำทางโดยมิได้รับใบอนุญาตนายเรือหรือผู้ที่ ควบคุมเรือ หรือเจ้าของเรือหรือเจ้าของกิจการเดินเรือต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่ง หมื่นบาท”

มาตรา 57 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไข พิ่มเติม พุทธศักราช 2477 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2510 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 13 บรรดาความผิดตามกฎหมาย ว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยที่มีโทษปรับสถานเดียว ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ให้เจ้าท่ามีอำนาจเปรียบเทียบผู้ต้องหาได้เมื่อผู้เสียหายยินยอมและผู้ต้องหาได้ ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของเจ้าท่าแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา”

มาตรา 58 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 13 ผู้นำร่องคนใดทำการนำร่องนอก เหนือใบอนุญาตหรือโดยไม่ได้รับใบอนุญาตทำการ นำร่องในระหว่างที่ใบอนุญาตถูกเรียกคืน ถูกงดใช้หรือถูกยึด หรือไม่ยอมไปทำการนำร่องเรือลำใดลำ หนึ่งที่ได้ให้สัญญาณขอให้ตนไปทำการนำร่องโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันสมควรหรือละทิ้งการนำร่องไปกลางคัน จากเรือลำใดโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือโดยนายเรือไม่ยินยอมหรือนำเรือหรือวัตถุเครื่องใช้ในการ นำร่องที่เจ้าพนักงานสั่งให้ซ่อมตาม มาตรา 9 มาใช้ก่อนซ่อมแซมเสร็จ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท”

มาตรา 59 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 16 ผู้ใดไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้นำร่อง แสดงว่าเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้นำร่องได้โดยเอา ใบอนุญาตของผู้อื่นออกแสดง หรือโดยใช้เครื่องหมายสัญญาณใด ๆ สำหรับใช้ในการนำร่องเพื่อขอทำ การนำร่อง หรือผู้ใดจัดหาใบอนุญาตหรือเครื่องหมายสัญญาณให้ผู้อื่นใช้เพื่อกระทำการดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

มาตรา 60 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2481 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 50 ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2515 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

” มาตรา 9 ผู้ใดใช้เรือที่มิได้รับใบอนุญาตใช้เรือ หรือใช้เรือที่ใบอนุญาตใช้เรือสิ้นอายุแล้วหรือใช้ เรือผิดไปจากเขตหรือตำบลการเดินเรือที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตใช้เรือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่ง หมื่นบาท และเจ้าท่าจะสั่งยึดใบอนุญาตใช้เรือมีกำหนดไม่เกินหกเดือนด้วยก็ได้ เจ้าของเรือหรือเจ้าของกิจการเดินเรือที่ถูกยึดใบอนุญาต ใช้เรือตามวรรคหนึ่งมีสิทธอุทธรณ์ต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งชี้ขาดของรัฐมนตรีเป็นที่สุด แต่ในระหว่างที่รัฐมนตรียังมิได้ชี้ขาด คำสั่งนั้นมีผลบังคับได้ เรือใดถูกยึดใบอนุญาตใช้เรือแล้วยังขืนเดินหรือกระทำการ นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือ เจ้าของ เรือหรือเจ้าของกิจการเดินเรือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท”

มาตรา 61 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 หรือผู้ใดได้รับอนุญาตตาม มาตรา 117 ดังกล่าวแล้วปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดไม่เป็นไปตามที่ ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้าได้แจ้งให้เจ้าท่าทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและชำระค่าตอบแทนตามกฎกระทรวงซึ่งออกตาม มาตรา 117ทวิ แห่ง พระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงดังกล่าวใช้บังคับแล้วให้พ้นจากความผิด แต่ในกรณีที่อาคารหรือสิ่ง อื่นใดดังกล่าวมีลักษณะหรือสภาพเป็นอันตรายต่อการเดินเรือ หรืออาจทำทางน้ำเปลี่ยนแปลงไป หรือ เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เจ้าท่ามีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอน หรือแก้ไขอาคารหรือ สิ่งอื่นใดนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนดได้และให้นำ มาตรา 118ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ค่าตอบแทนตามวรรคหนึ่ง ให้คิดตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับเป็นต้นไป

มาตรา 62 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

 อานันท์ ปันยารชุน

นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันผู้ได้รับอนุญาตให้ ปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งล่วงล้ำลำน้ำได้ใช้อาคารหรือสิ่งล่วงล้ำลำน้ำนั้นประกอบธุรกิจ สมควรแก้ไข อัตราโทษให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตดังกล่าวต้องชำระค่าตอบแทนเป็นรายปีตาม วิธีการและอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ประกอบกับขณะนี้ประเทศไทยได้พัฒนาไปเป็นประเทศ อุตสาหกรรมมากขึ้นเป็นผลให้มีการนำเคมีภัณฑ์และสิ่งของต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายอย่าง กว้างขวางแก่บุคคล สัตว์ สิ่งของ และสิ่งแวดล้อม สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจของ กรมเจ้าท่าในการควบคุมการขนส่งสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ และเนื่องจากอัตราโทษสำหรับ ผู้กระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยยังไม่เหมาะสมจึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้ (ร.จ. เล่ม 109 ตอนที่ 44 หน้า 16 วันที่ 9 เมษายน 2535)

Share the Post: