marinerthai

พระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2537

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2537

เป็นปีที่ 49 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราช โองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่ง ประเทศไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดย คำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้า ทางเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2537

มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2537/4ก/11/4 กุมภาพันธ์ 2537]

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้

การส่งสินค้าทางเรือ” หมายความว่า การส่งออกหรือการนำเข้า สินค้าโดยทางเรือจากประเทศไทยไปต่างประเทศ หรือจากต่างประเทศ มาประเทศไทย หรือจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนอกราชอาณาจักร และให้ หมายความรวมถึงการใช้บริการด้านอื่นที่เกี่ยวเนื่อง

การขนส่งสินค้าทางเรือ” หมายความว่า การให้บริการในการ ส่งสินค้าทางเรือ

ผู้ส่งสินค้าทางเรือ” หมายความว่า ผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าสินค้าที่ใช้ บริการการขนส่งสินค้าทางเรือ

ผู้ขนส่งสินค้าทางเรือ” หมายความว่า ผู้ประกอบการให้บริการ ในการส่งสินค้าทางเรือไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการเพียงรายเดียว หรือ รวมกันตั้งแต่สองรายขึ้นไป และให้หมายความรวมถึงตัวแทนผู้ขนส่งสินค้า ทางเรือด้วย

สภา” หมายความว่า สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย

ข้อบังคับ” หมายความว่า ข้อบังคับของสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือ แห่งประเทศไทย

สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่ง ประเทศไทย

คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสภาผู้ส่งสินค้า ทางเรือแห่งประเทศไทย

กรรมการ” หมายคว ามว่า กรรมการสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือ แห่งประเทศไทย

พนักงาน” หมายความว่า พนักงานและลูกจ้างของสภาผู้ส่งสินค้า ทางเรือแห่งประเทศไทย

พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติ การตามพระราชบัญญัตินี้

รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งออก กฎกระทรวงและหรือออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด 1 การจัดตั้งสภา

มาตรา 5 ให้จัดตั้งสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยขึ้น มีอำนาจหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ ให้สภาเป็นนิติบุคคล

มาตรา 6 สภามีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

(1) ส่งเสริมและคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ส่งสินค้าทางเรือ

(2) ให้ความร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน เกี่ยวกับการส่งสินค้าทางเรือ

(3) เป็นผู้แทนผู้ส่งสินค้าทางเรือในการปรึกษา เจรจาต่อรองหรือ ทำความตกลงกับผู้ขนส่งสินค้าทางเรือ รวมทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทางเรือ ในเรื่องอัตราค่าระวาง ค่าบริการ ค่าใช้จ่าย ข้อกำหนด หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ในการขนส่งสินค้าทางเรือ

(4) สนับสนุนให้มีการขนส่งสินค้าทางเรือที่มีประสิทธิภาพและ เพียงพอ

(5) จัดหา รวบรวม เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารและ ความรู้เกี่ยวกับการส่งสินค้าทางเรือ

(6) ศึกษา วิจัย และเสนอแนะการแก้ไขปัญหา รวมทั้งการพัฒนา การส่งสินค้าทางเรือ

(7) รับปรึกษาและให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำแก่สมาชิกหรือบุคคลอื่น ในเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งสินค้าทางเรือ และช่วยเหลืออำนวยความสะดวก ต่าง ๆ แก่สมาชิกในการส่งสินค ้าทางเรือ

(8) ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลเพื่อพัฒนาการส่งสินค้า ทางเรือ

(9) ประสานงานและร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้ส่งสินค้า ทางเรือของต่างประเทศ

มาตรา 7 ห้ามสภาทำการใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ประกอบวิสาหกิจ หรือเข้าดำเนินการในการประกอบวิสาหกิจ ของบุคคลใด เข้าถือหุ้น เป็นหุ้นส่วนหรือร่วมทุนในการประกอบวิสาหกิจกับ บุคคลใด เว้นแต่เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสภา ตามมาตรา 6

(2) ดำเนินการด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายการแข่งขัน อันพึงมีตามปกติวิสัยของการประกอบวิสาหกิจ เว้นแต่เป็นการกระทำเพื่อ ปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของประเทศ

(3) ดำเนินการด้วยประการใด ๆ อันอาจเป็นภัยต่อเศรษฐกิจ ความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

(4) ให้กู้ยืมเงินหรือให้เงินแก่สมาชิกหรือบุคคลอื่นใด เว้นแต่ เป็นการให้กู้ยืมเพื่อเป็นการสงเคราะห์พนักงาน หรือครอบครัวของพนักงาน ตามระเบียบ หรือเป็นการให้เพื่อการกุศลสาธารณะ หรือตามหน้าที่ศีลธรรม หรือตามควรแก่อัธยาศัยในสังคม

(5) กีดกันหรือขัดขวางมิให้ผู้ใดซึ่งมีคุณสมบัติที่จะเข้าเป็นสมาชิกได้ ตามพระราชบัญญัติและข้อบังคับเข้าเป็นสมาชิก หรือให้สมาชิกออกจากสภา โดยขัดต่อพระราชบัญญัติหรือข้อบังคับ

(6) เปิดเผยสถิติ เอกสารหรือข้อความอันเกี่ยวกับประโยชน์ส่วน ได้เสีย โดยเฉพาะของสมาชิกซึ่งไม่ประสงค์จะให้เปิดเผย เว้นแต่จะได้รับ ความยินยอมเป็นหนังสือจากสมาชิกผู้นั้น

(7) แบ่งปันผลกำไรหรือรายได้ให้แก่สมาชิก

(8) ดำเนินการทางการเมือง

มาตรา 8 ให้สภามีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร และมี สำนักงานสาขาในจังหวัดอื่นได้ตามความจำเป็น การจัดตั้งสำนักงานสาขาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับ

มาตรา 9 สภาอาจมีรายได้ดังต่อไปนี้

(1) ค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงที่เรียกเก็บจากสมาชิก

(2) ค่าตอบแทนและค่าบริการที่ได้รับจากการให้บริการแก่สมาชิก หรือบุคคลภายนอก

(3) เงินสมทบจากรัฐบาล

(4) เงินและทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้

(5) ดอกเบี้ยและผลประโยชน์อื่นจากทรัพย์สินของสภา

มาตรา 10 ในกรณีที่สภาเห็นว่าอัตราค่าระวาง ค่าบริการ ค่าใช้จ่าย ข้อกำหนดหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ในการขนส่งสินค้าทางเรือที่ผู้ขนส่ง สินค้าทางเรือ หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้า ทางเรือกำหนด มีผลกระทบหรือไม่เป็นธรรมต่อผู้ส่งสินค้าทางเรือโดยส่วนรวม ให้สภาดำเนินการปรึกษาและเจรจาทำความตกลงในเรื่องดังกล่าวกับผู้ขนส่ง สินค้าทางเรือ หน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนนั้น

มาตรา 11 ในกรณีที่เกิดข้อขัดแย้งระหว่างสมาชิกกับผู้ขนส่งสินค้า ทางเรือ และสมาชิกร้องขอให้สภาช่วยเหลือ ถ้าสภาเห็นสมควรจะจัดให้มีการ เจรจาหรือตั้งผู้แทนเข้าร่วมในการเจรจาระหว่างสมาชิกกับผู้ขนส่งสินค้า ทางเรือด้วยก็ได้

มาตรา 12 ห้ามบุคคลใดนอกจากสภาใช้ชื่อเป็นภาษาไทยว่า “สภา ผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย” หรืออักษรต่างประเทศที่หมายความว่า หรืออ่านว่า “สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย”

หมวด 2 สมาชิก กรรมการและพนักงาน

มาตรา 13 สภาประกอบด้วยสมาชิกสองประเภท คือ

(1) สมาชิกสามัญ

(2) สมาชิกสมทบ

มาตรา 14 ผู้ส่งสินค้าทางเรือที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จะต้องเป็นสมาชิกสามัญภายในเก้าสิบวันนับแต่ มีคุณสมบัติครบตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 15 บุคคลผู้มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เป็น ผู้มีสิทธิสมัครเป็นสมาชิกสามัญ

(1) เป็นผู้ส่งสินค้าทางเรือที่เป็นนิติบุคคล

(2) เป็นหอการค้าตามกฎหมายว่าด้วยหอการค้า หรือสมาคมการค้า ตามกฎหมายว่าด้วยสมาคมการค้าที่มีสมาชิกเป็นผู้ส่งสินค้าทางเรือ

(3) เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือเป็น สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ซึ่งเป็นผู้ส่งสินค้าทางเรือ

(4) เป็นสมาคมตัวแทนออกของ

(5) เป็นนิติบุคคลอื่นใดที่มิได้เป็นผู้ขนส่งสินค้าทางเรือซึ ่งมีคุณสมบัติ ตามที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา 16 สมาชิกสมทบของสภาได้แก่บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการ กำหนด ซึ่งมิใช่สมาชิกสามัญและมิได้เป็นผู้ขนส่งสินค้าทางเรือ

มาตรา 17 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า ยี่สิบเอ็ดคน ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากผู้แทนสมาชิกสามัญในการประชุมใหญ่ สภาตามจำนวนและวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ โดยให้มีวาระอยู่ในตำแหน่ง คราวละสองปี ผู้ที่จะเป็นผู้แทนสมาชิกสามัญได้ให้เป็นไปตามข้อบังคับ ในกรณีที่มีการเลือกตั้งกรรมการเพิ่มขึ้น ให้กรรมการซึ่งได้รับการ เลือกตั้งเพิ่มขึ้นนั้นอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่ง ได้รับการเลือกตั้งไว้แล้ว ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งเลือกกรรมการเป็นประธานสภา คนหนึ่งเป็นรองประธานสภาคนหนึ่งหรือหลายคน เป็นเลขาธิการสภาคนหนึ่ง และตำแหน่งอื่นตามที่กำหนดในข้อบังคับ

มาตรา 18 ห้ามผู้แทนสมาชิกสามัญผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้เป็นกรรมการ

(1) มีตำแหน่งหน้าที่หรือมีส่วนได้เสียโดยตรงในธุรกิจของผู้ขนส่ง สินค้าทางเรือหรือธุ รกิจเกี่ยวเนื่องของผู้ขนส่งสินค้าทางเรือ

(2) เป็นพนักงาน

(3) เป็นบุคคลล้มละลายหรือถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

(4) เป็นข้าราชการประจำหรือข้าราชการการเมือง

(5) เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

(6) เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกโดยได้พ้นโทษ มายังไม่ถึงสามปีนับแต่วันพ้นโทษ เว้นแต่ในความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือ ความผิดลหุโทษ

มาตรา 19 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 17 วรรคหนึ่ง กรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(1) ตาย

(2) ลาออก

(3) ที่ประชุมใหญ่สภามีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า สองในสามของจำนวนสมาชิกสามัญที่มาประชุม

(4) พ้นจากการเป็นผู้แทนสมาชิกสามัญ หรือสมาชิกสามัญนั้นพ้นจาก สมาชิกภาพ

(5) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 18

(6) รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีให้พ้นจากตำแหน่งตาม มาตรา 36

มาตรา 20 เมื่อกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาร ะ ให้ คณะกรรมการเลือกผู้แทนสมาชิกสามัญเป็นกรรมการแทนภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่กรรมการผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่วาระของกรรมการผู้นั้น จะเหลือน้อยกว่าเก้าสิบวัน บุคคลซึ่งเข้าเป็นกรรมการแทนตามวรรคหนึ่งให้อยู่ในตำแหน่งได้ เพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน

มาตรา 21 ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งจนเหลือจำนวน น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด ให้กรรมการที่เหลืออยู่ทำการ ในนามของคณะกรรมการต่อไปได้แต่เฉพาะการจัดให้มีการประชุมใหญ่สภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งกรรมการคณะใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่จำนวน กรรมการเหลือน้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ นอกจากกรณีตาม มาตรา 36 ให้คณะกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งยังคงรักษาการในตำแหน่ง เพื่อดำเนินกิจการของสภาต่อไปเท่าที่จำเป็นและจัดให้มีการประชุมใหญ่สภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งกรรมการคณะใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจาก ตำแหน่ง

มาตรา 22 คณะกรรมการมีอำนาจห น้าที่กำหนดนโยบายและ ดำเนินงานของสภาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ออก ข้อบังคับและระเบียบในเรื่องดังต่อไปนี้

(1) ข้อบังคับการรับสมัครการเป็นสมาชิก สิทธิหน้าที่ของสมาชิก วินัย การลงโทษสมาชิกและการพ้นจากสมาชิกภาพ

(2) ข้อบังคับการกำหนดค่าลงทะเบียน ค่าบำรุง ค่าตอบแทน ค่าบริการ และค่าใช้จ่ายที่จะพึงเรียกเก็บจากสมาชิกหรือบุคคลภายนอก

(3) ข้อบังคับการจัดตั้งสำนักงานสาขาตามมาตรา 8

(4) ข้อบังคับการกำหนดจำนวน วิธีการเลือกตั้ง และตำแหน่ง กรรมการตามมาตรา 17

(5) ข้อบังคับการมอบอำนาจของประธานสภาตามมาตรา 26

(6) ข้อบังคับการกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และ เงินบำเหน็จรางวัลพนักงาน การบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน รวมทั้ง ระเบียบวินัย การลงโทษและการร้องทุกข์ของพนักงาน

(7) ระเบียบการดำเนินกิจการของคณะกรรมการ

(8) ระเบียบการประชุมคณะกรรมการและการประชุมใหญ่สภา

(9) ระเบียบการบัญชีและการเงินของสภา

(10) ระเบียบการสงเคราะห์พนักงาน และครอบครัวของบุคคล ดังกล่าว หรือผู้ซึ่งพ้นจากการเป็นพนักงาน

(11) ข้อบังคับหรือระเบียบเรื่องอื่นใดที่จำเป็นต่อการดำเนินกิจการ ของสภา

การกำหนดหรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับใด ๆ ตาม (1) (2) (3) (4) (5) (6) และ (11) ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่สภา และได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีก่อนจึงให้ใช้บังคับได้ ข้อบังคับและระเบียบจะต้องไม่ขัดต่อพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 23 การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมา ประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็น องค์ประชุม ให้ประธานสภาเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานสภาไม่อยู่ใน ที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธานสภาเป็นประธานในที่ประชุม ในกรณีที่มีรองประธานสภาหลายคนอยู่ในที่ประชุม ให้รองประธานสภาตาม ลำดับที่ได้รับเลือกเป็นประธาน ถ้าประธานและรองประธานสภาไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติ หน้าที่ได้ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุ มให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่ง ให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุม ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้ามีการพิจารณาเรื่องใดที่เกี่ยวกับ กรรมการผู้ใด กรรมการผู้นั้นมีสิทธิชี้แจงในเรื่องนั้น แต่ไม่มีสิทธิออกเสียง

มาตรา 24 คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลใดเป็นคณะกรรมการ เฉพาะเรื่องเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการ มอบหมายก็ได้ คณะกรรมการหรือคณะกรรมการเฉพาะเรื่องมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลใด เป็นคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ มอบหมายก็ได้ ให้นำมาตรา 23 มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการเฉพาะ เรื่องและคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม ให้กรรมการเฉพาะเรื่องและอนุกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทน ตามที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา 25 ให้กรรมการได้รับประโยชน์ตอนแทนตามที่ที่ประชุมใหญ่ สภากำหนด

มาตรา 26 ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ประธานสภาเป็น ผู้แทนของสภา ประธานสภาจะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติการแทนเป็นการ เฉพาะเรื่องก็ได้ตามที่กำหนดในข้อบังคับ

หมวด 3 การดำเนินกิจการของสภา

มาตรา 27 ให้คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมใหญ่สภาปีละหนึ่งครั้ง การประชุมเช่นนี้เรียกว่า ประชุมสามัญ การประชุมใหญ่สภาคราวอื่นนอกจากการประชุมตามวรรคหนึ่งเรียกว่า ประชุมวิสามัญ

มาตรา 28 เมื่อมีเหตุจำเป็น คณะกรรมการจะเรียกประชุมวิสามัญ เมื่อใดก็ได้ สมาชิกสามัญซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกสามัญ ทั้งหมดจะทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการให้เรียกประชุมวิสามัญก็ได้ ใน หนังสือร้องขอนั้นต้องระบุว่าประสงค์จะให้เรียกประชุมเพื่อการใด ในกรณีที่สมาชิกสามัญเป็นผู้ร้องขอให้เรียกประชุมวิสามัญตามวรรคสอง ให้คณะกรรมการเรียกประชุมวิสามัญภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ร้องขอ ถ้าคณะกรรมการไม่เรียกประชุมวิสามัญภายในระยะเวลาดังกล่าว สมาชิกตามวรรคสองอาจร้องขอต่อรัฐมนตรีเพื่อสั่งการให้คณะกรรมการจัด ให้มีการประชุมวิสามัญได้

มาตรา 29 ในการประชุมใหญ่สภาต้องมีสมาชิกสามัญมาประชุม ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่า สองร้อยคน จึงจะเป็นองค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุม ให้ถือเสียงข้างมากของสมาชิกสามัญซึ่งมาประชุม สมาชิกสามัญคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียง เท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

มาตรา 30 ในการประชุมใหญ่สภาที่คณะกรรมการเรียกประชุม ถ้าสมาชิกสามัญมาประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้เลื่อนการประชุมนั้นออกไป อีกได้ไม่เกินสามสิบวันและให้ประธานสภาแจ้งวันประชุมครั้งใหม่โดยทำเป็น หนังสือแจ้งไปยังสมาชิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน การประชุมใหญ่สภา ครั้งใหม่นี้ ถ้ามีสมาชิกสามัญมาประชุมน้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิก สามัญทั้งหมด หรือน้อยกว่าสองร้อยคนก็ให้ถือเป็นองค์ประชุมได้แต่ให้ ดำเนินการได้เฉพาะกรณีตามมาตรา 31 และมาตรา 32 เท่านั้น

มาตรา 31 ให้คณะกรรมการจัดให้มีการทำรายงานประจำปีแสดง ผลงานของคณะกรรมการและสภาในปีที่ล่วงมา งบดุลและบัญชีรายได้และ รายจ่ายประจำปี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีรับรองพร้อมทั้งคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย เสนอต่อที่ประชุมสามัญภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน และให้ส่ง สำเนาเอกสารดังกล่าวไปยังรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ที่ประชุม สามัญรับรองแล้ว

มาตรา 32 ผู้สอบบัญชีตามมาตรา 31 นั้น ให้ที่ประชุมใหญ่สภา แต่งตั้งจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี แต่ต้องไม่เป็น กรรมการหรือพนักงาน ให้ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบบัญชี เอกสารและหลักฐานของสภา และขอคำชี้แจงจากกรรมการและพนักงานได้ ให้ผู้สอบบัญชีได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่ที่ประชุมใหญ่สภากำหนด

หมวด 4 การควบคุมของรัฐ

มาตรา 33 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำก ับโดยทั่วไปซึ่งกิจการ ของสภาและเพื่อประโยชน์ในการนี้ให้มีอำนาจ

(1) สั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการ ดำเนินงานของสภา

(2) สั่งเป็นหนังสือให้สภาหรือกรรมการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ กิจการของสภาและจะให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือรายงาน การประชุมของคณะกรรมการด้วยก็ได้

(3) สั่งเป็นหนังสือให้สภาหรือกรรมการกระทำการให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัตินี้ ระงับ หรือแก้ไขการกระทำใด ๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย นโยบาย ของรัฐบาล มติของคณะรัฐมนตรี หรือข้อบังคับ

มาตรา 34 ในการปฏิบัติการตามคำสั่งของรัฐมนตรีตามมาตรา 33 (1) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบเอกสารหรือหลักฐานใน สำนักงานของสภาได้ในระหว่างเวลาทำการ หรือให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องชี้แจง ข้อเท็จจริงแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ร้องขอ ในการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้บุคคลซึ่ง เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร

มาตรา 35 ในการปฏิบัติ การตามมาตรา 34 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ แสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศ กำหนด

มาตรา 36 เมื่อปรากฏว่าสภาหรือกรรมการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ รัฐมนตรี ตามมาตรา 33 หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการผิดวัตถุประสงค์ของ สภาหรือเป็นภัยต่อเศรษฐกิจ ความมั่นคงของประเทศ หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่ง ให้กรรมการทั้งคณะหรือกรรมการคนใดคนหนึ่งพ้นจากตำแหน่ง กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่มีสิทธิเป็นกรรมการอีก เว้นแต่จะพ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันที่รัฐมนตรีมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง

มาตรา 37 ในกรณีที่รัฐมนตรีมีคำสั่งให้กรรมการทั้งคณะพ้นจาก ตำแหน่งตามมาตรา 36 วรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้แทนสมาชิกสามัญ จำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบเอ็ดคนเป็นคณะกรรมการชั่วคราวในวันเดียวกัน และ ให้นำความในมาตรา 17 วรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ให้คณะกรรมการชั่วคราวตามวรรคหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการ ของสภาเพียงเท่าที่จำเป็นและจัดให้มีการประชุมใหญ่สภาเพื่อให้มีการเลือกตั้ง กรรมการคณะใหม่ ตามมาตรา 17 ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีมีคำสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการชั่วคราว เมื่อคณะกรรมการคณะใหม่เข้ารับหน้าที่แล้ว ให้คณะกรรมการชั่วคราว ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่ง

หมวด 5 บทกำหนดโทษ

มาตรา 38 สภากระทำการฝ่าฝืนมาตรา 7 ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา 39 ในกรณีที่สภากระทำความผิดและถูกลงโทษตาม พระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่ากรรมการทุกคนเป็นผู้กระทำความผิดด้วย และต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็น เป็นใจกับกรรมการอื่น หรือได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดความผิด นั้นแล้ว

มาตรา 40 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 12 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละ สองพันบาทจนกว ่าจะเลิกใช้

มาตรา 41 ผู้ส่งสินค้าทางเรือตามมาตรา 14 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 14 ต้องระวางโทษปรับไม่เป็นหนึ่งหมื่นบาท และปรับอีกวันละ สองร้อยบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

มาตรา 42 ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ชี้แจง หรือไม่อำนวยความสะดวก ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการตามมาตรา 34 ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินสองพันบาท

หมวด 6 บทเฉพาะกาล

มาตรา 43 ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรมีจำนวนไม่น้อยกว่าสิบเอ็ดคนเป็น คณะกรรมการก่อตั้ง เพื่อทำหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 44

มาตรา 44 ให้คณะกรรมการก่อตั้งออกระเบียบชั่วคราวว่าด้วย การรับสมัครสมาชิกและดำเนินการรับสมัครสมาชิกภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ ได้รับการแต่งตั้ง เมื่อคณะกรรมการก่อตั้งตามวรรคหนึ่งได้รับสมัครสมาชิกมีจำนวน ไม่น้อยกว่าห ้าเท่าของจำนวนคณะกรรมการก่อตั้งแล้ว ให้จัดให้มีการประชุม สมาชิกภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับสมัครสมาชิกครบจำนวนดังกล่าว เพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ออกข้อบังคับการกำหนดจำนวน วิธีการเลือกตั้ง และตำแหน่ง กรรมการตามมาตรา 22 (4)

(2) เลือกตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 17

(3) ปฏิบัติการอื่นเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

คณะกรรมการก่อตั้งพ้นจากหน้าที่เมื่อได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการ ตามวรรคสอง (2) แล้ว ให้นำมาตรา 23 มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการก่อตั้ง โดยอนุโลม

มาตรา 45 คณะกรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งตามมาตรา 44 วรรคสอง ต้องจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเลือกตั้ง เพื่อเลือกประธานสภา รองประธานสภา เลขาธิการสภา และตำแหน่งอื่นตามมาตรา 17 วรรคสี่ และจัดให้มีการประชุมใหญ่สภาครั้งแรก ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับเลือกตั้ง ในการประชุมใหญ่สภาตามวรรคหน ึ่ง ให้พิจารณาอนุมัติค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินการตามมาตรา 44 ด้วย

มาตรา 46 การจัดตั้งและการบริหารสภาในระยะแรกให้มีการ สนับสนุนด้านการเงินจากงบประมาณแผ่นดินและเงินกองทุนส่งเสริมการค้า ระหว่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาใน ราชอาณาจักรซึ่งสินค้า

มาตรา 47 ให้ผู้ที่ใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อว่า “สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือ แห่งประเทศไทย” หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกันซึ่งต้องห้ามตาม มาตรา 12 อยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เลิกใช้ชื่อหรือคำอื่นใด ดังกล่าวแล้วนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และใน ระหว่างเวลาดังกล่าวมิให้นำมาตรา 40 มาใช้บังคับ

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ชวน หลีกภัย

นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ การค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และการค้าระหว่างประเทศนั้นผู้ส่งสินค้าทางเรือต้องใช้บริการขอ งผู้ขนส่ง ทางเรือซึ่งมีอำนาจในการกำหนดอัตราค่าระวาง ค่าบริการ และค่าใช้จ่าย ตลอดจนเงื่อนไขต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้บริการในการส่งสินค้าทางเรือ ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก สมควรจัดตั้งสภาผู้ส่ง สินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของผู้ส่งสินค้าทางเรือ ในการเจรจา ปรึกษาหารือและประสานงานกับผู้ขนส่งสินค้าทางเรือในเรื่อง ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

Share the Post: