marinerthai

ข้อบังคับกรมเจ้าท่า

ว่าด้วยการฝึกอบรม การสอบความรู้และการออกประกาศนียบัตร

ผู้ทำการในเรือ พ.ศ. 2541

และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542

การใช้บังคับ
บทนิยาม
ส่วนที่ 1 การแบ่งชั้นประกาศนียบัตร
ส่วนที่ 2 วิธีการสอบความรู้
ส่วนที่ 3 คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ
ฝ่ายเดินเรือ
พนักงานวิทยุในเรือ
ฝ่ายช่างกลเรือ
ส่วนที่ 4 การออกประกาศนียบัตรและการต่ออายุ
ส่วนที่ 5 การยกเว้นประกาศนียบัตร
ส่วนที่ 6 ประกาศนียบัตรรับรองประกาศนียบัตรที่ออกโดยรัฐภาคีอื่น
ส่วนที่ 7 การฝึกอบรมและออกประกาศนียบัตรรับรองผู้ทำการในเรือเฉพาะประเภท
ส่วนที่ 8 การฝึกอบรมความปลอดภัยและการฝึกความคุ้นเคยสำหรับการทำหน้าที่ในเรือ
ส่วนที่ 9 ค่าธรรมเนียม
ส่วนที่ 10 บทเฉพาะกาล
ฝ่ายเดินเรือ
ฝ่ายช่างกลเรือ

 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 279 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2525 อธิบดีกรมเจ้าท่าโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกข้อบังคับเกี่ยวกับการฝึกอบรม การสอบความรู้และการออกประกาศนียบัตรผู้ทำการในเรือไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับกรมเจ้าท่าว่าด้วยการฝึกอบรม การสอบความรู้และการออกประกาศนียบัตรผู้ทำการในเรือ พ.ศ. 2541”

ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ข้อ 3 ในเวลาที่ข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ ผู้ถือประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถที่ออกให้ตามข้อบังคับกรมเจ้าท่าว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ทำการในเรือ พ.ศ. 2532 สำหรับทำการในเรือเดินทะเลระหว่างประเทศ หากประสงค์จะทำการในเรือเดินทะเลระหว่างประเทศต่อไป ต้องเปลี่ยนประกาศนียบัตรดังกล่าวให้เป็นประกาศนียบัตรตามข้อบังคับนี้

ข้อ 4 บรรดาข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ให้ใช้ความในข้อบังคับนี้ใช้บังคับ และข้อความใดที่ไม่ได้ปรากฏในข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตามความที่ปรากฏในข้อบังคับกรมเจ้าท่าว่าด้วยการสอบความรู้ของผู้ทำการในเรือ พ.ศ. 2532

การใช้บังคับ

ข้อ 5 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับแก่บุคคลใดผู้ทำการในเรือไทยและบุคคลสัญชาติไทยผู้ทำการในเรือต่างประเทศที่เป็นเรือเดินทะเลระหว่างประเทศ เว้นแต่ผู้ทำการในเรือต่อไปนี้

(1)   เรือราชนาวีไทยและเรือรัฐบาล

(2)   เรือประมง

(3)   เรือสำราญกีฬาที่ไม่ได้ใช้เพื่อการค้อ หรือ

(4)   เรือไม้ที่ต่อแบบโบราณ

Top – ขึ้นบนสุด >

บทนิยาม

ข้อ 6 นอกจากจะมีบทบัญญัติกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ในข้อบังคับนี้

 “อธิบดี” หมายถึง อธิบดีกรมเจ้าท่า

 “ประกาศนียบัตร” หมายถึง ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถที่ออกให้ โดยกรมเจ้าท่าตามข้อบังคับนี้

 “ประกาศนียบัตรรับรอง” หมายถึง ประกาศนียบัตร ที่ออกให้โดยกรมเจ้าท่าตามข้อบังคับนี้เพื่อรับรองประกาศนียบัตรที่ออกโดยรัฐภาคีอื่น หรือเพื่อรับรองผู้ทำการในเรือเฉพาะประเภท หรือพนักงานวิทยุในเรือเดินทะเล

 “ประกาศนียบัตรฝึกอบรม” หมายถึง ประกาศนียบัตรสำหรับผู้ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่ได้รับการรับรอง

 “ประกาศนียบัตรที่เหมาะสม” หมายถึง ประกาศนียบัตรหรือประกาศนียบัตรรับรองที่ออกให้ภายใต้บทบัญญัติแห่งข้อบังคับนี้ที่ผู้ถือใช้เข้าทำการในตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่บนเรือได้ตามกฎหมายในระดับความรับผิดชอบตามประเภท ขนาดเรือและกำลังขับเคลื่อนเครื่องจักรของเรือในเขตการเดินเรือของเรือนั้น

 “การสอบ” หมายถึง การวัดระดับความรู้ความสามรถโดยการสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

 “การประเมิน” หมายถึง การประเมินความรู้ความสามารถจากผลการสอบ การศึกษาและฝึกอบรม การฝึกปฏิบัติงาน และการปฏิบัติงาน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบังคับนี้

 “การรับรอง” หมายถึง การรับรองโดยอธิบดีกรมเจ้าท่า

 “สมุดรายงานการฝึก” หมายถึง สมุดรายงานการฝึกของฝ่ายเดินเรือและฝ่ายช่างกล ที่กรมเจ้าท่ากำหนดให้เป็นมาตรฐาน

 “บริษัท” หมายถึง ผู้เป็นเจ้าของหรือองค์กรหรือบุคคล ซึ่งอาจเป็นผู้จัดการหรือผู้เช่าเรือเปล่าหรืออื่นใด ก็ได้ โดยเป็นผู้รับผิดขอบการปฏิบัติงานของเรือมาจากเจ้าของเรือตลอดจนหน้าที่และความรับผิดชอบใด ๆ ของเจ้าของเรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้

 “ควบคุมเรือ” หมายถึง การทำหน้าที่นายเรือ

 “คนประจำเรือ” หมายถึง ผู้ที่มีหน้าที่ทำการประจำอยู่ในเรือ

 “นายเรือ” หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ควบคุมสูงสุดใดเรือ

 “นายประจำเรือ” หมายถึง คนประจำเรือนอกเหนือจากนายเรือที่ลงทำการในเรือในตำแหน่งที่กำหนดตามกฎหมายหรือกฎข้อบังคับ

 “ลูกเรือ” หมายถึง คนประจำเรือนอกเหนือจากนายเรือหรือนายประจำเรือ

 “ต้นเรือ” หมายถึง นายประจำเรือในตำแหน่งรองจากนายเรือและเป็นผู้ทำหน้าที่ควบคุมเรือเมื่อนายเรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

 “นายประจำเรือฝ่ายเดินเรือ” หมายถึง นายประจำเรือในฝ่ายเดินเรือผุ้มีคุณสมบัติทำหน้าที่เข้ายามฝ่ายเดินเรือในเรือเดินทะเล

 “ต้นกล” หมายถึง นายประจำเรือฝ่ายช่างกลตำแหน่งสูงสุดในเรือ ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับเครื่องกลขับเคลื่อนเรือและเครื่องจักรกลทุกชนิดบนเรือ

 “รองต้นกล” หมายถึง นายประจำเรือฝ่ายช่างกลในตำแหน่งรองจากต้นกลและเป็นผู้รับผิดชอบ เครื่องกลขับเคลื่อนเรือและเครื่องกลทุกชนิดบนเรือเมื่อต้นกลไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

 “นายช่างกล” หมายถึง นายประจำเรือฝ่ายช่างกลที่ถือประกาศนียบัตรจากกรมเจ้าท่าขั้นไม่ต่ำกว่านายประจำเรือฝ่ายช่างกลของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 กิโลวัตต์หรือมากกว่า

 “นายประจำเรือฝ่ายช่างกล” หมายถึง นายประจำเรือในฝ่ายช่างกลผู้มีคุณสมบัติทำหน้าที่เข้ายามฝ่ายช่างกลในเรือกลเดินทะเล

 “พรรคนาวิน” หมายถึง เหล่าทหารเรือที่มีหน้าที่ส่วนใหญ่ในการควบคุมและปฏิบัติการต่าง ๆ ในฝ่ายเดินเรือ

 “พรรคกลิน” หมายถึง เหล่าทหารเรือที่มีหน้าที่ส่วนใหญ่ในการควบคุมและปฏิบัติการต่าง ๆ ในฝ่ายช่างกลเรือ

 “พนักงานวิทยุ” หมายถึง ผู้ถือประกาศนียบัตรที่เหมาะสมซึ่งออกหรือยอมรับโดยทางการภายใต้บทบัญญัติของกฎข้อบังคับวิทยุ

 “กฎข้อบังคับวิทยุ” หมายถึง กฎข้อบังคับวิทยุที่กำหนดไว้ในผนวกหรือจะกำหนดไว้ในผนวกแนบท้ายอนุสัญญาว่าด้วยการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Convention) ที่มีผลบังคับใช้ไม่ว่าในเวลาใด

 “หน้าที่เกี่ยวกับวิทยุ” หมายความรวมถึง การทำหน้าที่ยาม การบำรุงรักษา และการซ่อมแซมทางเทคนิคตามกฎข้อบังคับวิทยุและอนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล และข้อแนะนำเกี่ยวข้องจากองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ

 “เรือกลเดินทะเล” หมายถึง เรือกลอื่นใดนอกเหนือจากเรือที่ใช้เดินเฉพาะแต่ในทางน้ำภายในเรือทางน้ำที่อยู่ภายในหรือประชิดติดกับเขตกำบังคลื่นลม (sheltered waters) เขตที่อยู่ในกฎข้อบังคับของท่าเรือ (เขตท่าเรือ)

 “เรือราชการ” หมายถึง เรือของส่วนราชการที่มิได้ใช้ในทางการค้า

 “เรือหลวง” หมายถึง เรือต่าง ๆที่กำหนดไว้ในอัตรากองทัพเรือ

 “เรือที่ไม่ได้ทำการค้า” หมายถึง เรือที่ไม่ใช่เรือบรรทุกสินค้าหรือบรรทุกผู้โดยสาร

 “การเดินเรือทะเลใกล้ฝั่ง” หมายถึง การเดินเรือระหว่างประเทศภายในเขตจำกัดทะเลใกล้ฝั่งตามแผนที่ในผนวก 4

 “การเดินเรือทะเลระหว่างประเทศ” หมายถึง การเดินเรือระหว่างประเทศภายนอกเขตจำกัดทะเลใกล้ ฝั่งตามแผนที่ในผนวก 4

 “กำลังขับเคลื่อน” หมายถึง อัตรากำลังสูงสุดต่อเนื่องหน่วยนับเป็นกิโลวัตต์จากเครื่องจักรใหญ่เรือซึ่งปรากฏในทะเบียนเรือหรือเอกสารของทางราชการ

 “เรือบรรทุกของเหลวในถึงระวาง” หมายถึง เรือบรรทุกน้ำมัน เรือบรรทุกสารเคมีและเรือบรรทุกก๊าซเหลว

 “เรือบรรทุกน้ำมัน” หมายถึง เรือที่ต่อสร้างขึ้นและใช้เพื่อการบรรทุกปิโตรเลียมและ/หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในถึงระวาง

 “เรือบรรทุกสารเคมี” หมายถึง เรือที่ต่อสร้างหรือถูกดัดแปลงและใช้ในการบรรทุกผลิตภัณฑ์ของเหลวใด ๆ ในถึงระวางที่มีรายชื่อผลิตภัณฑ์นั้นอยู่ในบทที่ 17 ของประมวลกฎข้อบังคับระหว่างประเทศว่าด้วยการบรรทุกสารเคมีในถังระวาง (International Bulk Chemical Code)

 “เรือบรรทุกก๊าซเหลว” หมายถึง เรือที่ต่อสร้างหรือถูกดัดแปลงและใช้ในการบรรทุกก๊าซเหลวใด ๆ ในถึงระวางที่ปรากฏรายชื่อในบทที่ 19 ของประมวลกฎข้อบังคับระหว่างประเทศว่าด้วยการบรรทุกก๊าซ (International Gas Carrier Code)

 “เรือบรรทุกผู้โดยสารและล้อเลื่อน” (Ro – Ro Passenger Ship) หมายถึง เรือโดยสารที่มีพื้นที่บรรทุกล้อเลื่อน หรือพื้นที่พิเศษตามคำจำกัดความในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติม

 “เดือน” หมายถึง เดือนตามปีปฏิทินหรือช่วงระยะเวลาที่นับรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 30 วัน

 “รัฐภาคี” หมายถึง ประเทศที่อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานการฝึกอบรม การออกประกาศนียบัตร และการเข้ายามสำหรับคนประจำเรือ ค.ศ. 1978 แก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ. 1995 (International Convention on Standards of Training, Certification and Watchkeeping for Seafarers, 1978 as amended in 1995) มีผลใช้บังคับ

 “ปฏิบัติงานในหน้าที่มนเรือกลเดินทะเล” หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่ในเรือเดินทะเลในตำแหน่งที่ได้กำหนดไว้ในประกาศนียบัตรหรือตำแหน่งในเรือบังคับให้ใช้ประกาศนียบัตรนั้นเป็นขั้นต่ำ

 “ระยะเวลาปฏิบัติงานในเรือ ระยะเวลาทำการในตำแหน่งที่รับผิดชอบ และระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติตามที่ข้อบังคับนี้กำหนดไว้” หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่นายเรือ หรือนายประจำเรือ หรือลูกเรือในเรือกลเดินทะเลซึ่งเดินนอกเขตน่านน้ำไทย และ/หรือเขตท่าเรือจะต้องอยู่ภายในเวลาห้าปีก่อนวันสมัครสอบครั้งแรก โดยเอกสารที่ใช้นับเวลาการปฏิบัติงานในทะเล ให้ใช้เอกสารตามที่กรมเจ้าท่ากำหนด เว้นแต่เรือหลวงหรือเรือ   ราชการอาจใช้ใบรับรองจากหน่วยต้นสังกัดในระดับกรมขึ้นไป

ข้อ 7 ผู้ทำการบนเรือไทยจะต้องถือประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถหรือประกาศนียบัตรรับรองประกาศนียบัตรที่ออกโดยรัฐภาคีอื่น ที่ออกให้ตามข้อบังคับนี้

ข้อ 8 ผู้ทำการในเรือที่เป็นเรือไทยหรือเรือต่างประเทศซึ่งต้องการเอกสาร หลักฐานแสดงระยะเวลาการฝึกและการปฏิบัติงานในเรือตามข้อบังคับนี้ ให้ผู้นั้นแจ้งวันที่ลงทำการในเรือและวันที่ขึ้นจากเรือนั้น ต่อกรมเจ้าท่า พร้อมเอกสาร หลักฐาน ตามวิธีการที่กรมเจ้าท่ากำหนด เพื่อการบันทึกและพิสูจน์ระยะเวลาการฝึกและทำงานในเรือ เว้นแต่เรือหลวงหรือเรือราชการอาจใช้หนังสือรับรองจากส่วนราชการระดับกรมที่ผู้นั้นสังกัดอยู่ได้การใช้เอกสารหลักฐานอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวไว้ เพื่อแสดงระยะเวลาการฝึกและการปฏิบัติงานในเรือต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี

Top – ขึ้นบนสุด >

ส่วนที่ 1

การแบ่งชั้นประกาศนียบัตร

ข้อ 9 ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทำการในเรือฝ่ายเดินเรือให้ มีลำดับชั้นดังนี้

 เรือกลเดินทะเลระหว่างประเทศ

(1) ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 3,000 ตันกรอส หรือมากกว่า

(2) ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส

(3) ประกาศนียบัตรต้นเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 3,000 ตันกรอส หรือมากกว่า

(4) ประกาศนียบัตรต้นเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส

(5) ประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า

เรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง

(1) ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส

(2) ประกาศนียบัตรต้นเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส

(3) ประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส

(4) ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส

(5) ประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาดต่ำกว่า 500  ตันกรอส

เรือกลเดินทะเล

(1) ประกาศนียบัตรลูกเรือยามสะพานเดินเรือของเรือกลเดินทะเล

ข้อ 10 ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของพนักงานวิทยุในเรือ

(1) ประกาศนียบัตรรับรองพนักงานวิทยุของเรือกลเดินทะเล ขนาด 300 ตันกรอส หรือมากกว่า

ข้อ 11 ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทำการในเรือฝ่ายช่างกลให้มีลำดับขั้นดังนี้

 เรือกลเดินทะเล

(1) ประกาศนียบัตรต้นกล ของเรือกลเดินทะเลขนาดกำลังขับเคลื่อน 3,000 กิโลวัตต์หรือมากกว่า

(2) ประกาศนียบัตรต้นกล ของเรือกลเดินทะเลขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 – 3,000 กิโลวัตต์

(3) ประกาศนียบัตรรองต้นกล ของเรือกลเดินทะเลขนาดกำลังขับเคลื่อน 3,000 กิโลวัตต์หรือมากกว่า

(4) ประกาศนียบัตรรองต้นกล ของเรือกลเดินทะเลขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 – 3,000 กิโลวัตต์

(5) ประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายช่างกล ของเรือกลเดินทะเลขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 กิโลวัตต์ หรือมากกว่า

(6) ประกาศนียบัตรลูกเรือเข้ายามฝ่ายช่างกล ของเรือกลเดินทะเล

ข้อ 12 ผู้ถือประกาศนียบัตรที่มีระดับชั้น ขนาดของเรือ เขตการเดินเรือและขนาดของกำลังขับเคลื่อนของเครื่องจักรใหญ่เรือ ที่สูงกว่าสามารถทำการในตำแหน่งซึ่งกำหนดให้ใช้ประกาศนียบัตรระดับชั้นที่ต่ำกว่าได้

ข้อ 13 นายประจำเรือและลูกเรือ พรรคนาวินและพรรคกลินจากกองทัพเรืออาจได้รับอนุญาตให้เข้ารับการฝึกอบรม และสอบความรู้เพื่อขอรับประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถตามข้อบังคับนี้ได้ โดยให้แสดงประกาศนียบัตรและเอกสารแสดงประสบการณ์ทำงานในราชการกองทัพเรือเพื่อให้กรมเจ้าท่าประเมินคุณสมบัติในการสอบดังกล่าว ทั้งนี้จะต้องมีระยะเวลาปฏิบัติงานในทะเลมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน

ข้อ 14 ผู้มีประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง ขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส หรือ ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง ขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส อาจทำหน้าที่นายเรือของเรือกลเดินทะเลขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอสที่ไม่ใช่เรือเดินใกล้ฝั่งได้ หากได้รับประกาศนียบัตรที่เหมาะสมสำหรับนายเรือของเรือนั้น

ข้อ 15 ผู้มีประกาศนียบัตรนายประจำเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง ขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส อาจทำหน้าที่นายประจำเรือของเรือกลเดินทะเล ขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส ที่ไม่ใช่เรือเดินใกล้ฝั่งได้ หากได้รับประกาศนียบัตรที่เหมาะสมสำหรับนายประจำเรือของเรือนั้น

ข้อ 16 นายช่างกลที่ถือประกาศนียบัตรรองต้นกลของเรือกลเดินทะเลขนาดกำลังขับเคลื่อน 3,000 กิโลวัตต์หรือมากกว่าอาจทำหน้าที่ต้นกลของเรือกลเดินทะเลขนาดกำลังขับเคลื่อนต่ำกว่า 3,000 กิโลวัตต์ได้ถ้าหากว่าได้ทำหน้าที่ในตำแหน่งที่ระบุในประกาศนียบัตรที่ตนถืออยู่มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน

Top – ขึ้นบนสุด >

ส่วนที่ 2

วิธีการสอบความรู้

ข้อ 17 ให้อธิบดีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อดำเนินการสอบและประเมินความรู้ความสามารถสำหรับประกาศนียบัตรในฝ่ายเดินเรือ พนักงานวิทยุในเรือ และฝ่ายช่างกลเรือขั้นต่าง ๆ

ข้อ 18 ผู้สมัครสอบความรู้เพื่อขอรับประกาศนียบัตรหรือขอเลื่อนชั้นประกาศนียบัตรหรือผู้ขอต่ออายุประกาศนียบัตรให้ยื่นคำร้องที่กรมเจ้าท่าหรือสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคหรือสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาแล้วแต่กรณี พร้อมเอกสารดังต่อไปนี้

(1) รูปถ่ายหน้าตรง

(2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง

(3) ประกาศนียบัตรสุขภาพ ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบกรมเจ้าท่าว่าด้วยคนประจำเรือเดินทะเล พ.ศ. 2541

(4) สำเนาประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถ

(5) สำเนาวุฒิการศึกษา

(6) สำเนาประกาศนียบัตรการฝึกอบรม

(7) เอกสารแสดงระยะเวลาการฝึกและการทำงานในเรือ

เอกสารใน (2) และ (3) จะต้องยังคงไม่หมดอายุ จนถึงวันที่ออกประกาศนียบัตร

ผู้มีสิทธิเข้าสอบขอรับประกาศนียบัตรได้จะต้องผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติตามเอกสารหลักฐานต่าง ๆ จากผู้ที่อธิบดีมอบหมาย

ข้อ 19 หลักสูตร วิธีการสอบและประเมินความรู้ความสามารถและเกณฑ์การสอบได้สำกรับประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถ ประกาศนียบัตรรับรองและประกาศนียบัตรฝึกอบรมต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดในผนวก 1 ผนวก 2 และผนวก 3 ของข้อบังคับนี้ ส่วนรายละเอียดให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด

ข้อ 20 หลักสูตร วิธีการสอบและประเมินความรู้ความสามารถและเกณฑ์การสอบได้สำหรับประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถชั้นต่าง ๆ ของฝ่ายเดินเรือและฝ่ายช่างกล สำหรับทำการในเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง ให้อธิบดีมีอำนาจปรับข้อกำหนดมาตรฐานความรู้ความสามารถในผนวก 1 และผนวก 2 ของข้อบังคับนี้ให้เหมาะสมกับเรือเดินทะเลใกล้ฝั่ง

ข้อ 21 การสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรให้ผู้สมัครสอบมีโอกาสสอบแก้ตัวใหม่ได้ ภายในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันสมัครสอบครั้งแรก

ข้อ 22 บุคคลผู้มีสัญชาติไทยที่ได้รับประกาศนียบัตรชั้นใดที่ออกให้โดยประเทศอื่น หากประสงค์จะสอบเทียบความรู้เพื่อขอรับประกาศนียบัตรในชั้นนั้น ต้อง

(1) มีคุณสมบัติตามข้อ 24

(2) มีประกาศนียบัตรที่ออกโดยประเทศภาคีอื่นมาแสดง

(3) มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าที่กำหนดตามชั้นของประกาศนียบัตร

(4) มีระยะเวลาปฏิบัติงานในทะเลตามที่กำหนดตามชั้นของประกาศนียบัตร

(5) ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามที่กำหนดไว้ตามชั้นของประกาศนียบัตร

ให้อธิบดีแต่งตั้งคณะกรรมการจำนวน 2 คนเป็นผู้ดำเนินการสอบ

ข้อ 23 ให้อธิบดีแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเปรียบเทียบมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาและหลักสูตรกากรฝึกอบรมของสถาบันที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การรับรองว่ามีมาตรฐานความรู้ความสามารถตามที่กำหนดไว้ในผนวก 1 ผนวก 2 และผนวก 3 ของข้อบังคับนี้ และข้อกำหนดการจัดหลักสูตรการศึกษาฝึกอบรมและการประเมินผลตามที่กรมเจ้าท่ากำหนด

ให้คณะกรรมการทำรายงานพร้อมความเห็นเสนออธิบดีเพื่อพิจารณาให้การรับรองหรือไม่ให้การรับรองมาตรฐานหลักสูตรตามวรรคหนึ่ง

ในกรณีที่คณะกรรมการมีความเห็นไม่ให้การรับรองมาตรฐานหลักสูตรตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีมีอำนาจพิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสม

Top – ขึ้นบนสุด >

ส่วนที่ 3

คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ

ข้อ 24 ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

(1) มีสัญชาติไทยหรือเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 25

(2) มีสุขภาพร่างกายที่เหมาะสม ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในระเบียบกรมเจ้าท่าว่าด้วยคนประจำเรือเดินทะเล พ.ศ. 2541

ข้อ 25 สำหรับบุคคลที่มิได้ถือสัญชาติไทยถ้าประสงค์จะสมัครสอบความรู้เพื่อขอรับประกาศนียบัตร เพื่อทำการในเรือไทย ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย

Top – ขึ้นบนสุด >

ฝ่ายเดินเรือ

ข้อ 26 ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 3,000 ตันกรอสหรือมากกว่าผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 24 ดังต่อไปนี้

(1)    เป็นผู้มีประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า หรือชั้นที่สูงกว่า

(2)    เป็นผู้สำเร็จการศึกษาและฝึกอบรม ที่ได้รับการรับรองตามหลักสูตรนายเรือและต้นเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า และผ่านการปฏิบัติงานในหน้าที่นายประจำเรือฝ่ายเดินเรือในเรือกลเดินทะเลระหว่างประเทศขนาด 500 ตันกรอส หรือมากกว่า หรือในตำแหน่งที่บังคับให้ใช้ประกาศนียบัตรนี้เป็นขั้นต่ำ มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า สี่สิบแปดเดือน ระยะเวลานี้อาจลดเหลือไม่น้อยกว่า สามสิบหกเดือน ถ้าในการปฏิบัติงานดังกล่าวนั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งต้นเรือของเรือกลเดินทะเลระหว่างประเทศขนาด 3,000 ตันกรอสหรือมากกว่า มาแล้วไม่น้อยกว่า สิบแปดเดือน หรือ

(3)    เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปีที่ 5 ฝ่ายเดินเรือจากศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีหรือโรงเรียนนายเรือ หรือสถาบันอื่นที่ได้รับการรับรองและผ่านการปฏิบัติงานในหน้าที่นายประจำเรือฝ่ายเดินเรือในเรือหลวงหรือเรือราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าสี่ปี สำหรับประกาศนียบัตรที่จำกัดการทำหน้าที่เฉพาะในเรือที่ไม่ได้ทำการค้า และ

(4)    สำหรับผู้มีประกาศนียบัตรต้นเรือ ได้ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานที่กรมเจ้าท่ากำหนดสำหรับหลักสูตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า หรือ สำหรับผู้มีประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือ ได้ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรนายเรือและต้นเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า ตามที่กำหนดไว้ในผนวก 1 ตารางที่ 1 ของข้อบังคับนี้

ข้อ 27 ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลขนาดระหว่าง 500 – 3,000 ตันกรอส ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 24 ดังต่อไปนี้

(1)    เป็นผู้มีประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า หรือชั้นที่สูงกว่า

(2)    เป็นผู้สำเร็จการศึกษาและฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองตามหลักสูตรนายเรือ และต้นเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า และผ่านการปฏิบัติงานในหน้าที่นายประจำเรือฝ่ายเดินเรือในเรือกลเดินทะเลระหว่างประเทศขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่าหรือในตำแหน่งที่บังคับให้ใช้ประกาศนียบัตรนี้เป็นขั้นต่ำ มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบหกเดือน ระยะเวลานี้อาจลดเหลือไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่เดือนถ้าในการปฏิบัติงานดังกล่าวนั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งต้นเรือมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือนหรือ

(3)    เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปีที่ 5 ฝ่ายเดินเรือจากศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีหรือโรงเรียนนายเรือหรือสถาบันอื่นที่ได้รับการรับรองและผ่านการปฏิบัติงานในหน้าที่นายประจำเรือฝ่ายเดินเรือในเรือหลวง        หรือเรือราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี   สำหรับประกาศนียบัตรที่จำกัดการทำหน้าที่เฉพาะในเรือที่ไม่ได้ทำการค้า และ

(4)    สำหรับผู้ที่ประกาศนียบัตรต้นเรือ ได้ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ตามมาตรฐานที่กรมเจ้าท่ากำหนดสำหรับหลักสูตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า หรือ สำหรับผู้มีประกาศนียบัตรนายระจำเรือฝ่ายเดินเรือ ได้ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรนายเรือและต้นเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า ตามที่กำหนดไว้ในผนวก 1 ตารางที่ 1 ของข้อบังคับนี้

ข้อ 28 ประกาศนียบัตรต้นเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 3,000 ตันกรอสหรือมากกว่า ผู้สมัตรสอบต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 24 ดังต่อไปนี้

(1)    เป็นผู้มีประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า

(2)    เป็นผู้สำเร็จการศึกษาและฝึกอบรม ที่ได้รับการรับรองตามหลักสูตรนายเรือและต้นเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า และผ่านการปฏิบัติงานในหน้าที่นายประจำเรือฝ่ายเดินเรือในเรือกลเดินทะเลระหว่างประเทศขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า หรือในตำแหน่งที่บังคับให้ใช้ประกาศนียบัตรนี้เป็นขั้นต่ำ มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า สิบแปดเดือน หรือ

(3)    เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปีที่ 4 ฝ่ายเดินเรือจากศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีหรือโรงเรียนนายเรือหรือสถาบันอื่นที่ได้รับการรับรองและผ่านการปฏิบัติงานในหน้าที่นายประจำเรือฝ่ายเดินเรือในเรือหลวงหรือเรือราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีสำหรับประกาศนียบัตรที่จำกัดการทำหน้าที่เฉพาะในเรือที่ไม่ได้ทำการค้า และ

(4)    ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรนายเรือและต้นเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า ตามที่กำหนดไว้ในผนวก 1  ตารางที่ 1 ของข้อบังคับนี้

 ข้อ 29 ประกาศนียบัตรต้นเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 24 ดังต่อไปนี้

(1)    เป็นผู้มีประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า

(2)    เป็นผู้สำเร็จการศึกษาและฝึกอบรม ที่ได้รับการรับรองตามหลักสูตรนายเรือและต้นเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า และผ่านการปฏิบัติงานในหน้าที่นายประจำเรือฝ่ายเดินเรือในเรือกลเดินทะลระหว่างประเทศขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่าหรือในตำแหน่งที่บังคับให้ใช้ประกาศนียบัตรนี้เป็นขั้นต่ำ มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน หรือ

(3)    เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปีที่ 4 ฝ่ายเดินเรือจากศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีหรือโรงเรียนนายเรือหรือสถาบันอื่นที่ได้รับการรับรองและผ่านการปฏิบัติงานในหน้าที่นายประจำเรือฝ่ายเดินเรือในเรือหลวงหรือเรือราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีสำหรับประกาศนียบัตรที่จำกัดการทำหน้าที่เฉพาะในเรือที่ไม่ได้ทำการค้า และ

(4)    ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรนายเรือและต้นเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า ตามที่กำหนดไว้ใน ผนวก 1 ตารางที่ 1 ของข้อบังคับนี้

ข้อ 30 ประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 24 ดังต่อไปนี้

(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

(2) สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วไปไม่น้อยกว่า 12 ปี หรือเทียบเท่า

(3) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรพนักงานวิทยุ GMDSS ที่ได้รับการรับรองหรือมีประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุ GMDSS GOC หรือ ROC

(4) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาและฝึกอบรม ที่ได้รับการรับรองตามหลักสูตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า และผ่านการฝึกปฏิบัติงานในฝ่ายเดินเรือที่รวมอยู่ในหลักสูตรการศึกษาฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองและมีบันทึกการฝึกปฏิบัติงานลงในสมุดรายงานการฝึกมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า สิบห้าเดือน หรือผ่านการปฏิบัติงานในฝ่ายเดินเรือมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า สี่สิบแปดเดือน ในเรือกลเดินทะเลระหว่างประเทศขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่าหรือในเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 3,000 ตันกรอสหรือมากกว่า และในระยะเวลาการฝึกหรือการปฏิบัติงานดังกล่าวต้องมีการเข้ายามบนสะพานเดินเรือภายใต้การควบคุมของนายเรือหรือนายประจำเรือมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือ

(5) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปีที่ 2 ฝ่ายเดินเรือจากศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีหรือโรงเรียนนายเรือหรือสถาบันอื่นที่ได้รับการรับรอง และผ่านการปฏิบัติงานในฝ่ายเดินเรือในเรือหลวงหรือเรือราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีสำหรับประกาศนียบัตรที่จำกัดการทำหน้าที่เฉพาะในเรือที่ไม่ได้ทำการค้า และ

(6) ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า ตามที่กำหนดไว้ในผนวก 1 ตารางที่ 2 ของข้อบังคับนี้

ข้อ 31 ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 24 ดังต่อไปนี้

(1) เป็นผู้มีประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส หรือชั้นที่สูงกว่า

(2) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาและฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองตามหลักสูตรนายเรือและต้นเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส และผ่านการปฏิบัติงานในหน้าที่นายประจำเรือฝ่ายเดินเรือในเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบหกเดือน ระยะเวลานี้อาจลดเหลือไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่เดือน ถ้าในการปฏิบัติงานดังกล่าวนั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งต้นเรือมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และ

(3) สำหรับผู้มีประกาศนียบัตรต้นเรือ ได้ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานที่กรมเจ้าท่ากำหนดสำหรับหลักสูตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส หรือสำหรับผู้มีประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือ ได้ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรนายเรือและต้นเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส ตามที่กำหนดไว้ในผนวก 1 ตารางที่ 1 ของข้อบังคับนี้

ข้อ 32 ประกาศนียบัตรต้นเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 24 ดังต่อไปนี้

(1) เป็นผู้มีประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส

(2) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาและฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองตามหลักสูตรนายเรือและต้นเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส และผ่านการปฏิบัติงานในหน้าที่นายประจำเรือฝ่ายเดินเรือในเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และ

(3) ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรนายเรือ และต้นเรือของเรือกลเดินทะเล ขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส ตามที่กำหนดไว้ในผนวก 1 ตารางที่ 1 ของข้อบังคับนี้

ข้อ 33 ประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง ขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 24 ดังต่อไปนี้

(1)  มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

(2)  สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วไปไม่น้อยกว่า 9 ปี หรือเทียบเท่า

(3) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรพนักงานวิทยุ GMDSS ที่ได้รับการรับรองหรือมีประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุ GMDSS GOC หรือ ROC

(4) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาและฝึกอบรม ที่ได้รับการรับรองตามหลักสูตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส และผ่านการฝึกปฏิบัติงานในฝ่ายเดินเรือในเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่เดือน และในระยะเวลาการฝึกหรือการปฏิบัติงานดังกล่าวต้องมีการเข้ายามบนสะพานเดินเรือภายใต้การควบคุมของนายเรือหรือนายประจำเรือมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือ

(5) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปีที่ 1 ฝ่ายเดินเรือจากศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีหรือโรงเรียนนายเรือหรือสถาบันอื่นที่ได้รับการรับรองและผ่านการปฏิบัติงานในฝ่ายเดินเรือในเรือหลวงหรือเรือราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีสำหรับประกาศนียบัตรที่จำกัดการทำหน้าที่เฉพาะในเรือที่ไม่ได้ทำการค้า และ

(6) ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส ตามที่กำหนดไว้ในผนวก 1 ตารางที่ 2 ของข้อบังคับนี้

ข้อ 34 ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 24 ดังต่อไปนี้

 (1) สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วไปไม่น้อยกว่า 9 ปี หรือเทียบเท่า

(2) เป็นผู้มีประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส และผ่านการปฏิบัติงานในหน้าที่นายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง ขนาด 60 ตันกรอสหรือมากกว่า มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ยี่สิบสี่เดือน และ

(3) ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือและนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส ตามที่กำหนดไว้ในผนวก 1 ตารางที่ 3 ของข้อบังคับนี้

ข้อ 35 ประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 24 ดังต่อไปนี้

 (1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

(2) สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วไปไม่น้อยกว่า 6 ปี หรือเทียบเท่า

(3) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรพนักงานวิทยุ GMDSS ที่ได้รับการรับรองหรือมีประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุ GMDSS GOC หรือ ROC

(4) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาและฝึกอบรม ที่ได้รับการรับรองตามหลักสูตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาดต่ำกว่า 500  ตันกรอส และผ่านการฝึกปฏิบัติงานในฝ่ายเดินเรือที่รวมอยู่ในหลักสูตรการศึกษาฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบหกเดือน หรือผ่านการปฏิบัติงานในฝ่ายเดินเรือมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบหกเดือน ในเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 60 ตันกรอสหรือมากกว่า และในระยะเวลาการปฏิบัติงานดังกล่าวต้องมีการเข้ายามบนสะพานเดินเรือภายใต้การควบคุมของนายเรือหรือนายประจำเรือมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือ

(5) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปีที่ 1 ฝ่ายเดินเรือจากศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีหรือโรงเรียนนายเรือหรือสถาบันอื่นที่ได้รับการรับรอง และผ่านการปฏิบัติงานในฝ่ายเดินเรือในเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง ขนาด 60 ตันกรอสหรือมากกว่า และ/หรือ เรือหลวงหรือเรือราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน และ

(6) ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือและนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส ตามที่กำหนดไว้ในผนวก 1 ตารางที่ 3 ของข้อบังคับนี้

ข้อ 36 ประกาศนียบัตรลูกเรือยามสะพานเดินเรือของเรือกลเดินทะเล

ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 24 ดังต่อไปนี้

(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีบริบูรณ์

(2) สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วไปไม่น้อยกว่า 6 ปี หรือเทียบเท่า

(3) ผ่านการฝึกปฏิบัติงานในฝ่ายเดินเรือในเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือนหรือ

(4) สำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเรือที่ได้รับการรับรองและมีการปฏิบัติงานในฝ่ายเดินเรือในเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอสหรือมากกว่า มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเดือนหรือ

(5) ผ่านการปฏิบัติงานในฝ่ายเดินเรือมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน ในเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอส หรือมากกว่า หรือ

(6) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาฝึกอบรม 2 ปี ของโรงเรียนชุมพลทหารเรือหรือผ่านการฝึกปฏิบัติงานในฝ่ายเดินเรือในเรือหลวงหรือเรือราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน และ

(7) ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรลูกเรือยามสะพานเดินเรือของเรือกลเดินทะเลตามที่กำหนดไว้ในผนวก 1 ตารางที่ 4 ของข้อบังคับนี้

Top – ขึ้นบนสุด >

พนักงานวิทยุในเรือ

 ข้อ 37 ประกาศนียบัตรรับรองพนักงานวิทยุของเรือกลเดินทะเล ขนาด 300 ตันกรอสหรือมากกว่า ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 24 ดังต่อไปนี้

(1)  มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

(2)  ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรพนักงานวิทยุ GMDSS GOC หรือ ROC ที่ได้รับการรับรองและ

(3) ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรพนักงานวิทยุ GMDSS GOC หรือ ROC ตามที่กำหนดไว้ในผนวก 3 ตารางที่ 9 ของข้อบังคับนี้

Top – ขึ้นบนสุด >

ฝ่ายช่างกลเรือ

 ข้อ 38 ประกาศนียบัตรต้นกลของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน 3,000 กิโลวัตต์หรือมากกว่าผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 24 ดังต่อไปนี้

(1) สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วไปไม่น้อยกว่า 12 ปีหรือเทียบเท่า

(2) ถือประกาศนียบัตรต้นกลของเรือกลเดินทะเลขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 – 3,000 กิโลวัตต์ มาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต้องมีระยะเวลาทำงานในเรือกลเดินทะเลขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 กิโลวัตต์หรือมากกว่า ในตำแหน่งรองต้นกลมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุด ฝ่ายช่างกลเรือจากศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีหรือ พรรคกลินจากโรงเรียนนายเรือ หรือสถาบันอื่นที่ได้รับการรับรอง และได้ปฏิบัติหน้าที่นายช่างกล

(3) หน้าที่นายช่างกลของเรือกลเดินทะเลขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 กิโลวัตต์หรือมากกว่าและ/หรือ เรือหลวงหรือเรือราชการมารวมแล้วไม่น้อยกว่าสี่ปี และ

(4) ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรตาม ที่กำหนดไว้ ในผนวก 2 ตารางที่ 1 และตารางที่ 2 ของข้อบังคับนี้

ข้อ 39 ประกาศนียบัตรต้นกลของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 – 3,000 กิโลวัตต์ ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 24 ดังต่อไปนี้

(1) สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วไปไม่น้อยกว่า 12 ปีหรือเทียบเท่า

(2) ถือประกาศนียบัตรรองต้นกลของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน 3,000 กิโลวัตต์ หรือมากกว่ามาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต้องมีระยะเวลาทำงานในเรือกลเดินทะเลขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 กิโลวัตต์หรือมากกว่า ในตำแหน่งรองต้นกลมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน หรือ

(3) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุด ฝ่ายช่างกลเรือจากศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีหรือ พรรคกลินจากโรงเรียนนายเรือ หรือสถาบันอื่นที่ได้รับการรับรอง และได้ปฏิบัติหน้าที่นายช่างกลของเรือกลเดินทะเลขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 กิโลวัตต์หรือมากกว่า และ/หรือ เรือหลวงหรือเรือราชการมารวมแล้วไม่น้อยกว่าสองปี และ

(4) ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรตามที่กำหนดไว้ ในผนวก 2 ตารางที่ 1 และตารางที่ 2 ของข้อบังคับนี้

ข้อ 40 ประกาศนียบัตรรองต้นกลของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน 3,000 กิโลวัตต์หรือมากกว่า ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 24 ดังต่อไปนี้

(1) สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วไปไม่น้อยกว่า 12 ปีหรือเทียบเท่า

(2) ถือประกาศนียบัตรรองต้นกลของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 – 3,000 กิโลวัตต์ มาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต้องมีระยะเวลาทำงานในเรือกลเดินทะเลขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 กิโลวัตต์หรือมากกว่า ในตำแหน่งนายช่างกลมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน หรือ

(3) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุด ฝ่ายช่างกลเรือจากศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีหรือ พรรคกลินจากโรงเรียนนายเรือ หรือสถาบันอื่นที่ได้รับการรับรอง และได้ปฏิบัติหน้าที่นายช่างกลของเรือกลเดินทะเลขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 กิโลวัตต์หรือมากกว่า และ/หรือ เรือหลวงหรือเรือราชการมารวมแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และ

(4) ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรตามที่กำหนดไว้ ในผนวก 2 ตารางที่ 1 และตารางที่ 2 ของข้อบังคับนี้

ข้อ 41 ประกาศนียบัตรรองต้นกล ของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 – 3,000 กิโลวัตต์ ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 24 ดังต่อไปนี้

(1) สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วไปไม่น้อยกว่า 12 ปีหรือเทียบเท่า

(2) ถือประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายช่างกลของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 กิโลวัตต์หรือมากกว่า มาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต้องมีระยะเวลาทำงานในเรือกลเดินทะเลขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 กิโลวัตต์หรือมากกว่า ในตำแหน่งนายช่างกลมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน หรือ

(3) ผ่านหลักสูตรการศึกษาและฝึกอบรมที่ได้รับการรับรอง ซึ่งรวมถึงการได้ร่วมปฏิบัติหน้าที่ในฝ่ายช่างกลเรือในตำแหน่งนายช่างกลมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือ

(4) เคยปฏิบัติหน้าที่นายช่างกลเรือของเรือหลวงหรือเรือราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และ

(5) ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรตามที่กำหนดไว้ ในผนวก 2 ตารางที่ 1 และตารางที่ 2 ของข้อบังคับนี้

ข้อ 42 ประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายช่างกล ของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 กิโลวัตต์หรือมากกว่า ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 24 ดังต่อไปนี้

(1) มีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปี บริบูรณ์

(2) สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วไปไม่น้อยกว่า 12 ปีหรือเทียบเท่า

(3) สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ชั้นปีที่ 3 ฝ่ายช่างกลเรือของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี หรือสอบความรู้ได้ตามหลักสูตรนักเรียนนายเรือชั้นปีที่ 3 พรรคกลินของ  โรงเรียนนายเรือ และในระหว่างการศึกษาต้องมีระยะเวลาการฝึกในฝ่ายช่างกลของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 กิโลวัตต์หรือมากกว่า และ/หรือ เรือหลวงหรือเรือราชการ และมีบันทึกการฝึกปฏิบัติงานลงในสมุดรายงานการฝึกมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือ

(4) ผ่านหลักสูตรการศึกษาและฝึกอบรมระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 เดือน ที่ได้รับการรับรองและในระหว่างการศึกษาต้องมีระยะเวลาการฝึกในฝ่ายช่างกลของเรือกลเดินทะเลขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 กิโลวัตต์หรือมากกว่า และมีบันทึกการฝึกปฏิบัติงานลงในสมุดรายงานการฝึกมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือ

(5) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาช่างกลเรือ หรือสาขาช่างยนต์ หรือสาขาอื่น ที่ได้รับการรับรองและมีระยะเวลาการฝึกในฝ่ายช่างกลของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 กิโลวัตต์หรือมากกว่า และมีบันทึกการฝึกปฏิบัติงานลงในสมุดรายงานการฝึกมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือ

(6) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาช่างกลเรือ หรือสาขาช่างยนต์ หรือสาขาอื่น ที่ได้รับการรับรองและมีระยะเวลาการฝึกในฝ่ายช่างกลของเรือกลเดินทะเลขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 กิโลวัตต์หรือมากกว่า และมีบันทึกการฝึกปฏิบัติงานลงในสมุดรายงานการฝึกมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบแปดเดือน และ

(7) ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรตามที่กำหนดไว้ในผนวก 2 ตารางที่ 2 ของข้อบังคับนี้

ข้อ 43 ประกาศนียบัตรลูกเรือเข้ายามฝ่ายช่างกลของเรือกลเดินทะเล ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 24 ดังต่อไปนี้

(1) มีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปี บริบูรณ์

(2) สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วไปไม่น้อยกว่า 6 ปีหรือเทียบเท่า

(3) เคยปฏิบัติหน้าที่ในฝ่ายช่างกลเรือมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือ

(4) ถือประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้น 1 หรือผ่านการอบรมหลักสูตรสำหรับลูกเรือของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี หรือสถาบันอื่นที่ได้รับการรับรองและเคยทำงานในฝ่ายช่างกลเรือของเรือกลเดินทะเลมาแล้วไม่น้อยกว่าสองเดือน หรือ

(5) สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ชั้นปีที่ 2 ฝ่ายช่างกลเรือของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีหรือหลักสูตรนักเรียนนายเรือชั้นปีที่ 2 พรรคกลินของโรงเรียนนายเรือ และเคยปฏิบัติงานในฝ่ายช่างกลเรือของเรือกลเดินทะเลหรือเรือหลวงหรือเรือราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าสองเดือน หรือ

(6) สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรนักเรียนจ่าพรรคกลิน หลักสูตรอาชีพ (จ่าเอก) พรรคกลิน โรงเรียนชุมพลทหารเรือ และเคยปฏิบัติงานในหน้าที่ฝ่ายช่างกลในเรือหลวงมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือ

(7) สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรอาชีพ (จ่าเอก) ปกติช่างเครื่องยนต์ หลักสูตรอาชีพเลื่อนฐานะชั้นจ่าเอก เหล่าช่างยุทธโยธา สาขาเครื่องยนต์ และเคยปฏิบัติงานในหน้าที่ฝ่ายช่างกลในเรือหลวงมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือ

(8) เคยปฏิบัติงานในหน้าที่ฝ่ายช่างกลของเรือหลวงหรือเรือราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี และ

(9) ผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรตามที่กำหนดไว้ในผนวก 2 ตารางที่ 3 ของข้อบังคับนี้

Top – ขึ้นบนสุด >

ส่วนที่ 4

การออกประกาศนียบัตรและการต่ออายุ

ข้อ 44 การออกประกาศนียบัตรชั้นใดผู้ขอรับต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนและผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดไว้สำหรับชั้นนั้นและให้เรียกคืนประกาศนียบัตรที่ถืออยู่เดิมก่อนที่จะออกประกาศนียบัตรฉบับใหม่ให้

 การออกประกาศนียบัตรกิตติมศักดิ์ชั้นใด ๆ กรมเจ้าท่าอาจออกให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นคุณประโยชน์อย่างสูงแก่ราชการกรมเจ้าท่า และอธิบดีอาจยกเว้นคุณสมบัติต่าง ๆ การสอบและประเมินและค่าธรรมเนียมสำหรับบุคคลนั้น

ข้อ 45 ประกาศนียบัตรและประกาศนียบัตรรับรองใด ๆ อาจกำหนดข้อจำกัดในเรื่องตำแหน่งหน้าที่ และระดับการปฏิบัติงาน เขตการเดินเรือ ประเภทการใช้เรือ ขนาดของเรือ และประเภทและขนาดของกำลังขับเคลื่อนของเครื่องจักรใหญ่เรือ และเงื่อนไขอื่น ๆ ได้ตามที่กรมเจ้าท่าเห็นเหมาะสม

 ประกาศนียบัตรกิตติมศักดิ์ชั้นใด ๆ ให้กำหนดข้อจำกัดไม่สามารถใช้สำหรับลงทำการในเรือ

ข้อ 46 แบบของประกาศนียบัตรและประกาศนียบัตรรับรองให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ในผนวก 5 ของข้อบังคับนี้ และให้อธิบดีมีอำนาจปรับปรุงแบบได้ตามความเหมาะสม

ข้อ 47 การออกใบแทนประกาศนียบัตรให้กระทำได้ในกรณีที่ประกาศนียบัตรสูญหาย ชำรุดเสียหายหรือถูกทำลาย และผู้ถือได้แสดงหลักฐานที่เชื่อถือได้

ข้อ 48 การต่ออายุประกาศนียบัตรให้เป็นไปหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1)  ประกาศนียบัตรทุกชั้นให้ต่ออายุได้คราวละห้าปี หากมีเหตุผลความจำเป็นอื่นรวมถึงสุขภาพ กรมเจ้าท่าอาจต่ออายุประกาศนียบัตรให้น้อยกว่าห้าปี ตามความเหมาะสม

(2)   ก่อนที่จะต่ออายุประกาศนียบัตรให้ตาม (1) ผู้ขอต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

(2.1)   มีสุขภาพร่างกายที่เหมาะสมตามที่กำหนดไว้ในระเบียบกรมเจ้าท่าว่าด้วยคนประจำเรือเดินทะเล พ.ศ. 2541

(2.2)   มีระยะเวลาปฏิบัติงานในทะเลมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน ในตำแหน่งที่ถือประกาศนียบัตรในเวลาห้าปีก่อนหน้า หรือ

(2.3)   มีระยะเวลาปฏิบัติงานอื่นที่เทียบเท่ากับระยะเวลาปฏิบัติงานในทะเลและได้รับการอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย และ

(2.4)   ผ่านการอบรมหลักสูตรเพิ่มเติมความรู้ตามที่กรมเจ้าท่ากำหนด

(3)   เพื่อประโยชน์ในการออกประกาศนียบัตรฉบับใหม่ตามข้อบังคับนี้ ผู้ขอรับประกาศนียบัตรที่เข้าศึกษาหรือฝึกอบรม ก่อนวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2541ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรยกระดับที่ได้การรับรอง

ข้อ 49 ในกรณีที่กรมเจ้าท่าตรวจพบว่าผู้มีประกาศนียบัตรหรือประกาศนียบัตรรับรอง ขาดคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การออกหรือต่ออายุประกาศนียบัตรที่กำหนดไว้สำหรับประกาศนียบัตรชั้นนั้นในภายหลังหรือขาดความเหมาะสมอื่น ๆ อันเป็นสาระสำคัญในการปฏิบัติงานในหน้าที่นั้น ให้อธิบดีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการตรวจสอบพร้อมทำความเห็นเสนอเพื่อดำเนินการยกเลิก เพิกถอน หรือระงับการใช้ประกาศนียบัตรนั้น

Top – ขึ้นบนสุด >

ส่วนที่ 5

การยกเว้นประกาศนียบัตร

ข้อ 50 ประกาศนียบัตรชั้นต่าง ๆ ที่ออกให้ตามความในส่วนที่ 3 และส่วนที่ 4 แห่งข้อบังคับนี้ เมื่อมีเหตุอันจำเป็น อธิบดีอาจอนุญาตยกเว้นให้ผู้ที่มีประกาศนียบัตรชั้นต่ำกว่าปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่กำหนดให้ใช้ประกาศนียบัตรชั้นที่สูงกว่าได้ไม่เกินหนึ่งชั้นในระยะเวลาไม่เกินหกเดือน ทั้งนี้ในเรือลำหนึ่งจะยกเว้นให้ไม่เกินหนึ่งตำแหน่งในแต่ละฝ่าย

การอนุญาตยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงนายเรือ ต้นกลและพนักงานวิทยุ เว้นแต่ในกรณีเหตุสุดวิสัยอธิบดีอาจอนุญาตยกเว้นได้ในระยะเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะกระทำได้

Top – ขึ้นบนสุด >

ส่วนที่ 6

ประกาศนียบัตรรับรองประกาศนียบัตรที่ออกโดยรัฐภาคีอื่น

ข้อ 51 บุคคลที่มิได้ถือสัญชาติไทยถ้าประสงค์จะขอเทียบความรู้เพื่อขอรับประกาศนียบัตรรับรองประกาศนียบัตรที่ออกโดยรัฐภาคีอื่นเพื่อทำการในเรือไทยต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายผู้ขอรับประกาศนียบัตรรับรองตามวรรคหนึ่งให้ยื่นคำร้องขอออกหรือขอต่ออายุประกาศนียบัตรรับรองพร้อมให้ แนบเอกสารหลักฐานตามประกาศกรมเจ้าท่าเพื่อใช้ประกอบการประเมินคุณสมบัติด้วย

ข้อ 52 ผู้ขอรับประกาศนียบัตรรับรองตามข้อ 51 จะต้องได้รับประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความสามารถซึ่งออกโดยรัฐภาคีที่ได้ทำข้อตกลงว่าด้วยการรับรองประกาศนียบัตรไว้กับประเทศไทย

ให้อธิบดีมีอำนาจทำข้อตกลงว่าด้วยการรับรองประกาศนียบัตรซึ่งออกโดยรัฐภาคีอื่นตามวรรคหนึ่งได้

ข้อ 53 ประกาศนียบัตรรับรองตามข้อ 51 จะกำหนดให้ผู้ขอสามารถทำการบนเรือไทยได้ในระดับชั้นที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของผู้ขอ

ข้อ 54 ผู้ขอรับประกาศนียบัตรรับรองตามข้อ 51 เพื่อทำงานบนเรือไทยในระดับ นายเรือ หรือต้นเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอส หรือมากกว่า หรือ ต้นกล หรือรองต้นกลของเรือกลเดินทะเลขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 กิโลวัตต์หรือมากกว่า จะต้องมีความรู้ในเรื่องกฎหมายทางทะเลของประเทศไทยตามความเหมาะสมกับตำแหน่ง

ข้อ 55 ประกาศนียบัตรรับรองตามข้อ 51 ให้มีอายุไม่เกินสิบสองเดือน และการกำหนดเงื่อนไขในประกาศนียบัตรรับรองให้เป็นไปตามประกาศกรมเจ้าท่า ในกรณีที่ประกาศนียบัตรที่ออกโดยรัฐภาคีอื่นถูกยกเลิก เพิกถอน หรือระงับการใช้ ให้ประกาศนียบัตรรับรองดังกล่าวสิ้นอายุในวันที่ถูกยกเลิก เพิกถอน หรือระงับการใช้ไปทันที

ข้อ 56 แบบประกาศนียบัตรรับรองประกาศนียบัตรที่ออกโดยรัฐภาคีอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในผนวก 5 ของข้อบังคับนี้

Top – ขึ้นบนสุด >

ส่วนที่ 7

การฝึกอบรมและออกประกาศนียบัตรรับรองผู้ทำการในเรือเฉพาะประเภท

ข้อ 57 เรือเฉพาะประเภทในข้อบังคับนี้ ได้แก่

(1)   เรือบรรทุกน้ำมัน

(2)   เรือบรรทุกสารเคมี

(3)   เรือบรรทุกก๊าซเหลว

(4)   เรือบรรทุกผู้โดยสารและล้อเลื่อนเดินทะเลระหว่างประเทศ

(5)   เรือบรรทุกผู้โดยสารเดินทะเลระหว่างประเทศ

ข้อ 58 การฝึกอบรมและการออกประกาศนียบัตรรับรองผู้ทำการในเรือบรรทุกของเหลวในถังระวางเป็นตามข้อกำหนดดังนี้

(1)  นายเรือ นายประจำเรือและลูกเรือผู้ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เฉพาะและมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับสินค้าหรืออุปกรณ์ทำงานสินค้าบนเรือบรรทุกของเหลวในถังระวาง นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การออกประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถ และ/หรือ ประกาศนียบัตรฝึกอบรมตามข้อบังคับนี้แล้ว จะต้องผ่านการฝึกอบรมและการปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้

(1.1)    ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการดับไฟที่กรมเจ้าท่ารับรองหรือหลักสูตรการดับไฟชั้นสูงตามที่กำหนดไว้ในผนวก 3 ตารางที่ 6 ของข้อบังคับนี้

(1.2)    มีระยะเวลาปฏิบัติงานบนเรือบรรทุกของเหลวในถังระวางอย่างน้อยสามเดือน โดยได้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของเรือและความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนเรือ หรือ

(1.3)    ผ่านการฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองตามหลักสูตรพื้นฐานเรือบรรทุกของเหลวในถังระวางตามที่กรมเจ้าท่ากำหนด

(2)  นายเรือ ต้นกล ต้นเรือ รองต้นกล และบุคคลซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการบรรทุกขนถ่ายและดูแลสินค้าในขณะเดินทางหรือปฏิบัติงานสินค้าบนเรือบรรทุกของเหลวในถังระวางจะต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

(2.1)   ผ่านการฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองตามหลักสูตรความปลอดภัยบนเรือบรรทุกของเหลวในถังระวางชั้นสูง สำหรับเรือบรรทุกน้ำมันหรือสารเคมีหรือก๊าซเหลวซึ่งอาจรวมถึงการใช้เครื่องฝึกจำลองการทำงานสินค้าเหลว และผ่านการประเมินความรู้ความสามารถตามมาตรฐานที่กรมจ้าท่ากำหนด

(2.2)   มีระยะเวลาปฏิบัติงานบนเรือบรรทุกของเหลวในถังระวางอย่างน้อยสามเดือนโดยได้ทำหน้าที่ด้านการปฏิบัติงานของเรือหลังจากผ่านการอบรมตาม (2.1) ในกรณีที่จะต้องผ่านการฝึกอบรมมากกว่าหนึ่งประเภท อธิบดีมีอำนาจกำหนดระยะเวลาปฏิบัติงานบนเรือเป็นอย่างอื่นได้

(3)  นายเรือ นายประจำเรือและบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องตาม (2) ผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตาม (1) และ (2) ให้นำเอกสารหลักฐานมายื่นต่อกรมเจ้าท่าเพื่อออกประกาศนียบัตรรับรองผู้ทำการในเรือเฉพาะประเภท

(4)  ประกาศนียบัตรรับรองผู้ทำการในเรือเฉพาะประเภท ให้มีอายุห้าปี และในการต่ออายุประกาศนียบัตรนี้ นายเรือ นายประจำเรือและลูกเรือต้องแสดงหลักฐานว่ามีระยะเวลาปฏิบัติงานบนเรือบรรทุกของเหลวในถังระวางประเภทใดก็ตามมาแล้วอย่างน้อยสามเดือนหรือมีประสบการณ์ทำงานที่เทียบเท่ากับการปฏิบัติงานบนเรือดังกล่าวมาแล้ว ในช่วงเวลาห้าปีที่ผ่านมา และการต่ออายุในคราวหนึ่งไม่เกินห้าปี

(5)  ในกรณีที่ประกาศนียบัตรผู้ทำการในเรือเฉพาะประเภทไม่สามารถต่ออายุเนื่องจากขาดคุณสมบัติตาม (4) นายเรือ นายประจำเรือหรือบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องจะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรเรือบรรทุกของเหลวในถังระวางตาม (2.1) ของข้อนี้

ข้อ 59 การฝึกอบรมและการออกประกาศนียบัตรรับรองผู้ทำการในเรือเฉพาะประเภทอื่น นอกจากเรือบรรทุกของเหลวในถังระวางให้เป็นไปตามที่กรมเจ้าท่ากำหนด

Top – ขึ้นบนสุด >

ส่วนที่ 8

การฝึกอบรมความปลอดภัยและการฝึกความคุ้นเคยสำหรับการทำหน้าที่ในเรือ

ข้อ 60 บุคคลใดก่อนได้รับการมอบหมายหน้าที่บนเรือ บุคคลนั้นต้องได้รับการฝึกความคุ้นเคยกับการทำการบนเรือเสียก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นผู้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการดำรงชีพในทะเล และสถานการณ์ฉุกเฉินตามรายละเอียดที่กรมเจ้าท่ากำหนด

ข้อ 61 คนประจำเรือไทยและคนประจำเรือทุกคนในเรือไทยจะต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรพื้นฐาน ความปลอดภัยดังต่อไปนี้

(1)   การดำรงชีพในทะเล

(2)   การป้องกันและการดับไฟ

(3)   การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

(4)   ความปลอดภัยของบุคคลและความรับผิดชอบต่อสังคม

รายละเอียดของหลักสูตรให้เป็นไปตามผนวก 3 ตารางที่ 1 ตารางที่ 2 และตารางที่ 4 ของข้อบังคับนี้ตามลำดับ

ข้อ 62 คนประจำเรือทุกคนที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ปล่อย หรือประจำยานชูชีพ หรือเรือช่วยชีวิตนอกเหนือจากเรือเร็วช่วยชีวิต ก่อนเข้าทำหน้าที่ดังกล่าว ต้องผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ในผนวก 3 ตารางที่ 5 ของข้อบังคับนี้

ข้อ 63 คนประจำเรือทุกคนที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการดังไฟ ก่อนเข้าทำหน้าที่ดังกล่าว ต้องผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรการดับไฟชั้นสูงตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ในผนวก 3 ตารางที่ 6 ของข้อบังคับนี้

ข้อ 64 คนประจำเรือทุกคน ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ปฐมพยาบาลบนเรือ ก่อนเข้าทำหน้าที่ดังกล่าว ต้องผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ในผนวก 3 ตารางที่ 7 ของข้อบังคับนี้

ข้อ 65 คนประจำเรือทุกคน ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาพยาบาลบนเรือ ก่อนเข้าทำหน้าที่ดังกล่าว ต้องผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ในผนวก 3 ตารางที่ 8 ของข้อบังคับนี้

ข้อ 66 บุคคลใดหรือคนประจำเรือใดเข้ารับการฝึกอบรมและผ่านการประเมินความรู้ความสามารถตามหลักสูตรฝึกอบรมที่ได้รับการรับรอง ตามกำหนดไว้ในผนวก 3 ของข้อบังคับนี้และได้รับประกาศนียบัตรฝึกอบรมให้เก็บรักษาประกาศนียบัตรฝึกอบรมดังกล่าวไว้ประจำบนเรือเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้

ข้อ 67 ในการสมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของฝ่ายเดินเรือและฝ่ายช่างกลตามข้อบังคับนี้ ตั้งแต่ชั้นนายประจำเรือขึ้นไป ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องต้องแสดงประกาศนียบัตรฝึกอบรมตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ตามความเหมาะสม การบันทึกข้อมูลของประกาศนียบัตรฝึกอบรมต่าง ๆ ของบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้กรมเจ้าท่าและเจ้าของเรือ ผู้จัดการหรือบริษัทที่ว่าจ้างนายเรือ นายประจำเรือต่าง ๆ นั้น มีหน้าที่จัดเก็บบันทึกข้อมูลนี้

Top – ขึ้นบนสุด >

ส่วนที่ 9

ค่าธรรมเนียม

ข้อ 68 ค่าธรรมเนียมการขอรับประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถในฝ่ายเดินเรือ ให้เรียกเก็บในอัตราต่อไปนี้

1)ประกาศนียบัตรนายเรือ ของเรือกลเดินทะเล ขนาด 3,000 ตันกรอสหรือมากกว่า5,000 บาท
(2)ประกาศนียบัตรนายเรือ ของเรือกลเดินทะเล ขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส5,000 บาท
(3)ประกาศนียบัตรต้นเรือ ของเรือกลเดินทะเล ขนาด 3,000 ตันกรอสหรือมากกว่า4,000 บาท
(4)ประกาศนียบัตรต้นเรือ ของเรือกลเดินทะเล ขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส4,000 บาท
(5)ประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือ ของเรือกลเดินทะเล ขนาด 3,000 ตันกรอสหรือมากกว่า3,500 บาท
(6)ประกาศนียบัตรนายเรือ ของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง ขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส4,000 บาท
(7)ประกาศนียบัตรต้นเรือ ของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส3,500 บาท
(8)ประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง ขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส3,000 บาท
(9)ประกาศนียบัตรนายเรือ ของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง ขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส1,000 บาท
(10)ประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง ขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส800 บาท
(11)ประกาศนียบัตรลูกเรือเข้ายามสะพานเดินเรือ ของเรือกลเดินทะเล500 บาท

ข้อ 69 ค่าธรรมเนียมการสอบขอรับประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถในฝ่ายช่างกลให้เรียกเก็บในอัตราต่อไปนี้

(1)ประกาศนียบัตรต้นกล ของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน  3,000 กิโลวัตต์หรือมากกว่า5,000 บาท
(2)ประกาศนียบัตรต้นกล ของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน  750 – 3,000 กิโลวัตต์4,500 บาท
(3)ประกาศนียบัตรรองต้นกล ของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน  3,000 กิโลวัตต์หรือมากกว่า4,000 บาท
(4)ประกาศนียบัตรรองต้นกล ของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน  750 – 3,000 กิโลวัตต์3,500 บาท
(5)ประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายช่างกล ของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน  750 กิโลวัตต์หรือมากกว่า3,000 บาท
(6)ประกาศนียบัตรลูกเรือเข้ายามฝ่ายช่างกล ของเรือกลเดินทะเล500 บาท

ข้อ 70 ค่าธรรมเนียมการสอบแก้ตัวในการสอบประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถให้เรียกเก็บในอัตราต่อไปนี้

 (1) การสอบแก้ตัวรายวิชา ๆ ละ     400 บาท

 (2) การสอบแก้วตัวในการสอบสัมภาษณ์     500 บาท

ข้อ 71 ค่าธรรมเนียมการขอรับประกาศนียบัตรรับรองและใบรับรองต่าง ๆ ให้เรียกเก็บในอัตรา  ดังนี้

 (1) ประกาศนียบัตรรับรองผู้ทำการในเรือเฉพาะประเภท       500 บาท

 (2) ประกาศนียบัตรรับรองพนักงานวิทยุในเรือเดินทะเล     1,000 บาท

 (3) ใบรับรองการฝึกอบรมและใบรับรองอื่น ๆ  500 บาท

ข้อ 72 ค่าธรรมเนียมการต่ออายุหรือออกใบแทนประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถ และการออกประกาศนียบัตรรับรองประกาศนียบัตรที่ออกโดยรัฐภาคีอื่น ให้เรียกเก็บกึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนดไว้ใน ข้อ 68 ข้อ 69 และข้อ 71 แล้วแต่กรณี

ข้อ 73 ค่าธรรมเนียมตามข้อ 68 ข้อ 69 ข้อ 70 ข้อ 71 และข้อ 72 ให้เรียกเก็บกึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนด สำหรับบุคคลผู้ที่ปฏิบัติราชการและได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย

ข้อ 74 ในกรณีที่ประกาศนียบัตรหรือใบรับรองประกาศนียบัตรสูญหายไป เนื่องจากเรืออับปาง และผู้ถือใบประกาศนียบัตรหรือใบรับรองดังกล่าวแสดงหลักฐานที่เชื่อถือได้ ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบแทนตามข้อ 72

Top – ขึ้นบนสุด >

ส่วนที่ 10

บทเฉพาะกาล

ข้อ 75 ประกาศนียบัตรที่ออกให้ตามข้อบังคับกรมเจ้าท่าว่าด้วย การสอบความรู้ผู้ทำการในเรือ พ.ศ. 2532 ให้สามารถใช้ทำการในเรือกลเดินทะเลระหว่างประเทศและเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง ได้จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 โดยการเทียบระดับชั้นประกาศนียบัตรตามตารางเทียบระดับชั้นประกาศนียบัตรฝ่ายเดินเรือและฝ่ายช่างกล ตามข้อ 77

ข้อ 76 ผู้มีประกาศนียบัตรที่ออกให้ตามข้อบังคับกรมเจ้าท่าว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ทำการในเรือ พ.ศ. 2532 ประสงค์จะขอรับประกาศนียบัตรฉบับใหม่ที่ออกให้ตามข้อบังคับนี้ให้ปฏิบัติตามบทบัญญัติในส่วนที่ 4 ของข้อบังคับนี้และประกาศนียบัตรฉบับใหม่จะออกให้ตามตารางเทียบระดับชั้นประกาศนียบัตรฝ่ายเดินเรือและฝ่ายช่างกลตามข้อ 77

ข้อ 77 ตารางเทียบระดับชั้นประกาศนียบัตรฝ่ายเดินเรือและฝ่ายช่างกล

ฝ่ายเดินเรือ

ประกาศนียบัตรทีออกให้ตามข้อบังคับกรมเจ้าท่าว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ทำการในเรือ พ.ศ. 2532ประกาศนียบัตรที่ออกให้ตามข้อบังคับกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการฝึกอบรม การสอบความรู้และการออกประกาศนียบัตรผู้ทำการในเรือ พ.ศ. 2541
1. ประกาศนียบัตรชั้น 1 (นายเรือ)1. ประกาศนียบัตรนายเรือของ เรือกลเดินทะเล ขนาด  3,000 ตันกรอสหรือมากกว่า
2. ประกาศนียบัตรชั้น 2 (ต้นหนที่หนึ่ง) (ระบุข้อกำหนดทำหน้าที่นายเรือ)2. ประกาศนียบัตรนายเรือของ เรือกลเดินทะเล ขนาด  500 – 3,000 ตันกรอส
3. ประกาศนียบัตรชั้น 2 (ต้นหนที่หนึ่ง)3. ประกาศนียบัตรต้นเรือของ เรือกลเดินทะเล ขนาด  3,000 ตันกรอสหรือมากกว่า
4. ประกาศนียบัตรชั้น 3 (ต้นหนที่สอง) (ระบุข้อกำหนดทำหน้านายเรือ)4. ประกาศนียบัตรต้นเรือของ เรือกลเดินทะเล ขนาด  500 – 3,000 ตันกรอส
5. ประกาศนียบัตรชั้น 3 (ต้นหนที่สอง)5. ประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของ เรือกลเดินทะเล ขนาด  500 ตันกรอสหรือมากกว่า
6. ประกาศนียบัตรชั้น 4 (ต้นหนที่สาม)6. ประกาศนียบัตรนายเรือของ เรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง  ขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส
7. ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือเดินในประเทศ(ไม่เกิน 1,600 ตันกรอส)7. ประกาศนียบัตรต้นเรือของ เรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง  ขนาด 500 – 3,000 ตันกรอส
8. ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือเดินในประเทศ (ไม่เกิน 250 ตันกรอส)8. ประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 -3,000 ตันกรอส
9. ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือเดินในประเทศ (ไม่เกิน 500 ตันกรอส)9. ประกาศนียบัตรนายเรือของ เรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง  ขนาด ต่ำกว่า 500 ตันกรอส
10. ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเล ชั้นหนึ่ง10. ประกาศนียบัตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง ขนาดต่ำว่า 500 ตันกรอส
11. ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเล ชั้นสอง11. ประกาศนียบัตรลูกเรือยามสะพานเดินเรือของเรือกลเดินทะเล

Top – ขึ้นบนสุด >

ฝ่ายช่างกลเรือ

ประกาศนียบัตรที่ออกให้ตามข้อบังคับกรมเจ้าท่า  ว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ทำการในเรือ พ.ศ. 2532ประกาศนียบัตรทีออกให้ตามข้อบังคับกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการฝึกอบรมการสอบความรู้และการออกประกาศนียบัตร ผู้ทำการในเรือ พ.ศ. 2541
เรือกลเดินทะเลระหว่างประเทศเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง
1. นายช่างกลเรือชั้นหนึ่ง1. ต้นกลของเรือกลเดินทะเล ขนาด กำลังขับเคลื่อน 3,000 กิโลวัตต์  หรือมากกว่า 
2. นายช่างกลเรือชั้นสอง2. ต้นกลของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 – 3,000  กิโลวัตต์ 1. ต้นกลของเรือกลเดินทะเล ใกล้ฝั่งขนาดกำลังขับเคลื่อน 3,000 กิโลวัตต์หรือมากกว่า 
3. นายช่างกลเรือชั้นสาม     นายช่างกลเรือชั้นสาม  (ชำนาญงาน)3. รองต้นกลของเรือกลเดินทะเลขนาดกำลังขับเคลื่อน 3,000 กิโลวัตต์หรือมากกว่า2. ต้นกลของเรือกลเดินทะเล ใกล้ฝั่งขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 – 3,000 กิโลวัตต์
4. -ไม่มีในข้อบังคับ4. รองต้นกลของเรือกลเดินทะเลขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 – 3,000  กิโลวัตต์3. รองต้นกลของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาดกำลังขับเคลื่อน 3,000 กิโลวัตต์หรือมากกว่า
5. คนใช้เครื่องจักรยนต์ ชั้นหนึ่งพิเศษ    คนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษ (ชำนาญงาน)5. นายประจำเรือฝ่ายช่างกลของเรือกลเดินทะเล ขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 กิโลวัตต์หรือมากกว่า4. รองต้นกลของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง ขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 – 3,000 กิโลวัตต์
6. -ไม่มีในข้อบังคับ 5. นายประจำเรือฝ่ายช่างกลของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาดกำลังขับเคลื่อน750 กิโลวัตต์หรือมากกว่า
7. -ไม่มีในข้อบังคับ6. ลูกเรือเข้ายามฝ่ายช่างกลของเรือกลเดินทะเล 
8. คนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่ง 6. ลูกเรือเข้ายามฝ่ายช่างกลของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง

ข้อ 78 ให้อธิบดีกรมเจ้าท่าเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศเพื่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้

ประกาศ  ณ  วันที่  21  ตุลาคม  พ.ศ.  2541

จงอาชว์   โพธิสุนทร

อธิบดีกรมเจ้าท่า

หมายเหตุ  อักษรตัวเน้นขีดเส้นใต้ เป็นข้อความที่อยู่ในระหว่างดำเนินการขอแก้ไขเพิ่มเติมตามข้อบังคับการฝึกอบรม การสอบฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542

Share the Post: