โดย เรือเอก ตระกูล พุ่มเสนาะ Bsc. MNI.
Master Mariner Lloyd’s Register Fairplay: non-exclusive correspondents in Thailand
ข้อมูลในด้านการพาณิชย์นาวี มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน และในปัจจุบันเพิ่มความหลากหลาย และเมื่อ กล่าวกันไปแล้ว ก็คงหนีคำว่า “ Lloyds” ไม่พ้น แต่ ในยุคปัจจุบัน ก็มีแหล่งข่าว ต่างๆ ที่ บางแห่งก็เป็นการทั่วไป เช่น Lloyds,Fairplay,Bimco,Janes,Tradewind + etc. หรือ ที่ เกิดขึ้นใหม่ เช่น Seatrade, Tradewind, The Nautical Institute, Containerisation, + etc. และมีการพัฒนา ดัดแปลง จากเอกสารที่เป็น รูปเล่ม มาเป็น diskettes, และ CD-ROM ตลอดจน การ ใช้ระบบ Internet โดยการพุ่งเข้าหาข่าวสาร แบบ เปลี่ยนข้อมูลทุกวัน ทุกชั่วโมงและจะเป็นทุก วินาที ในอนาคต และสดๆร้อนๆ ที่,ร่วม ทุน กัน ระหว่าง Lloyds กับ Fairplay ในสัดส่วน 50/50 ตั้งชื่อบริษัทแห่งใหม่นี้ว่า “ Lloyd’s Register Fairplay “ ซึ่งมีหน้าที่ในการ จัดพิมพ์ ในเรื่องทั้งหมดที่ ทำโดย Lloyd’s Marine Information Publishing Group ( ตามที่ทราบแต่ก่อนในนาม ของ “ MIPG” ในหัวข้อที่ 4 ข้างล่าง) และ FAIRPLAY และ Website คือ http://www.lrfairplay.com และสามารถ เข้าไปหาข้อมูล ดังเช่น Internet Ship Register ของ Fairplay ท่านก็จะทราบข้อมูลของเรือที่ท่านต้องการทันที และถ้าท่านเป็นสมาชิก ท่านก็จะได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์ ยิ่งขึ้น
Lloyds :
ช่วงแรกจะขอแนะนำ ท่านไปรู้จัก กับ Lloyds ถือกำเนิด จากร้านกาแฟ ในกรุงลอนดอน ที่เป็นถิ่นของผู้คนในสมัยนั้นที่มีกิจการทางพาณิชยนาวี แม้จะมีการพยายามล้มล้างจาก ด้านการเมือง แต่ไม่สำเร็จ ร้านกาแฟที่ มี Edward Lloyds ถือกำเนิดที่ Tower Street, ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่า ร้านนี้เปิดขึ้นเมื่อใด แต่จากหนังสือ London Gazette ของวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1688 บันทึกไว้ว่า เป็นแหล่งที่จะให้เงินรางวัลให้ กับผู้ที่คอยเฝ้าดูของที่ขโมยมาจาก Edward Bransby สถานที่ของร้านกาแฟ ลอยด์ ดูเหมือนจะมีทำเลดีกับการค้าขายทางทะเล เพราะอยู่ใกล้แม่น้ำเทมส์ และใกล้กับทะเล ซึ่งเป็นถิ่นที่ สำหรับพ่อค้าวาณิช เจ้าของเรือมาพบ ปะ กัน และเริ่ม การเจรจา กัน และรับประกันภัย ตัวเรือ และสินค้าที่ ขนไปกับเรือ และการดำเนินการธุรกิจ ในกลิ่นอาย บรรยากาศ ของการดื่มกาแฟ พร้อมกับการบรรลุข้อตกลง / ชดใช้ตามสัญญาระหว่างกัน อย่างดี มาในศตวรรษที่ 17 จนทำให้เป็นที่ประทับใจและกลับกลาย เป็น ศูนย์กลางของการรับประกันภัย
ต่อมาในปี 1696 เขาได้ออกหนังสือพิมพ์ที่เรียกว่า Lloyd’s News เป็นฉบับแรก แต่ไม่สำเร็จต่อเนื่อง เพราะเขาตายเมื่อปี 1713 และหนังสือพิมพ์ ประจำวัน ของ Lloyds ที่ถือว่ามี ต่อเนื่องต่อมาตลอดคือ Lloyd’s List ที่เริ่มออกมาปรากฏให้เห็นในปี 1734 ในปี 1769 หลังจากที่ธุรกิจตามแบบของ Lloyds ได้รับการพัฒนาและเป็นที่ เชื่อถือ ยอมรับมาทุกขณะ Lloyds จึงย้ายมาอยู่ ที่ ร้านกาแฟใหม่ ที่ชื่อว่า Thomas Fielding ที่อยู่ใน Pope’s Head Alley ที่ถือว่าเป็น “ ร้านกาแฟ แห่งใหม่ของ ลอยด์ ” สองปีต่อมาได้มีการตั้งสมาคมลอยด์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมี Martin Kuyek Van Mierop เป็นประธานคนแรก ระหว่าง ปี 1771-1777
โดยกลุ่มบุคคลที่เป็น พ่อค้า นายหน้า และ ผู้รับประกันภัยรวม 79 ราย ด้วยการลงทุนครั้งแรก รายละ 100 ปอนด์ เก็บไว้ที่ Bank of England และต่อมาได้มีการควบคุมตามข้อบังคับที่ออกเป็นกฎหมายโดยสภาอังกฤษในปี 1871 และสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเมื่อพิจารณาดูแล้ว คำว่า “ลอยด์ ” อาจจะ มีความหมายเฉพาะในเรื่องการประกันภัย และนายหน้าประกันภัย เท่านั้น แต่ในส่วนของลอยด์ แห่งลอนดอนแล้ว ก็มี หน่วยงานต่อเนื่อง เป็นการ ช่วยเหลือ กับการทำงาน ซึ่ง สรุปมาได้ดังต่อไปนี้
1. Lloyds of London
2. Lloyd’s of London Press Publications and services
3. Lloyd’s Intelligence Department
4. Lloyd’s Maritime Information Services
5. Lloyd’s Insurance Broker
6. Lloyd’s Agency System
7. Lloyd’s Agents and their Sub-Agents
8. Lloyd’s Agents Business Announcements
9. Lloyd’s Register of Shipping
10. Lloyd’s Register of Ship
อย่างไรก็ดี มิใช่ว่าคำว่า “ลอยด์” จะเป็น เครื่องหมายการค้าที่จะไม่มีใครนำไปใช้อีกไม่ได้ แต่ปรากฏว่า มีหลายประเทศในโลกได้ใช้คำว่า Lloyds อย่างดาษดื่น ดังที่ปรากฏให้เห็น เช่น Germanischer Lloyds ซึ่งเป็นชื่อสถาบันเรือ (Classification Society) ของ เยอรมัน หรือ Triokalloyds, P&O Neddlloyds, Djarkatalloyds ซึ่ง เป็น ชื่อ บริษัทสายการเดินเรือในประเทศ อิตาลี, เนเธอร์แลนด์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่า ไม่มี การเกี่ยวข้องกับ “ลอยด์” เลย เพื่อความเข้าใจในเรื่องของ ลอยด์ ให้ดีขึ้น จึงขอแยกอธิบายโดยย่อใน เรื่องของ ลอยด์ ดังนี้
1. Lloyd’s of London : (ดังกล่าวมาแล้ว) เป็นตลาดการประกันภัย ที่ใหญ่แห่งหนึ่งในโลก ซึ่งสามารถรับประกัน ได้แทบทุกชนิด ตั้งแต่ สินค้า เรือ เครื่องบิน โรงงานอุตสาหกรรม โรงงาน แหล่งขุดเจาะ โรงกลั่น ฯลฯ และได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ปัจจุบันมี เงินหมุนเวียน ไป มาประมาณ 25 ล้านปอนด์ ต่อวัน ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ลักษณะของลอยด์เป็นสมาคมของผู้รับประกันภัย ปัจจุบัน มีสมาชิกประมาณ 26,000 ราย และแบ่งออกเป็น 350 กลุ่ม(Syndicate) ในแต่ละปีมีการประกันภัยที่เข้ามาในตลาดของ “ลอยด์” ประมาณ 11,400 ล้านปอนด์ อังกฤษ
2. Lloyd’s of London Press Publications and Services : ซึ่งทาง Lloyds ถือว่าเป็นงานทางด้านข่าวสารชิ้นโบว์แดงของ ตน โดยในปัจจุบันได้พยายามจัดทำทั้งทางด้านสิ่งพิมพ์ และพัฒนาเข้าสู่ระบบอีเล็กโทรนิคส์ เอกสารสิ่งพิมพ์ที่เริ่มตั้งแต่ Lloyds News ในสมัยที่ Edward Lloyds ยังมีชีวิตอยู่ จนกระทั่งเริ่มต้นเป็น Lloyd’s List ที่เป็นหนังสือพิมพ์ประจำวัน , Lloyd’s Shipping Index: เป็นหนังสือรายสัปดาห์ที่บอกตำแหน่งที่ เรือประมาณ 24,000 ลำ ที่แล่นอยู่ในทะเล , Lloyds Voyage Record: เป็นคู่มือ สำหรับเรือที่แล่นมาสำหรับ แปดท่าสุดท้าย, Lloyd’s Casualty Report : รายงานที่เกี่ยว กับเรือประสบภัย โดยแนบไปกับ Lloyd’s List, Lloyd’s Ship Manager,Lloyd’s Shipping Economist (มีอยู่ในห้องสมุดอาจารย์สังเวียนฯ คณะพาณิชย์ศาสตร์ และการบัญชี ม.ธรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์), Lloyd’s Maritime Law Newsletter + etc.
3. Lloyd’s Intelligences Department : เป็นหน่วยงานที่ใช้ในการรวบรวมข่าวสาร และจัด ทำรายงาน เพื่อประโยชน์ให้กับวงการประกันภัย และผู้ประกอบการพาณิชยนาวี ในทุก ปี ทางหน่วยนี้จะรับทราบการเคลื่อนที่ของเรือทั้งหมดกว่า สองล้านลำ และมีข่าวสารของ เรือมากกว่า 44,000 ลำ ทุกปี แผนกนี่จะทำราบงานส่งให้กับ ผู้รับประกันภัย ประมาณ 14,000 รายในแต่ละปี นอกจากนั้นยังให้ข่าวสาร(Search & Rescue) แก่เจ้าของเรือ ที่เรือของตนประสบ ภัยหรือไม่เข้า ท่า ตามกำหนด หน่วยนี้ทำงาน 24 ชั่วโมง จึงมี หน้าที่ให้ข่าวสารเร่งด่วน ในกรณีที่เรือประสบภัยด้วย
4. Lloyd’s Maritime Information Publishing Service (Group)*: เป็นหน่วยงานที่ประสานกันระหว่าง Lloyd’s Register of Shipping กับ Lloyd’s of London Presss : เพิ่งเริ่มทำงานร่วมกันเมื่อ ปี 1986 ซึ่งจะให้ข่าวสารของเรือต่างๆที่มีขนาดตั้งแต่ 100 ตันกรอสขึ้นไป ว่าอยู่ในสภาพอย่างใด เช่น ใครเป็นเจ้าของ หรือ มีการขายเปลี่ยนมือไป หรือ ตัดทำลายไปแล้ว เป็นต้น และยังมี Seadata และมี Software ต่างๆ ที่ใช้หาข้อมูลของเรือและส่วนที่เกี่ยวเนื่องด้วย
5. Lloyd’s Insurance Broker : คือ บรรดาบริษัท หรือผู้ที่ทำหน้าที่ เป็นนายหน้าประกันภัย ที่ Lloyd’s of London ยอมให้ บริษัทฯเหล่านั้นทำหน้าที่เป็นนายหน้า โดยผ่านทาง Syndicate ต่างๆ ได้
6. Lloyd’s Register System : ระบบเอเย่นต์ของ Lloyds ที่ตั้งมานาน ตั้งแต่ปี 1811 โดยที่เป็นแหล่งให้ข่าวสารสดๆ มายัง Lloyd’s of London หน้าที่ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของ Lloyd’s คือการตรวจสำรวจ ความเสียหาย ของเรือหรือสินค้า ในเมืองท่าต่างๆในโลกที่มีเอเย่นต์ของ Lloyds ประจำอยู่
7. Lloyd’s Agents and their Sub-Agencies : เป็นชื่อของผู้แทน หรือ บริษัทที่เป็นตัวแทนของลอยด์ ที่อยู่ในเมืองท่าต่างๆ
8. Lloyd’s Agents Business Announcement : เป็น ลักษณะของ การโฆษณาของบริษัทฯผู้แทน ของ Lloyd เหล่านั้น หรือในทำนอง ที่เป็นการแจ้ง ขอบเขต ของการประกอบกิจการ
9. Lloyd’s Register of Shipping : เป็นลักษณะ การทำงานของ Classification Society ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับใคร เพราะทำงานเป็นอิสระในเรื่องของ สถาบันชั้นเรือ และเป็นสมาชิกของ IACS
10. Lloyd’s Register of Ships *: เป็นเอกสารที่รวบรวม ชื่อเรือและรายการสำคัญของเรือต่างๆในโลกที่มีขนาด 100 ตันกรอส ขึ้นไป ซึ่งจะได้กล่าวละเอียดต่อไป ใน Lloyd’s Register of Ships : ซึ่งเป็น เอกสารชุด ที่รวบรวม ชื่อเรือ ที่มีขนาด ตั้งแต่ 100 ตันกรอส ทั้งหมดของโลก ในทุกสถาบันชั้นเรือ เอกสาร ๅ ชุด มี 3 เล่ม เริ่มตั้งแต่ A-G, H-Q ,และ P-Z และ มี การแปลความหมายของคำย่อต่างๆ เป็นหมวดหมู่ ซึ่ง จะเรียนรู้ได้จาก ตัวอย่าง ซึ่ง จะทำให้เข้าใจดีขึ้น ปกติจะมีการแก้ใขข้อมูลให้สำหรับสมาชิกที่ซื้อไปทุก สามเดือน
Fairplay Publications : เป็นแหล่งข่าสารอีกแห่งหนึ่งที่ถือกำเนิดมาตั้ง 18 พฤษภาคม 1883 โดยมี Thomas Hope Robinson ซึ่งเป็นนักเขียน และเป็นนักเดินเรือที่ชำนาญ Fairplay ถือกำเนิดในรูปเล่มของหนังสือพิมพ์ราย สัปดาห์ ที่มีหัวข้อเรื่อง ในเรื่องที่เกี่ยวพันธ์กับธุระกิจ ด้านการขนส่งทางเรือแทบทุกเรื่อง เพื่อประโยชน์ในการ ให้ความเป็นกลาง และเป็นธรรม Thomas สร้าง Fairplay ขึ้นมาจากการไปยืมเงินจากเพื่อนมา 300 ปอนด์ และได้รับความสนใจ สามารถนำเงินคืนเพื่อนได้ในเวลาหกเดือนต่อมา ขณะนี้ Fairplay มีอายุมากกว่า 119 ปี
Fairplay ในวันนี้ หรือเมื่อผ่าน สัปดาห์ที่ หกพัน มาแล้ว ซึ่งจะเห็นว่า เป็นแหล่งข่าวสาร หลากหลาย ตั้งแต่ หนังสือประเภทตำรา จนถึง Fairplay Electronic ที่สามารถ ปรับข้อมูลให้ ประจำวัน ในบริการทาง Internet ในการ ดูข่าวสาร ของเรือแต่ละลำ ซึ่งมีข้อมูลที่ให้มากกว่า ที่มีอยู่ใน Lloyd’s Register of Ships. และเนื่องด้วยทางผู้เขียนมี software ในส่วนของ Fairplay อยู่บ้างจึงขอนำมาเป็นเครื่องมือการสอน และทดสอบ ความเข้าใจของนักศึกษาไปในตัว แต่นักศึกษาต้องไม่ลืมว่า การเปรียบเทียบ ข้อมูลข่าวสาร จากหลายแหล่งของ แหล่งข่าว ย่อมจะได้รับข่าวสารที่ถูกต้องและมี ความสมบูรณ์อยู่เสมอ การศึกษาในห้องเรียนจึงเสมือนการปูพื้นฐานทางข้อมูลข่าวสาร ที่นับวันที่จะมีการแข่งขันกันอย่างสูง ซึ่งนักศึกษาแต่ละท่านที่ออกไปทำงานแต่ละแห่งจะคิดหา และเปรียบเทียบ ในด้านคุณภาพ เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไป โดยเฉพาะการค้นหาใน ระบบ Internet แบบที่ต้องเข้าเป็นสมาชิกด้วยจะได้ประโยชน์มาก และคุ้มค่า แต่ต้องตรวจดูด้านคุณภาพของข่าวสารด้วย
จากที่กล่าวมาทั้งหมด ในเรื่องของ Lloyds และ Fairplay ซึ่งบัดนี้ กลายเป็นแหล่งข่าวสาร ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นที่ยอมรับขององค์กรต่างๆ ทางการพาณิชยนาวี โดยที่ใช้อาศัยเป็นข้อมูลในทุกๆ ด้าน และเป็นการประหยัด ที่ไม่ต้องไปเที่ยวซื้อข้อมูลที่ซ้ำกันใน แหล่งข้อมูลอื่น เพราะ เพียง ข้อมูลของ Lloyds + Fairplay ก็สมบูรณ์และเปี่ยมล้นอยู่แล้ว และไม่มีอะไรยากอีกแล้วสำหรับข้อมูล ทางพาณิชย์นาวี ที่ ในอดีตมักจะถูกกล่าวหาว่า เป็นความยากลำบาก ในการหาข้อมูล แต่ในปัจจุบัน ท่านอาจหาได้ เมื่อ “ ใช้ภาษาอังกฤษ เพื่ออ่าน และเข้าใจได้ พร้อมกับ ยอมเสียค่าสมาชิก บ้างในเรื่องที่มีประโยชน์และคิดว่า คุ้มค่า อย่าใช้เฉพาะข้อมูลฟรีเท่านั้น ซึ่งถ้าหากตระหนี่เช่นนั้นแล้ว ท่านเองก็ก้าวไม่ทันคนอื่น และจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่ตลอดไป ”