marinerthai

ส่งตรงจากห้วงจักรวาล! สุดยอด ภาพดาราศาสตร์ 2552

าก หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน  วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ห้วงอวกาศและจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล ยังมีมิติลี้ลับมหัศจรรย์อีกมากมายรอให้ “มนุษย์” สำรวจ หนึ่งในศาสตร์แห่งการไขปริศนาจักรวาลก็คือ การใช้เทคโนโลยี “กล้องโทรทรรศน์” ทั้งบนพื้นโลกและส่งไปโคจรในอวกาศค้นหาคำตอบ ซึ่งตลอดปีที่ผ่านมามีภาพดาราศาสตร์สุดสวยงามตระการตาและโดดเด่น ดังนี้

1. ก่อร่างสร้างดาว

ภาพจากกลุ่มเนบิวลา หรือ กลุ่มก๊าซและฝุ่นผงในอวกาศ มีชื่อว่า “30 โดเรดัส เนบิลวา” ภายในกำลังเกิดการก่อตัวของดาว “อาร์ 136” (กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล)

2. เนบิวลา”ไอริส”

พื้นที่ฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของกลุ่มเนบิวลา “ไอริส” มองดูเหมือนภาพผ้าไหมนุ่มละมุน ประดับประดาด้วยประกายแสงสว่างจากอัญมณี (กล้องฮับเบิล)

3. สีสันหมู่ดาว

สีสันความเคลื่อนไหวในหมู่ดาว “แคสซิโอเปีย” โดยกลุ่มก๊าซในภาพนี้เรียกว่า กลุ่ม “ไอซี 1795” ห่างจากโลก 6,000 ปีแสง (กล้องฮับเบิล)

4. แมงกะพรุนเรืองแสง

กาแลกซี หรือ ดาราจักร “คาร์ทวีล” ดูคล้ายแมงกะพรุนเรืองแสงลอยอยู่ในจักรวาล ภาพๆ นี้ได้จากการนำภาพจากกล้องฮับเบิล กกล้องโทรทรรศน์สปิตเซอร์ กล้องจันทราเอ็กซ์เรย์ มาประกอบเข้าด้วยกัน

5. ผีเสื้ออวกาศ

กล้องฮับเบิลบันทึกภาพวัตถุในอวกาศ มีลักษณะเหมือนกับผีเสื้อกำลังกระพือปีกโผบิน (กล้องฮับเบิล)

6. “ปู”ทรงพลัง

เนบิวลา รหัส “เอ็ม 1” หรือ “แคร็บ เนบิวลา” ซึ่งแปลว่า “เนบิวลารูปปู” ภายในมีพลังงานอัดแน่นสูงพอๆ กับพลังงานจากดวงอาทิตย์ 100,000 ดวงรวมกัน (กล้องจันทรา)

7. แรงระเบิด

ภาพการระเบิดพุ่งพล่านภายในกลุ่มก๊าซ “คารินาเนบิวลา” (กล้องฮับเบิล)

8. ดาวร้อนแรง

แสงเปล่งประกายออกมาจากกลุ่มเนบิวลา “เอ็นจีซี 6164” ภายในมีดาวกลุ่ม “โอ” (O-type Star) ตั้งอยู่ โดยมีมวลและความร้อนสูงมากกว่าดาวอาทิตย์ประมาณ 40 เท่า และคาดว่าดาวดวงนี้มีอายุไม่ต่ำกว่า 3-4 ล้านปี

9. “ดาราจักร”ประสานงา

กล้องฮับเบิลและกล้องสปิตเซอร์จับภาพจังหวะกาแล็กซี่ หรือ ดาราจักร 2 แห่งเคลื่อนเข้าชนกัน นักดาราศาสตร์เรียกพื้นที่ในจักรวาลตรงจุดนี้ว่า “เอ็นจีซี 6240”

10. กาแล็กซี่คู่หู

ความงามของกาแล็กซี่ หรือ ดาราจักร 2 แห่งที่อยู่เคียงคู่กัน นั่นคือ “เอ็นจีซี 5194” ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า และ “เอ็นจีซี 5195” ดูเผินๆ อาจเหมือนอยู่ใกล้ๆ กัน แต่ความจริงแล้วศูนย์กลางดาราจักรทั้ง 2 แห่งนี้ห่างกันราวๆ 31 ล้านปีแสง

Share the Post: