marinerthai

ย้อนเวลาตามหา… โรงเรียนนายเรือ แหล่งผลิตรากแก้ว ‘ลูกประดู่’

จาก ประชาชื่น ในเครือมติชน วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ชายไทยว้ยฉกรรจ์ผมสั้นเกรียน จอนผมเกลาเกลี้ยงระดับสายตา กายกำยำสมส่วนสวมชุดขาว รองเท้าค้ตชู สวมหมวกติดตรา “สามสมอ” ขณะที่ในมีอถึอกระเป้าเจมส์บอนด์ไว้ข้างตัว ยีนตัวตรงชนิดอกผายไหล่ผึ่ง หน้าตรงคอตั้ง อยู่แถวป้ายรถเมล์คล้ายกำลังจะกลับบ้าน

ไม่ช้ารถเมล์จอดเทียบ เขาเดินขึ้นรถไป ที่นั่งบนรถว่างที่สองที่ แต่เขากลับเลือกยืนท้าลมที่กำลังโบกพัดเข้ามาตามช่องหน้าต่าง

นั่นคือ “นักเรียนนายเรือ” ที่มีโอกาสพบเห็น

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฤดูร้อน ปี 2557

โรงเรียนนายเรือ อ.ปากนํ้า จ.สมุทรปราการ คีอที่ตั้งถาวรของบรรดา “ลูกประดู่” ‘ที่เมึ่อเรียนจบจะติดยศนายทหารชั้นลัญญาบัตร บนเนี้อที่สี่เหลี่ยมผีนผ้า 137 ไร่ ด้านยาวขนาบด้วยแม่นํ้าเจ้าพระยา จ้ดเป็นส่วน ‘หลังบ้าน’ ซึ่งเหมาะกับการฝึกหัดศึกษาวิชาการเกี่ยวกับ ‘ทหารเรือ’

ป้จจุบันโรงเรียนนายเรือได้จัดหลักสูตรการศึกษาเป็น 3 ส่วน

ได้แก่ ส่วนแรก วิทยาการอุดมศึกษา เป็นการเรียนการสอนแบบฟังการบรรยายควบคู่ไปกับการฝึกปฏิบัติ

ส่วนที่สอง วิชาชีพทหารเรือ ประกอบด้วยการศึกษาภาควิชาการที่เกี่ยวข้องกับอาชีพทหารเรือโดยตรง การฝึกภาคทะเลบนเรือในน่านน้ำไทย น่านนํ้าสากล และน่านน้ำต่างประเทศ

และส่วนสุดท้าย การอบรมลักษณะผู้นำและคุณธรรมของนายทหาร ประกอบด้วยการฝึกศึกษาด้านพลศึกษา ลักษณะผู้นำ คุฌธรรมและจริยธรรม

“การสร้างนักเรียนนายเรือนั้นมีหลักการตามแนวบันได 4 ขั้น ตั้งแต่นักเรียนนายเรีอชั้นหนึ่ง ฝึกเป็นผู้ตาม ชั้นสอง ฝึกการสังเกตและแนะนำการปฏิบัติ ชั้นสาม เริ่มฝึกการเป็นผู้นำ ชั้นสี่ ฝึกการเป็นผู้นำ โดยฝึกควบดู่กับแนวคิด 3 เสาหลัก คีอ สร้างคุณภาพวิชาการอุดมศึกษา วิชาชีพ และคุณธรรมจริยธรรม

“นักเรียนนายเรีอที่สอบความรู้ผ่านตามหลักสูตรโรงเรียนของนายเรีอ จะแยกย้ายไปตามพรรคเหล่าต่างๆ คีอ พรรคนาวิน เป็นเหล่าที่ปฏิบัติงานอยู่บนเรีอรบราชนาวีไทย ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้นำเรีอ พรรคกลิน รับผิดชอบระบบขับเคลี่อนกลของเรีอปฏิบัติหน้าที่ใต้ดาดฟ้าเรือ และพรรคนาวิกโยธิน เป็นเหล่าที่รับผิดชอบการปฏิบัติการทางบกของกองทัพเรือ”

เป็นข้อมูลที่ “หนังสือ 100 ปีการเสด็จพระราชดำเนินทรงเปีดโรงเรียนนายเรือ” และ “วีดิทัศน์แนะนำโรงเรียนนายเรือ ใหม่ล่าสุด (28 เม.ย. 57)” ให้ข้อมูลไว้

นับเป็นเวลากว่า 62 ปี (ปี 2495-ปัจจุบัน) กับโรงเรียนนายเรือทึ่ตั้งอยู่บริเวณปัอมเสิอซ่อนเล็บ จ.สบุทรปราการ ที่ผลิตเหล่าทหารแห่งสายนํ้าสู่กองทัพเรือ

เบื้องหลังของแหล่งศึกษาแห่งนึ๋ที่มีอายุกว่าครึ่งศตวรรษ แต่แท้จริงแล้วมีรากอันยาวนานเกินชั่วชีวิตของคนคนหนึ่ง

ก่อนจะมาเป็นโรงเรียนนายเรือ ณ ป้อมเสีอช่อนเล็บ ราว 6 ปีเศษ

เหล่านักเรียนนายเรือ และคุณครู เรียนสอนกันทีโรงเรียนนายเรีอ เกล็ดแก้ว จ.ชลบุรี ที่ซึ่งมีชัยภูมิใกล้ฐานทัพสัตหีบ และเป็นที่เหมาะสมให้นักเรียนได้ใช้ชีวิตจริงๆ กับทะเล

ที่ตั้งโรงเรียน ณ เกล็ดแก้ว ถึงแม้จะห่างไกลจากกรุงเทพฯ ที่ ณ เวลานั้นระยะทาง 100 กว่ากิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางขาเดียวโดยเรีอกินเวลากว่า 8 ชั่วโมง แต่ก็มีปัจจัยทึ่เสัอหนุนการเรียนการสอน และการใช้ชีวิตมากกว่าแหล่งเดิมที่จากมา นั่นคือ “โรงเรียนนายเรือ สัตสืบ

โรงเรียนนายเรือ สัตหีบ บนเนื้อที่ราว 2-3 ไร่ เป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนนายเรีอชั่วคราว

ภาพมุมสูง และภาพด้านหน้าอาคาร โรงเรียนนายเรือ เกล็ดแก้ว

มีแด่ความยากลำบาก ทั้งสถานที่อยู่ อาหารการกิน เรียกได้ว่าเป็นเวลา 3 ปีเศษ ของความลำบากในภาวะสงคราม (มี.ค. 2487 – ส.ค. 2489) ภาพความสำบากเห็นได้จากคำอธิบายของครู นาวาเอกวิชิต พิชัยกุล สมัยที่เป็นนายเรือที่สัตหีบ เขียนเล่าไว้ในวารสารสามสมอ เมื่อปี 2517 ว่า

“… สมัยนั้นบริเวณนี้เต็มไปต้วยความเงียบเหงาและแห้งแล้ง โรงนอนหลังคามุงจาก ถ้าฝนตกมากๆ หลังคารั่ว … สภาพของห้องเรียนเหมือนกับโรงอาหารที่มีแต่หลังคา ไม่มีฝา ต่างกันที่ห้องเรียนมืฝากั้นระหว่างชั้นเรียนเท่านั้น โล่งโถง ลมพัดเย็นเหมือนกลางแจ้ง ถ้าครูเข้ามาพร้อมกันทุกห้อง ก็จะฟังเสืยงครูได้ยินเกือบตลอดทุกห้อง … ครูก็หายาก ติดราชการสงครามบ้าง ราชการอื่นบ้าง หาครูสอนไม่ได้บ้าง การศึกษาของนักเรียนนายเรือจึงกระท่อนกระแท่น ไม่เป็นจริงเป็นจัง คงเป็นจริงเป็นจังเฉพาะในเวลาสอบ … “

คงไมใช่เรื่องแปลกที่นักเรียนนายเรือจะรู้สิกลำบาก เมึ่อมาใช้ชีวิตที่สัตหีบ

เพราะก่อนหน้านั้นโรงเรียนของเหล่าลูก ‘เสด็จเตี่ย‘ หรือ นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งทหารเรือไทย อยู่ใน “วัง”

“วัง” ที่กล่าวถึง คือพระราชวังเดิมของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

อันเป็นที่ตั้งของโรงเรืยนนายเรือ ชื่งอยู่บนฝั่งในยุคแรกเริ่ม

ด้วยสภาพที่ตั้งติดริมนํ้าของพระราชวังเดิม และใกล้กับที่ว่าการกรมทหารเรือสามารถเดินถึงกันได้ และข้างหน้าวังสามารถจะจอดเรือฝึกห้ดได้สะดวกสบาย ทำให้ พระยาชลยุทธโยธินทร์ ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ ได้ปรารภหารือกับพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบ้ติจะใช้ที่แห่งนึ๊จัดตั้งเป็นโรงเรียนนายเรีอ

ราวต้นปี 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดให้เป็นโรงเรียนนายเรีอ

เรียกกันว่า โรงเรียนนายเรือ พระราชวังเดิม (ก.ย. 2446 – มี.ค. 2487) ซึ่งปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้กลายเป็นกองบัญชาการกองทัพเรีอ ที่กำลังมีข่าวคราวเกี่ยวกับการเตรียมปร้บปรุงภูมิทัศน์

แต่ย้อนหลังไปเมี่อ 20 พฤศจิกายน 2449

เกิดเหตุการณ์สำคัญในหน้าประวัดิศาสตร์กองทัพเรือ เนื่องจากเป็นวันที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด “โรงเรียนนายเรือ”  อย่างเป็นทางการ

ทรงบันทึกลายพระหัตถ์เป็นข้อความในสมุดเยี่ยมโรงเรียนนายเรือว่า

“วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๑๒๕

เราจุฬาลงกรณ์ ปร ได้มาเปิดโรง

เรียนนี้ มีความปลื้มใจซึ่งได้เหนการ

ทหารเรือมีรากหยั่งลงแล้ว จะเปนที่มั่น

สืบไปในภายน่า”

วันที่ 20 พฤศจิกายน ที่จึงถือเป็นวันมงคล และกำหนดให้เป็น “วันกองทัพเรือ

หากนับอายุของโรงเรืยนนายเรือ จากวันทึ่พระบาทสมเด็จพระจุลจฺอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปิดอย่างเป็นทางการ จนถึงวันนี้นับเป็นเวลากว่า 108 ปีแล้ว ที่โรงเรืยนนายเรือ ยังดำรงลมหายใจผ่านร้อนหนาวและกาลเวลาที่รุดไปข้างหน้า

จากหน้าประวัติศาสตร์ของโรงเรียนนายเรือไม่ได้หยุดเพียงแค่บนบกเท่านั้น

เพราะแทัจริง แล้วโรงเรียนนายเรือ “มีราก” มาจากนั้า

ในเอกสารประว้ติโรงเรียนนายเรีอที่ใช้ในการอ้างอิงของทหารเรือหลายสำนวน ส่วนมากระบุว่า 15 เมษายน 2441 เป็นวันจัดตั้งโรงเรียนนายเรือเป็นครั้งแรกในนาม “โรงเรียนนายทหารเรือ” ที่มีสถานที่เรียนอยู่บน “เรือหลวงมูรธาวสิตสวัสดิ์” มี นาวาโท ไชเดอลิน ชาวเดนมาร์ก เป็นผู้บังคับการเรือ และเป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายเรีอด้วย

“เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์” (ลำที่ 2) ซึ่งเป็นโรงเรียนนายทหารเรือ

แรกเริ่มมีนักเรียน 12 นาย ต่อมามีจำนวนมากขึ้น สถานที่เรียนเริ่มคับแคบ

จนปี 2443 จึงย้ายโรงเรียนขึ้นฝั่ง มาอยู่ที่นันทอุทยาน ธนบุรี และขยับไปที่ “พระราชวังเดิม” สถานที่อันเป็นมุดหมายสำคัญของโรงเรียนนายเรีอ

กว่า 1 ศตวรรษ จาก “ทะเล” ถึง “ฝั่ง” ของโรงเรียนนายเรือ สร้างนักรบทางทะเลมามากกว่า 7,000 คน

สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งนี้เป็นแหล่งผลิตนายทหารเรือชั้นสัญญาบัตรของกองทัพเรือไทย ให้สอดคล้องกับการปฎิบัติงานของกองทัพเรือทั้ง 4 มิติ ดือ บนบก ใต้น้ำ ผิวน้ำ และบนอากาศ ที่กองทัพเรือต้องเตรียมกำลังให้พร้อมทั้งในยามสงบ ยามวิกฤต และยามสงคราม

เพราะปัจจุบันมีภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ประเทศต่างๆ ให้ความสนใจ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยคุกคามที่เกิดขึ้นทางทะเล อันมีผลกระทบต่อความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล กำลังของกองทัพเรือจีงมีหน้าที่ปฏิบัติภารกิจในการป้องกันประเทศ และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในรูปแบบด่างๆ

“ทหารเรือ” มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

และโรงเรียนนายเรือ ก็ถือเป็น “แหล่งผลิตนายทหารเรือ อันเป็นรากแก้วของกองทัพเรือ

เช่นดังนักเรียนนายเรือผู้ยืนท้าลมคนนั้น …

ชายร่างกํๅยำที่ประชาชนคนไทยทุกคนหวังว่า “เขาจะเติบโตไปเป็น ‘รากแก้วกองทัพเรือ’ ด้วยเช่นกัน”

Share the Post: