marinerthai

ผู้ที่ให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเล และบทบาทหน้าที่ของผู้ให้บริการ

ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือได้แก่

บริษัทเรือหรือตัวแทนสายเดินเรือ

SEA FREIGHT FORWARDER

บทบาทและหน้าที่ของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเล มีดังนี้

A. ตัวแทนสายเดินเรือ (Ship Agent)

ตัวแทนสายเดินเรือคือผู้รับมอบอํานาจจากเจ้าของเรือ ให้เป็นผู้ดําเนินการแทนเจ้าของเรือ ณ เมืองท่าต้นทางและเมืองท่าปลายทาง ตัวแทนสายเดินเรือมีหน้าที่โดยทั่วไป ดังต่อไปนี้

– จัดหาระวางบรรทุกให้แก่ผู้นําเข้าและผู้ส่งออก

– ออกใบตราส่งสินค้าให้แก่ผู้ส่งออก

– ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้แก่ผู้นําเข้า

1. โดยทั่วไปตัวแทนสายเดินเรือจะออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้แก่ผู้นําเข้าเมื่อผู้นําเข้านําใบตราส่งสินค้าต้นฉบับไปมอบให้แก่ตัวแทนสายเดินเรือ

2. แต่ถ้าหากใบตราส่งสินค้าระบุมาจากต้นทางว่าเป็น Surrender Bill of Lading แล้ว ตัวแทนสายเดินเรือจะออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้แก่ผู้นําเข้าโดยที่ผู้นําเข้าไม่ต้องนําใบตราส่งสินค้าไปมอบ
ให้แก่ตัวแทนสายเดินเรือ แต่ต้องออกหนังสือขอรับใบสั่งปล่อยไปมอบให้แก่ตัวแทนสายเดินเรือแทนใบตราส่งสินค้าต้นฉบับ

–  ดําเนินการตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของท่าเรือที่จะนําเรือเข้าเทียบท่าเพื่อทําการรับบรรทุก (Loading) หรือ ขนถ่าย (Discharge) สินค้า

–  อํานวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ประจําเรือบนเรือ ในระหว่างที่เรือเทียบท่า ทําการรับบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้า

–  ควบคุมดูแลการรับบรรทุกและขนถ่ายสินค้า ให้เป็นไปตามสัญญาที่เจ้าของเรือตกลงไว้กับผู้เกี่ยวข้อง ภายใต้เงื่อนไข สะดวก รวดเร็วและประหยัดที่สุดเท่าที่จะทําได้

–  กรณีที่มีปัญหาข้อพิพาทในระหว่างการรับบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าจะต้องรายงานข้อเท็จจริงทั้งหมดที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบ เพื่อนําไปสู่การยุติข้อพิพาทให้รวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทําได้


B. FREIGHT FORWARDER

FREIGHT FORWARDER คือตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ FREIGHT FORWARDER อาจทําหน้าที่หลายอย่าง เช่น บางรายทําหน้าที่เป็นตัวแทนในการจัดหาและจัดการขนส่งสินค้าของผู้ส่งออกไปยังเมืองท่าปลายทาง บางรายทําหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสินค้ากับผู้รับขนส่งสินค้า บางรายอาจทําหน้าที่เป็นผู้ขนส่งสินค้าโดยตรง ซึ่งอาจจะเป็นผู้ประกอบการขนส่งสินค้าหลายรูปแบบ (Multimodal Transport Operator) หรือผู้ให้บริการที่ไม่ใช่เจ้าของเรือ (Non-Vessel Operating Common Carrier (NVOCC))

FREIGHT FORWARDER มี 2 ประเภท ได้แก่
1. SEA FREIGHT FORWARDER
2. AIR FREIGHT FORWARDER
 

ขอบเขตการให้บริการของ SEA FREIGHT FORWARDER

1. จัดหาระวางบรรทุกให้แก่ลูกค้า

2. บริการทางด้านพิธีการศุลกากรให้แก่ลูกค้า

3. จัดทําเอกสารนําเข้าและส่งออกต่างๆ ให้แก่ลูกค้า

4. บริการรับ-ส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก

5. บริการเก็บรักษาสินค้า

6. รับจ้างบรรจุหีบห่อ

7. บริการรวบรวมสินค้า (‘GROUPAGE’ OR ‘CONSOLIDATION’)

8. ฯลฯ

สถานะของ FREIGHT FORWARDER

FREIGHT FORWARDER มีสถานะเสมือนหนึ่งผู้รับขนส่งสินค้า ซึ่งสามารถที่จะลงนามในใบตราส่งสินค้าได้

ข้อควรพิจารณาในการซื้อระวางจาก FREIGHT FORWARDER

• ข้อดี

o ผู้นําเข้าและผู้ส่งออกจะได้รับความสะดวกจากบริการ ONE STOP SERVICE ของ FREIGHT FORWARDER ทั้งเมืองท่าต้นทางและเมืองท่าปลายทาง

o มีข้อมูลของสายเดินเรือต่างๆ ทําให้ง่ายต่อการตรวจสอบตารางเดินเรือ หรือการเปรียบเทียบค่าระวางเรือ

o อาจได้ค่าระวางเรือที่ถูกกว่าการซื้อระวางเรือจากตัวแทนสายเดินเรือหรือสายเดินเรือโดยตรง

• ข้อควรระวัง

o อาจได้ค่าระวางที่สูงกว่าการซื้อจากตัวแทนสายเดินเรือหรือสายเดินเรือโดยตรง เพราะ FREIGHT FORWARDER มีรายได้หลักจากค่านายหน้าที่ได้รับจากบริษัทเรือผู้รับขนส่งสินค้า หรือรายได้จากการซื้อขายค่าระวางสินค้า

o การสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่ผู้ส่งออกใช้บริการของ FREIGHT FORWARDER อาจมีค่าบริการทางด้านเอกสาร เช่นใบสั่งปล่อยสินค้า (D/O) ที่เมืองท่าปลายทางสูงกว่าค่าบริการทางด้านเอกสารของสายเดินเรือ ซึ่งผู้นําเข้าไม่สามารถต่อรองได้ เพราะถ้าหากผู้นําเข้าไม่จ่ายค่าบริการก็จะไม่สามารถขอรับหนังสือใบสั่งปล่อยจาก FREIGHT FORWARDER เพื่อนําไปตรวจปล่อยสินค้าได้ FREIGHTFORWARDER บางรายเรียกเก็บค่าบริการทางด้านเอกสารในอัตราที่สูงมาก

o การส่งสินค้าขาออกผ่าน FREIGHT FORWARDER อาจมีค่าบริการทางด้านเอกสารและค่าเข้าตู้ CFS Charge สูงกว่าค่าบริการของสายเดินเรือ

o FREIGHT FORWARDER โดยทั่วไปมีความชํานาญด้านพิธีการศุลกากรน้อยกว่าตัวแทนออกของ (CUSTOMS BROKER)

Share the Post: