marinerthai

การส่งมอบสินค้า

การส่งมอบสินค้าขาเข้าที่มากับเรือคอนเทนเนอร์ของตัวแทนสายเดินเรือ

บทบาทและหน้าที่ในการส่งมอบสินค้าขาเข้าของตัวแทนสายเดินเรือ จําแนกตามเงื่อนไขการบรรทุก มีรายละเอียดตามตารางดังต่อไปนี้

TERM OF LOADINGบทบาทและหน้าที่
CFS. (Container Freight Station)• นําตู้คอนเทนเนอร์ลงจากเรือ• นําสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์• ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้นําเข้า ณ ท่าเรือนําเข้า หรือนําสินค้าเข้าเก็บในคลังสินค้าของท่าเทียบเรือ
CY (Container Yard)• นําตู้คอนเทนเนอร์ลงจากเรือ• ส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ให้แก่ผู้นําเข้า ณ ท่าเรือนําเข้า

การรับมอบสินค้าขาออกที่ส่งออกทางเรือคอนเทนเนอร์ของตัวแทนสายเดินเรือ

บทบาทและหน้าที่ในการรับมอบสินค้าขาออกของตัวแทนสายเดินเรือ จําแนกตามเงื่อนไขการบรรทุก มีรายละเอียดตามตารางดังต่อไปนี้

TERM OF LOADINGบทบาทหน้าที่
CFS. (Container Freight Station)Remark: CFS charge to U.S.A. & EuropeAs of Aug 1, 200020′ = Baht 4,21540′ = Baht 8,430• จัดหาตู้คอนเทนเนอร์ให้แก่ผู้ส่งออก• ตรวจนับและบรรจุสินค้าเข้าตู้• บรรทุกตู้สินค้าขึ้นเรือใหญ่• ออก B/L
CY (Container Yard)Remark: (B/L to be stated Shipper Load and Count)ข้อดี- ไม่ต้องเสียค่า CFS charge- ลดการขนย้ายสินค้าหลายทอดข้อเสีย- Shipper จะต้องรับผิดชอบของที่อยู่ในตู้คอนเทนเนอร์จนถึงปลายทาง• จัดหาตู้คอนเทนเนอร์ให้แก่ผู้ส่งออก• บรรทุกตู้สินค้าขึ้นเรือใหญ่• ออก B/L

การส่งสินค้าออกผู้ส่งออกอาจจะมีภาระในค่าระวางสินค้าหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในเรื่องเงื่อนไขการส่งมอบที่ทําไว้กับผู้ซื้อ แต่ผู้ส่งออกจะต้องมีภาระในค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับตู้สินค้า ที่ตัวแทนสายเดินเรือเรียกเก็บที่เมืองท่าต้นทาง ดังนี้คือ

1. ค่าเข้าตู้ CFS Charge (Container Freight Station Charge)

2. ค่ายกตู้ THC Charge (Terminal Handling Charge)

สําหรับตู้ส่งที่ออกในเงื่อนไข CFS จะต้องจ่ายทั้งค่าเข้าตู้และค่ายกตู้

ส่วนผู้ที่ส่งออกในเงื่อนไข CY จะมีภาระเฉพาะค่า THC เท่านั้น

ค่าเข้าตู้และค่ายกตู้มีอัตราที่ไม่เท่ากันในการส่งสินค้าไปยังแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับว่าตัวแทนสายเดินเรือจะเรียกเก็บเท่าไร

Share the Post: