marinerthai

คู่มือ บทความ และเอกสารทางเรือต่างๆ

  •  คู่มือการเดินเรือ ( Navigation & Bridge Organization Manual)  บทความโดย คุณพรานทะเล นำมาจากคู่มือการทำงานของบริษัทวิสาหกิจส่งเสริมอุตสาหกรรมจำกัด คู่มือดังกล่าวได้ถูกเขียนขึ้นและปรับปรุงให้สามารถใช้ได้กับการทำงานของเรือทั่วไป ท่านอาจนำไปแก้ไขปรังปรุงต่อให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานจริงของแต่ละบริษัท แล้วแต่เห็นสมควร
  • คู่มือการปฏิบัติงานแผนกปากเรือ ( Deck Operation procedures) บทความโดย คุณพรานทะเล นำมาจากคู่มือการทำงานของบริษัทวิสาหกิจส่งเสริมอุตสาหกรรมจำกัด คู่มือดังกล่าวได้ถูกเขียนขึ้นและปรับปรุงให้สามารถใช้ได้กับการทำงานของเรือทั่วไป ท่านอาจนำไปแก้ไขปรังปรุงต่อให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานจริงของแต่ละบริษัท แล้วแต่เห็นสมควร
  • คู่มือปฏิบัติงานช่างกล (Engine Operation Manual) บทความโดย คุณพรานทะเล นำมาจากคู่มือการทำงานของบริษัทวิสาหกิจส่งเสริมอุตสาหกรรมจำกัด คู่มือดังกล่าวได้ถูกเขียนขึ้นและปรับปรุงให้สามารถใช้ได้กับการทำงานของเรือทั่วไป ท่านอาจนำไปแก้ไขปรังปรุงต่อให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานจริงของแต่ละบริษัท แล้วแต่เห็นสมควร
  • คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน (Safety Manual) บทความโดย คุณพรานทะเล นำมาจากคู่มือการทำงานของบริษัทวิสาหกิจส่งเสริมอุตสาหกรรมจำกัด คู่มือดังกล่าวได้ถูกเขียนขึ้นและปรับปรุงให้สามารถใช้ได้กับการทำงานของเรือทั่วไป ท่านอาจนำไปแก้ไขปรังปรุงต่อให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานจริงของแต่ละบริษัท แล้วแต่เห็นสมควร
  • คู่มือการปฏิบัติงานสินค้า (Cargo Handing Manual) บทความโดย คุณพรานทะเล นำมาจากคู่มือการทำงานของบริษัทวิสาหกิจส่งเสริมอุตสาหกรรมจำกัด คู่มือดังกล่าวได้ถูกเขียนขึ้นและปรับปรุงให้สามารถใช้ได้กับการทำงานของเรือทั่วไป ท่านอาจนำไปแก้ไขปรังปรุงต่อให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานจริงของแต่ละบริษัท แล้วแต่เห็นสมควร
  • คู่มือการปฏิบัติอย่างปลอดภัยเพื่อป้องกันเพลิงไหม้ (Fire safety operational booklets) บทความโดย คุณไททัศน์ คัมภีระพันธุ์ คู่มือดังกล่าวได้ถูกเขียนขึ้นและปรับปรุงให้สามารถใช้เป็นข้อแนะนำและสิ่งที่พึงปฏิบัติรวมถึงการรับผิดชอบ เพื่อป้องกันการเกิดไฟไหม้ ซึ่งต้องระมัดระวังไว้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรือเดิน เรือจอด หรือขณะปฏิบัติการสินค้า
  • คู่มือการฝึก (Training Maunal) บทความโดย คุณไททัศน์ คัมภีระพันธุ์ เพื่อใช้เป็นคู่มือการฝึกประจำเรือตามกฏ SOLAS หรือที่เรียกว่า Training Manual สำหรับคนประจำเรือที่ต้องทำการฝึกเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ สามารถนำไปปรับใช้กับกองเรือของท่านได้
  • การบริหารจัดการ เรือบรรทุกน้ำมัน และ การประเมินตนเอง คำแนะนำทางปฏิบัติที่ดีที่สุด สำหรับ ผู้บริหารกองเรือ บทความโดย คุณพรานทะเล เอกสารฉบับนี้แปลจาก คู่มือคำแนะนำการบริหารกองเรือและการประเมินตนเอง ของ OCIMF เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะช่วยให้ผู้บริหารเรือที่ไม่ถนัดการใช้ภาษาอังกฤษ สามารถเพิ่มความเข้าใจคู่มือดังกล่าวมากขึ้น มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าแต่อย่างไร ผู้จัดทำขอสงวนสิทธิ์ไม่รับผิดชอบในความถูกต้องและผลในการนำไปปฏิบัติ

บทความวิชาการและบทความอื่นๆ สำหรับนักเดินเรือ

  • การนำร่อง เล่ม ๑ ความรู้พื้นฐานเพื่อการนำร่อง เรียบเรียงโดย นาวาตรี อนันต์ สดับพจน์ จนร.๑๓๔ เอกสารนี้มีเนื้อหาสาระเหมาะสมที่จะใช้ประกอบการศึกษาเพื่อการเป็นผู้นำร่องไทย ไม่ว่าหลังจากนั้นจะไปเป็นผู้นำร่อง ณ เขตท่าเรือใดในประเทศไทย เนื้อหาส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นความสัมพันธ์กันโดยชัดเจนระหว่าง ปัญหา ต้นเหตุแห่งปัญหา แนวทางการแก้ปัญหานั้นที่ต้นเหตุแห่งปัญหา รวมทั้งทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง โดยหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงเนื้อหาอันมีลักษณะเป็นนามธรรมล้วน ๆ ที่ขาดเหตุและขาดผลประกอบ
  •  การนำร่อง เล่ม ๒ การนำร่องในเขตท่าเรือกรุงเทพฯ
    เรียบเรียงโดย นาวาตรี อนันต์ สดับพจน์ จนร.๑๓๔ เอกสารนี้เป็นการรวบรวมรายละเอียดปลีกย่อยที่จำเป็นต่อการเป็นผู้นำร่อง ณ เขตท่าเรือกรุงเทพฯ เพิ่มเติมจากความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการนำร่องตามหนังสือ ” การนำร่อง เล่ม ๑ ความรู้พื้นฐานเพื่อการนำร่อง ” ดังนั้นผู้ที่จะเป็นผู้นำร่องประจำเขตท่าเรือกรุงเทพฯ จำเป็นจะต้องศึกษาทั้ง หนังสือ ” การนำร่อง เล่ม ๑ ความรู้พื้นฐานเพื่อการนำร่อง ” และ หนังสือ ” การนำร่อง เล่ม ๒ การนำร่องในเขตท่าเรือกรุงเทพฯ ” จึงจะถือได้ว่ามีความรู้ครบถ้วนที่จะเป็นผู้นำร่องประจำเขตท่าเรือกรุงเทพฯ
  • ศิลป์และศาสตร์แห่งการเดินเรือ – จากที่เรือรายงานสู่ที่เรือดาวเทียม
    บทความโดย : Capt. Nemo – กัปตัน นีโม กล่าวถึงเครื่องมือที่นักเดินเรือสามารถหาที่เรือกลางทะเลเปิดไกลฝั่งได้อย่างง่ายดายและแม่นยำ ด้วยการอ่านค่าละติจูดและลองจิจูดจากหน้าจอเครื่อง GPS บนสะพานเดินเรือ นอกจากระบบหาที่เรือด้วยดาวเทียมหรือระบบจีพีเอส (GPS – GLOBAL POSITIONING SYSTEM) แล้ว อุปกรณ์สมัยใหม่อื่นๆ เช่นเข็มทิศไยโร วิทยุสื่อสาร เรดาร์ และเครื่องหยั่งน้ำ ได้ช่วยทำให้การเดินเรือเป็นเรื่องปลอดภัยและ ไม่ยุ่งยากเท่าในอดีต แต่กว่าจะมาถึงความสะดวกสบายและความปลอดภัยในปัจจุบันได้ ศิลป์และศาสตร์แห่งการเดินเรือได้ผ่านประวัติศาสตร์อันยาวนาน