Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

Nathalin Group

Advertising in marinerthai.net FB MarinerThai News

ศิลป์และศาสตร์แห่งการเดินเรือ – จากที่เรือรายงานสู่ที่เรือดาวเทียม

ศิลป์และศาสตร์แห่งการเดินเรือ – จากที่เรือรายงานสู่ที่เรือดาวเทียม


บทความโดย : Capt. Nemo - กัปตัน นีโม

สารบัญ

หน้า 1 บทนำ

การเดินเรือรายงานและเดินเรือชายฝั่ง

ยุคแรกเริ่มของการเดินเรือดาราศาสตร์

หน้า 2 การค้นพบโลกใหม่ และการเดินทางรอบโลก

หน้า 3 การพัฒนาเครื่องมือเดินเรือดาราศาสตร์รุ่นต่อมา

กว่าจะมาเป็นแผนที่เดินเรือยุคใหม่

กล้องส่องทางไกลและเซ็กส์แตนท์

หน้า 4 การหาลองจิจูดในทะเล

หน้า 5 การเดินเรือดาราศาสตร์สมัยใหม่

เข้าสู่ยุคแห่งการเดินเรืออิเล็กทรอนิกส์

หน้า 6 ระบบวิทยุหาที่เรือ (RADIO NAVIGATION SYSTEM)

หน้า 7 ระบบเดินเรือด้วยแรงเฉื่อย (INERTIAL NAVIGATION SYSTEM)

หน้า 8 ระบบหาที่เรือด้วยดาวเทียม (SATELLITE NAVIGATION SYSTEM)

ปรากฏการณ์ DOPPLER และระบบ NAVSAT

ระบบ GPS

หน้า 9 ระบบหาที่เรือด้วยดาวเทียมอื่นๆ

ระบบแผนที่อิเล็กทรอนิกส์

สรุป


การค้นพบโลกใหม่ และการเดินทางรอบโลก

ในปลายศตวรรษที่ ๑๕ นักเดินเรือในโปรตุเกสชื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ได้คิดแผนการที่จะออกเดินทางค้นหาเส้นทางไปยังทวีปเอเชียโดยการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก แทนการอ้อมใต้ทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นเส้นทางปกติในสมัยนั้น โดยโคลัมบัสคำนวณระยะทางไปยังเอเชียได้ประมาณ ๓,๐๐๐ ไมล์ จากการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภูมิศาสตร์และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโลกจากตำราสมัยกรีก ประกอบกับข้อมูลขนาดของทวีปเอเชียจากบันทึกสมัยปลายศตวรรษที่ ๑๓ ของมาร์โค โปโล โคลัมบัสได้เสนอแผนดังกล่าวต่อกษัตริย์จอห์นที่สองแห่งโปรตุเกสเพื่อขอรับทุนสนับสนุน แต่กษัตริย์จอห์นที่สองไม่สนใจแผนของโคลัมบัส หลายปีต่อมาโคลัมบัสเดินทางไปยังเสปนและได้เสนอแผนการค้นหาเส้นทางไปยังเอเชียต่อราชินี ISABELLA และกษัตริย์ FERDINAND ใน ครั้งนี้แผนของโคลัมบัสได้รับการสนับสนุน (หลังจากที่เกือบจะถูกปฏิเสธ) โคลัมบัสออกเดินทางจากเสปน ในปลายปี ค.ศ.๑๔๙๒ (พ.ศ.๒๐๓๕ – ตรงกับสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ในช่วงอยุธยาตอนต้น) ใช้เวลาเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกกว่า ๒ เดือน เป็นระยะทางกว่า ๔,๐๐๐ ไมล์ ซึ่งเกินกว่าระยะทางที่โคลัมบัสได้คำนวณไว้ล่วงหน้า แต่ที่จริงแล้วเขายังไปได้ไม่ถึงครึ่งของเส้นทางสู่เอเชียด้วยซ้ำ โคลัมบัสใช้วิธีเดินเรือรายงานเป็นหลัก (เช่นเดียวกับนักเดินเรือส่วนมากในสมัยนั้น) โดยเครื่องมือเดินเรือที่ โคลัมบัสใช้เป็นหลักคือเข็มทิศแม่เหล็ก และนาฬิกาทราย โดยถือเข็มไปทางตะวันตกและหาที่เรือรายงานจากการคำนวณความเร็วเรือทุกชั่วโมงด้วยนาฬิกาทราย จากหลักฐานปูมเรือเดินของโคลัมบัส โคลัมบัสได้ใช้ ASTROLABE เพื่อพยายามหาละติจูดอยู่สามถึงสี่ครั้งตลอดการเดินทาง แต่ผลออกมาไม่เป็นที่น่าพอใจนัก โคลัมบัสจึงไม่ได้หาที่เรือ ดาราศาสตร์อีกเลย โคลัมบัสเดินทางมาถึงหมู่เกาะบาฮามาส์ (ซึ่งเขาเรียกว่าหมู่เกาะอินเดียตะวันตก) ทางตะวันออกของคิวบาในปัจจุบัน และทำการสำรวจอยู่เกือบสามเดือน ในระหว่างการสำรวจเขาเสียเรือไป ๑ ลำ จากการเกยหินโสโครก จากนั้นจึงออกเดินทางกลับเสปนในเดือนมกราคมของปี ค.ศ.๑๔๙๓ ใช้เวลาเดินทางขากลับเกือบสองเดือน

 

ถึงแม้โคลัมบัสจะไม่พบเส้นทางไปยังทวีปเอเชีย การค้นพบแผ่นดินทางตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกทำให้มีนักเดินเรือ และนักสำรวจจำนวนมากเดินทางข้ามมหาสมุทร แอตแลนติกเพื่อสำรวจโลกใหม่และค้นหาเส้นทางไปยังทวีปเอเชียผ่านโลกใหม่ หนึ่งในนั้นคือนักเดินเรือชาวโปรตุเกส ชื่อเฟอร์ดินาน แมเจลแลน (FERDINAND MAGELLAN) ๒๕ ปีหลังจากการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกของโคลัมบัส หรือในปี ค.ศ.๑๕๑๗ (พ.ศ. ๒๐๖๐ – ยังคงอยู่ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒) แมเจลแลนเสนอแผนการที่จะค้นหาเส้นทางลัดไปยังทวีปเอเชียโดยอ้อมทางใต้ของโลกใหม่ (หรือทวีปอเมริกาใต้ในปัจจุบัน) ต่อกษัตริย์ชารลส์ที่หนึ่ง (CHARLES I) แห่งเสปน โดยแมเจลแลนคาดการณ์ว่าเมื่อเดินทางอ้อมใต้โลกใหม่ไปแล้วเขาสามารถเดินทางไปถึงหมู่เกาะ เครื่องเทศ ซึ่งเป็นประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบันได้ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ แผนการเดินทางของแมแจลแลนเป็นที่สนใจของกษัตริย์เสปนเป็นอย่างมาก เนื่องจากในขณะนั้นโปรตุเกสกำลังควบคุมเส้นทางเดินเรือไปยังเอเชียผ่านทางทวีปแอฟริกา เสปนจึงต้องการเส้นทางไปยังเอเชียของ ตนเอง และกษัตริย์ชารลส์ที่หนึ่ง ได้มอบเรือจำนวน ๕ ลำ พร้อมลูกเรือ ให้กับแมเจแลน โดยมีข้อแม้ว่าแมเจลแลน (ซึ่งเป็นชาวโปรตุเกส) จะต้องใช้ลูกเรือชาวเสปนเป็น ส่วนใหญ่

 

แมเจลแลนออกเดินทางจากเสปนในปลายปี ค.ศ.๑๕๑๙ แต่การค้นหาเส้นทางผ่าน แผ่นดินใหญ่ (แมเจลแลนนำเรือหลงเข้าไปในแม่น้ำและอ่าวปิดหลายครั้ง) และความหนาวเย็นของทะเลใกล้ขั้วโลกใต้ ทำให้แมเจลแลนเสียเวลาจนถึงปลายปี ค.ศ.๑๕๒๐ กว่าจะผ่านช่องแคบ (ซึ่ง ต่อมาตั้งชื่อว่าช่องแคบแมเจลแลน เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ) ออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งในระหว่างการเดินทางในช่วงต้นนั้นแมเจลแลนเสียเรือไป ๒ ลำ หลังจากที่ผ่านปลายใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ แมเจลแลนเดินทางร่วมสองเดือนโดยไม่เห็นฝั่งหรือเกาะเลย การที่แมเจลแลนใช้เวลาข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกนานกว่าที่ประมาณไว้มากทำให้ปริมาณอาหารและน้ำจืดไม่เพียงพอ ในระหว่างนี้แมเจลแลนสูญเสียลูกเรือไปอีก ๑๙ คน ในเดือนมีนาคม ค.ศ.๑๕๒๑ แมเจลแลนเดินทางมาถึง หมู่เกาะซึ่งเป็นประเทศฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน ใช้เวลาข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมดกว่าสามเดือน

 

แมเจลแลนเสียชีวิตลงที่ฟิลิปปินส์จากการเข้าไปเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งระหว่างคน พื้นเมือง แต่ถึงแม้จะเสียผู้นำใหญ่ไป ลูกเรือทั้งหมดก็รู้ว่าตนได้เดินทางมาถึงเอเชียแล้ว จึงได้เดินทางต่อไปยังหมู่เกาะเครื่องเทศ (อินโดนีเซียในปัจจุบัน) ก่อนที่จะกลับเสปนตามแผนเดิมของแมเจลแลนด้วยลูกเรือที่เหลืออยู่ ๑๑๕ คน กับเรือ ๒ ลำ (เรือลำที่สามถูกเผาทิ้งเนื่องจากจำนวนคนไม่พอที่จะเดินเรือทั้งสามลำ) ภายใต้การนำของ เซบาสเตียน เดลคาโน เมื่อถึงหมู่เกาะเครื่องเทศแล้ว เดลคาโนตัดสินใจที่จะแยกเรือทั้งสองลำ โดยให้ลำหนึ่งเดินทางต่อไปยังเสปนผ่านทวีปแอฟริกา ส่วนอีกลำเดินทางกลับทางเดิมผ่านทวีปอเมริกาใต้ ในที่สุดจากเรือทั้งหมด ๕ ลำ กับลูกเรือกว่า ๒๐๐ คน มีเพียงเรือ ๑ ลำ (ลำที่เดลคาโนนำผ่านทวีปแอฟริกา) กับลูกเรือ ๑๘ คนที่รอดกลับไปถึงเสปนได้ในเดือนกันยายน ค.ศ.๑๕๒๒ รวมเวลาเดินทางทั้งสิ้นเกือบ ๓ ปี

 

:: หน้าที่ 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 ::

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   8171

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

Nathalin Group Mariner English Articles

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network