Nathalin Group

เป็นผลงานการประพันธ์ของนักเดินเร

เป็นผลงานการประพันธ์ของนักเดินเรืออาวุโสท่านหนึ่งใช้นามปากกาว่า "ทะเลงาม" ซึ่งเคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนาวิกศาสตร์ และท่านผู้ประพันธ์ "นิทานชาวเรือ" นี้ได้อนุญาตให้ทางทีมงาน มารีนเนอร์ไทยดอทคอม นำเผยแพร่ในเว็บของเราได้โดยไม่คิดมูลค่าแต่อย่างใด นับว่าเป็นความกรุณาต่อเราหมู่มวลสมาชิกทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง และทางทีมงานขอขอบพระคุณท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย

สำหรับ "นิทานชาวเรือ" นี้มีอยู่ด้วยกันหลายตอน ซึ่งทางทีมงานจะทยอยนำลงติดต่อกันไปเรื่อยๆ นะครับ ในกรณีที่ท่านต้องการติดต่อผู้ประพันธ์ "นิทานชาวเรือ" สามารถติดต่อได้ที่ e-mail: omcc@anet.net.th

นิทานชาวเรือชุดที่หนึ่ง แบ่งออกเป็นทั้งหมด 7 ตอน

“ นิทานชาวเรือ ” ตอนที่ ๑

“ นิทานชาวเรือ ” ตอนที่ ๒

“ นิทานชาวเรือ ” ตอนที่ ๓

“ นิทานชาวเรือ ” ตอนที่ ๔ ตอน…โจรสลัด.(จริงๆนะจะบอกให้ )

“ นิทานชาวเรือ ” ตอนที่ ๕ เรื่องของเรือ ตอน “เจ้าของเรือ และ ธงของเรือ นั้น สำคัญ ไฉน?..”

“ นิทานชาวเรือ ” ตอนที่ ๖ เรื่องของเรือ ตอน สถาบันชั้นเรือ…นั้น….หนอ .. คืออะไร? .. และ สำคัญ ไฉน?..

”นิทานหนักสมอง ” ตอนที่ ๗ "พาณิชยนาวี"

นิทานชาวเรือชุดที่สอง แบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ตอน

 

 

 

 

“ นิทานชาวเรือ ” ตอนที่ ๔ ตอน โจรสลัด

“ นิทานชาวเรือ ” ตอนที่ ๔ ตอน โจรสลัด (จริงๆนะจะบอกให้ )


โดย : ทะเลงาม

ก่อนอื่น ต้องขอขอบพระคุณ นาวิกศาสตร์ที่ กรุณาจัดให้มีการเสนอ เรื่องนิทานเบาสมองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้เขียนเอง ก็มีจุดประสงค์ ในการเขียนเพื่อ ให้อ่านแล้ว เบาสมองจริงๆ พร้อมกับ นำเสนอ เรื่องที่เป็น สาระ ประโยชน์ ให้กับ ส่วนรวม ทั้งด้านการให้ความรู้, เพื่อความปลอดภัย และความยุติธรรมของสังคม เท่าที่มีโอกาสได้เข้าไปสัมผัส จึงสามารถนำมาเป็น นิทาน มาเล่าสู่กันฟังเหมือน กับ เรื่องโจรสลัด ที่จะนำมาเกริ่นล่วงหน้าว่า ถ้าไม่มีใคร นำมาพูด ก็ไม่มีใครสนใจ นอกจากเวลามีข่าวใน ทีวี หรือ ใน หน้า หนังสือพิมพ์ ออกข่าวว่าลูกเรือที่โจรสลัดยึดเรือและสินค้าไป รอดตายลอยคอมาขึ้นที่ฝั่งไทย หรือมีเรือ “ผี” มาโผล่ที่เมืองไทย แต่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากเมืองไทย แค่เมือง กัวลาลัมเปอร์ เป็นที่ตั้ง ของ ฐานปฏิบัติการกลางในระดับโลกที่ทำงานเกี่ยวกับการป้องกัน โจรสลัด, ให้ข่าวสาร, ประสานงาน , เพื่อปราบโจรสลัดใช้เป็นที่ทำงานอยู่ และใช้ คำจำกัดความ ของคำว่า “Piracy” เป็นการเฉพาะของ IMB (International Maritime Bureau--- ICC Commercial Crime Service) ว่า : “ An act of boarding or attempting to board any ship with the intent to commit theft or any other crime and with the intent or capability to use force in the furtherance of that act” . หรือ อาจ ถอดความเป็นภาษาไทย ที่เข้าใจง่ายๆ ว่า “ การกระทำที่จะบุกขึ้นบนเรือ หรือเพียงการพยายาม ที่จะขึ้นไปบนเรือใดๆ เพื่อไป ทำการขโมยหรือประกอบอาชญากรรม และยังรวมไปถึงการตั้งใจในความสามารถที่จะใช้กำลังในการกระทำการอย่างอื่นต่อเนื่องไป ” โดยให้คำจำกัดความนี้ ครอบคลุมไปถึง การกระทำที่เกิดขึ้น หรือ เพียงการพยายามที่จะกระทำ ไม่ว่า ในขณะที่เรือเทียบท่า , จอดทอดสมอ , หรือ ขณะที่อยู่กลางทะเล ทุกๆ สัปดาห์ IMB จะมีเอกสารแจกจ่ายทาง Internet โดยให้คำแนะนำแก่เรือทุกลำในทะเล เช่น ในปัจจุบัน จะ แจ้งในเรือทุกลำ จัดให้มีการป้องกัน โจรสลัด( ประจำสถานี สู้โจรสลัด) จนถึงการติดเครื่องมือแสดงตำบลที่อัตโนมัติ แก่เรือทุกลำ และเฉพาะเรือที่จะเข้าเมืองท่า อินโดนีเซีย ช่อง Gelasa ช่อง Bunka ช่องBerhala ช่องSunda ช่อง มะละกา ช่องสิงค์โปร์ ช่องแคบ Phillip ที่จอดเรือ Chttagong (บังคลาเทศ) ที่จอดเรือ Mongla (บังคลาเทศ) ที่จอดเรือ โคลอมโบ(ศรีลังกา) ที่จอดเรือ Chennai, Cochin และ Kandia (อินเดีย) ตอนใต้ของทะเลแดง อ่าว Aden(เยเมน) ชายฝั่ง Somali (อัฟริกา) Conakry และ ท่าเรือ Nigeria. กับยังมีข่าวประเภท เตือน ภัย (Warning) ในเฉพาะ ตำบลที่ล่อแหลม เช่น ในช่วงเวลาเดือน กันยายน ต่อ เดือน ตุลาคม 2543 ที่ผ่านมา ได้มีการเพิ่มการ กระทำของโจรสลัด ในพื้นที่ ระหว่าง แลตติจูด 1 - 2 องศา เหนือ และ ลองจิจูค 101-105 ตะวันออก ซึ่งครอบคลุมส่วน ปลายของ คาบสมุทรมลายู ในรายงานได้เสนอเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นสดๆ ประจำสัปดาห์ ผู้เขียนขอสรุปให้ท่านพิจารณา ในลักษณะที่เป็น เรื่องจริงไม่อิงนิทาน ในระหว่างวันที่ 21 กันยายน - 2 ตุลาคม 2543 มี เหตุการณ์ทั้งหมด 21 ครั้ง 13 ครั้งเกิดขึ้นในบริเวณ กรอบที่กำหนดว่าเป็นจุดล่อแหลมข้างบน ผู้เขียน จะพยายามสรรหาแต่เฉพาะรายที่ โจรบุกขึ้นบนเรือสำเร็จ และน่าสังเกตว่า เป้าหมายของโจร ชอบบุกปล้นเรือ คอนเทนเนอร์มากที่สุด และ โจรสามารถใช้เรือเร็ว ที่สามารถแล่นตามเรือ คอนเทนเนอร์ที่ใช้ความเร็ว 22 น็อตได้

เรือญี่ปุ่นชื่อ Alondra Rainbow ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Mega Rama โดยโจรสลัดที่ขึ้นยึดเรือพบที่อินเดีย

ต่อไป จะได้ นำเอาตัวอย่าง ของ เหตุการณ์ สดๆ ร้อนๆ ในทะเล แต่ไม่มีเสนอ ใน TVs วิทยุ,หรือในหน้าหนังสือพิมพ์ ทั่วๆ ไปให้ท่าน ทราบ

21 พฤษภาคม 2545 เรือน้ำมัน ผี ที่ชื่อ Wan Hei ถูกโจรสลัดยึดที่ช่องมะละกา หลายเดือนมาแล้ว ยึดไปเปลี่ยนชื่อ เป็น Pheatom มาโผล่ ท้ายเกาะสีชัง โจรหนีขึ้นฝั่ง ปลอดภัย ไม่มีข่าวการจับกุมล่วงหน้า แต่มีข่าวสรรเสริญว่า ตำรวจและทหารเรือไทยเก่งยึดเรือไว้ได้ แต่ จับโจรไม่ได้

21 กันยายน 2543 เวลา ประมาณ 2305 ณ ตำบล ที่ เรือ แลตติจูด 02 - 00 N. ลองจิจูด 102- 11 E. ช่องมะละกา โจรสลัดจำนวนหนึ่งมีมีดด้ามยาวและปืนสั้น ขึ้นปล้นเรือบรรทุกน้ำมัน โจรเข้าไปในห้องนายเรือ และนายประจำเรืออื่นๆ เอาของมีค่าไปหมด และสั่งให้นายเรือเปิด ตู้เซฟของเรือและเอาเงินในเซฟไปหมดด้วย มีนักเรียนฝึกหัดนายหนึ่งได้รับบาดเจ็บ

22 กันยายน 2543 เวลาประมาณ 0130 ณ ตำบลที่เรือ แลตติจูด 01- 51 N. ลองจิจูด 102—20 E ช่องมะละกา ขณะที่เรือแล่น โจรสลัด ห้า คนพร้อมอาวุธกับมีดด้ามยาว บุกปล้นเรือ และจับลูกเรือสองนาย ที่ทำหน้าที่ยาม ป้องกัน โจรสลัด เป็นตัวประกัน แล้วโจรก็พยายามเข้าไปในที่อยู่อาศัยของคนประจำเรือซึ่งประตูถูกล็อคไว้หมด โจรพยายามจะพังประตูเข้าไป และเข้าไม่ได้ มีลูกเรืออินโดนีเซียออกมาพูดกับโจรโดยขอให้ปล่อยตัวประกัน ในที่สุด โจรปล่อยตัวประกันและ ก่อนจากไปก็เอาสิ่งของประจำเรือไปด้วย

23 กันยายน 2543 เวลาประมาณ 0045-0107 ณ ตำบลที่ ทางทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ บอร์เนียว ขณะที่เรือบรรทุก LPG มีเรือใหญ่ ที่แล่นอยู่ใน ท่ามกลางฝูงเรือหาปลา และแล่นเข้ามาหาเรือบรรทุกแก๊สทางท้ายเรือกราบซ้าย เรือนั้นได้ ใช้ไฟฉายใหญ่ และสั่งให้เรือแก๊สหยุดเครื่อง คนในเรือลึกลับนั้น ออกมาแสดงตนว่าเป็นเจ้าหน้าที่ศุลกากร เมื่อทางเรือถามถึง call sign (ชื่อเรือเป็น อักษรสัญญาณ) ทางเรือลึกลับตอบ ‘ 9yk ’ ทางเรือแก๊ส ได้สั่งประจำสถานีต่อต้านโจรสลัด และติดต่อไปยังศูนย์ปฏิบัติการ IMB รายงานเกี่ยวกับโจรสลัด และทางศูนย์ฯ แนะนำว่าไม่ให้หยุด และหลังจากการกระทำของเรือลึกลับไม่สำเร็จ เรือนั้นจึงดับไฟฉายและแล่นกลับไปในทิศตรงข้าม

24 กันยายน 2543 เวลาประมาณ 1810 เวลามาตรฐาน ณ ตำบลที่เรือ แลตติจูด 01 - 17.0 N. ลองจิจูด 104 – 57. E. นอกฝั่ง อินโดนีเซีย โจรสลัด หก คนพร้อมมีดด้ามยาว ปล้นเรือคอนเทนเนอร์ โดยขึ้นเรือทางกราบขวา ลูกเรือคนหนึ่งถูกโจรปล้นเอาทรัพย์สินและของมีค่าไปจนหมด และเมื่อกริ่งสัญญาณเตือนภัยดังขึ้น และโจร ก็ หนีไป

25 กันยายน 2543 เวลาประมาณ 0230 ณ ตำบล ที่เรือ แลตติจูด 01-40 N. ลองจิจูด 106- 18 E. นอกฝั่งอินโดนีเซีย โจรสลัดจำนวนหนึ่ง บุกขึ้นเรือ และยึดเรือบรรทุกน้ำมัน ที่แล่น มาจาก Port Dickson ไปยังเมืองท่า Kuching บนเกาะบอร์เนียว โจรจับลูกเรือทั้งหมดแล้วขังไว้ เรือถูกนำไปยังท่าปลายทางแห่งหนึ่ง โจรขโมยน้ำมัน ดีเซล ประมาณ 2,200 ตันด้วยการถ่ายไปลงเรืออื่น และโจรนำเรือมาปล่อยไว้ใกล้ท่าเรือสิงคโปร์ และลูกเรือถูกปล่อยเมื่อเวลา 0600 ในวันที่ 26 กันยายน 2543 โจรจึง ลงเรือเล็กหนีไป

เขตน่านน้ำของอินโดนีเซียยังมีรายงานเรื่องโจรสลัดอย่างต่อเนื่อง

27 กันยายน 2543 เวลาประมาณ 1800 ณ ตำบลที่เรือ แลตติจูด 00 - 30 น. โจรสลัดอินโดนีเซีย สิบคน ใช้เรือเร็วทาสีขาวด้วยความเร็ว 21 น็อต พยายามขึ้นเรือบรรทุกน้ำมันจากทางท้ายเรือ แต่ทางเรือใช้กำลังลูกเรือต่อต้าน เรือจึงแล่นหนีไป

29 กันยายน 2543 เวลาประมาณ 0420 ณ ตำบลที่ แลตติจูด 01 - 54.7 N.- ลองจิจูด103-34.39 E. ที่ ช่องมะละกา กลุ่มโจรสลัดพยายามที่จะขึ้นเรือคอนเทนเนอร์ขณะแล่นเร็วเต็มที่ แต่ลูกเรือเห็น จึงเปิดสัญญาณเตือนภัย นายเรือแล่นเรือเปลี่ยนเข็มฉกาจ โจรไล่ตามอยู่ 10 นาทีจึงล่าถอยไป ทางเรือได้แจ้งให้ศูนย์ควบคุมการเดินเรือที่ Port Klang ทราบ

29 กันยายน 2543 ณ ตำบลที่เรือ เกาะ สีชัง เรือ ลำหนึ่งบรรทุกเหล็กม้วนจากเมืองท่าชื่อ Cigading อินโดนีเซีย เพื่อไปส่งยัง ฟิลลิปปินส์ มาตั้งแต่ต้นเดือนแต่ ปรากฏว่า เรือนั้นไม่ถึงท่าเรือปลายทางในกำหนดเวลา ทาง IMB ประกาศให้รางวัล USD 30,000.- ปรากฏต่อมาตามการติดตามหาข่าวจากแหล่งข่าว หลายแห่งในประเทศไทยที่ให้ข่าวแบบเปิดบ้างปิดบ้าง เพราะหวังเงินรางวัลนำจับ ทราบว่า เรือลำดังกล่าวมาจอดที่ เกาะสีชังเพื่อรับน้ำมันเชื้อเพลิง และกำลังจะเปลี่ยนชื่อเรือ มีลูกเรือพม่า 15 คน และข่าวกล่าวว่าถูกฆ่าตายไปหนึ่งคนเพราะไม่ร่วมกระทำความชั่วร่วมกับเพื่อน ตำรวจไทยถือเป็นเรื่องลับมากๆ ไม่เปิดเผยมากเพียงบอกว่า ได้รับคำขอจากนักธุรกิจชาวฮ่องกงให้มายึดเรือผี ( Panthom) ลำนี้ กับสินค้าในเรือไว้

01 ตุลาคม 2543 เวลา 0130 ณ ตำบลที่ แลตติจูด 01 - 13.1 N.- ลองจิจูด 103- 34.39 E. ที่จอดเรือ ตะวันตกของสิงคโปร์ โจร 21 คน ( นายเรือ คาดว่าเป็นอินโดนีเซีย) ขึ้นเรือ Bulk Carrier พร้อมอาวุธปืน มีด จับคนประจำเรือทั้งหมดที่กำลังนอนหลับมัดไพล่หลังและผูกผ้าปิดปาก โจรเข้าไปในห้องต่างๆและเก็บเงินทอง ริบของมีค่าติดตัวของลูกเรือจนหมดสิ้น โจรเอาแผ่นภาพแปลนเรือไปด้วย โจรถามถึงสินค้าว่าเป็นอะไร? และบังคับให้นายเรือติดเครื่องเรือใหญ่ ซึ่งดูเหมือนโจรต้องการจะยึดเอาทั้งเรือและสินค้าไป แต่ปรากฏว่า เครื่องจักรใหญ่ถูกถอดออกเพื่อซ่อมทำ เรือและสินค้าจึงรอดจากการ ยึดเรือไป

จำนวนรายงานของโจรสลัดและการปล้นเรือที่เกิดขึ้นในเขตภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ 1 ม.ค. ถึง 30 ธ.ค. 2545

จะเห็นว่า พฤฒิกรรม ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่เป็นเรื่อง ที่เกินความรับผิดชอบของ ชาติใด ชาติหนึ่ง ที่ต้อง ทำงานทั้งด้านการป้องกัน ต่อต้าน และ ปราบปราม (รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือในด้านการเงินเพื่อการปราบปราม) แต่เนื่องด้วย โจรสลัดที่มีอยู่ในถิ่นทะเลนี้ ส่วนใหญ่เป็นลูกเรืออินโดนีเซีย และลูกเรือไร้สัญชาติ ที่ตกงาน หรือ โจรไร้สัญชาติที่อาศัยตามเกาะระหว่างชายแดนของ ทั้งสามประเทศ คือ มาเลเซีย สิงค์โปร์ และ อินโดนีเซีย แต่ก่อนเมื่อผู้เขียนเป็น นายเรือ เรือที่ชักธงประเภท สะดวก ( Flag of Convenience เช่น Panama ) เคยใช้ลูกเรือไร้สัญชาติเหล่านี้ จึงค่อนข้างจะสอดรู้ว่า เวลาตกงานเขาทำอะไร นอกจาก หาปลา และงานพิเศษของเขาก็คือ งานโจร นั่นเอง ผู้เขียน รู้สึก เสียวเหมือนกัน แต่ มีพวกนี้เพียงสองคน ในลูกเรือ ทั้งหมด 25 คน คนพวกนี้ โดยใช้สมุดประจำตัวคนประจำเรือเป็นเอกสารสำคัญ ที่ออกโดย กงศุลของประเทศที่เรือชักธงเช่น ปานามา เป็นต้น ดังนั้น โจรสลัดเหล่านี้จึง เป็น โจรที่มีฝีมือและสามารถ นำเรือได้ และรู้จัก ช่องทางในการ เข้าปล้น เรือ และจุดอ่อนของเรือได้ดี ไม่ใช่โจรปิดหน้าชักธงหัวกะโหลก กับกระดูกไขว้ เหมือนสมัย ไวกิ้ง

ในปัจจุบัน มีการสอนวิชา ที่เกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศ โดยเฉพาะทางเรือ หรือการประกันภัยทางทะเล ในระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่น ธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ ABAC ซึ่งนักศึกษาที่เรียนมีทั้งหญิงและชาย โดยมีจุดประสงค์ ว่าเมื่อจบการศึกษา จะนำมาเสรีมสร้างเป็นบุคลากรบน สำนักงาน ในด้านการขนส่ง ประเภทต่างๆ บนบก ซึ่งทำงานได้ดี และเป็นกำลังในการพัฒนาธุรกิจด้านนี้มาโดยตลอด และเท่า ที่เห็นการกระทำกันมาคือการนิยม ของชมรมนักศึกษาที่เรียนเป็นวิชาเอกในวิชาเหล่านี้ จะไปขอเดินทางไปกับเรือของบริษัทเรือไทย ผนวก กับ เรื่องจริงข้างบน ทำให้เป็นเรื่องน่าห่วง น่าห่วงมาก เพราะ นักศึกษาที่ไปมีทั้งหญิง-ชาย สมัยนี้ และการให้การสนับสนุน อาจจะลึกไปถึงบรรดาคณาจารย์ ในสถานศึกษาที่เห็นดีเห็นงาม ในการ ขอให้นักศึกษาไม่จำกัดว่าชายหรือหญิง โดยสารเรือสินค้าส่วนใหญ่ คือเรือประเภท คอนเทนเนอร์ ฟีดเดอร์ ของบริษัทเรือในประเทศไทย ไป สิงค์โปร์ เพื่อ ดูงานในเรือ (ซึ่งงานเหล่านี้ หาดูได้ไม่ยาก เช่น ที่ท่าเรือ กรุงเทพฯ หรือ แหลมฉบัง หรือ การเดินทางกับเรือ จากแหลมฉบัง มากรุงเทพฯ หรือทางกลับกันก็พอเพียงแก่การศึกษา) และ หากเกิด เคราะห์ หามยามร้ายขึ้นกับนักศึกษาหญิงที่ใจกล้า หรือไม่ทราบข่าวสารประเภทนี้มาก่อนจำต้องไปประสบเข้าจะอยู่ในสภาพใด ? มีใครคิดบ้าง ? ทางบริษัทเรือเหล่านั้น คงไม่มีอะไรมาชดใช้ให้ได้นอกจากทรัพย์สินที่เสียไป แต่ของบางอย่างที่ติดตัวมา และถูกทำลายไป บริษัทเรือเหล่านั้น จะชดใช้ได้หรือ? หากถูกโจรขโมย หรือ ทำลาย ไปเสียแล้ว !!!!! นิทานเรื่องนี้จึงอยาก สอนให้ นักศึกษาหญิง ที่อยากจะร่วมเดินทางไปกับนักศึกษาชาย ที่ ต้องการ เสี่ยงภัย เพียงเพื่อ ไปดู การทำงานในเรือ ค้า เท่านั้น ควรจะต้องพิจารณาในเรื่องนี้ ให้จงหนัก และ นี่คือคำเตือนที่มีค่า ที่หาก มีใครอ่านเจอ (หมายถึง ท่านผู้ปกครอง บิดามารดา ) ควรจะ กระพือ ข่าวนี้ และบอกต่อกันไป เพราะเข้าใจว่า นักศึกษาเหล่านั้นยังต้องการเดินทางฟรี (ที่ได้มาจากที่บริษัทเรือจะอุดหนุนให้) แต่ไม่เคยทราบในข้อมูลเหล่านี้

เรื่อง โจรสลัด ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีมานาน ดังเช่น เรื่อง “การ ผจญเรือ Anna Sierra” ในนาวิกศาสตร์ กุมภาพันธ์ 2539 โดยผู้เขียน และการติดตามอย่างใกล้ชิด ของผู้เขียนตลอดมา และการฉ้อฉล โดยใช้การค้าทางทะเล และเรือ เป็นเครื่องมือ ทำให้ กองทัพเรือ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องใช้จ่าย หรือแม้แต่สถาบันการเงินของรัฐบางแห่งที่หละหลวมในเรื่องข่าวสารข้อมูลก็ตกเป็นเหยื่อ ของ กลุ่ม มิจฉาชีพเหล่านี้ ซึ่งรัฐฯ ต้องสูญเสียไป แบบที่เรียกได้ว่า น่าเสียดายจริงๆอย่างเช่น หรอกเอาเรือสัญชาติอื่นมาเปลี่ยน ชื่อเปลี่ยนธง ยอกย้อน(ด้วยการเปลี่ยน ตัวเลข และใช้เอกสารปลอม ที่ออกโดยสถาบันจดทะเบียนเรือ ที่ไม่ได้มีการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน ร่วมกับ การช่วยเหลือและวางแผนอย่างแนบเนียน จากคนของรัฐฯ) กลับมาจดทะเบียนเรือไทย แล้วนำไปกู้เงินธนาคาร เสร็จแล้ว เรือดังกล่าวก็กลายเป็นเรือผี กลับไปใช้ชื่อและทะเบียนเดิมที่ยอมให้ขอยืมมาและเอาเงินไปแบ่งกันอย่างสบาย และเงินเหล่านั้น คือเงินภาษีอากรคนไทยตาดำๆ เรานี่เอง หรือการที่ กองทัพเรือต้องส่งเครื่องบิน ไปกดดัน โจรที่ยึดเรือ Oriental City ไป จนกระทั่งโจรยอมแพ้ และ นำใส่เรือรบหลวง กันตัง มาขึ้นที่สงขลาเมื่อหลายปีก่อน ก็เป็นอุทธาหรณ์ เหมือนกันว่า โจรสลัด ในละแวก นี้นั้น มิใช่มีเฉพาะ อินโดนีเซีย แต่ คนไทย หรือ ลูกเรือไทยที่รับงานแบบนี้ ก็ มีอยู่ และที่เห็น !!! อ้าว กลายเป็นลูกเรือ ของ ผู้เขียนเอง นี่เอง ที่กลายเป็นโจร ไปเหมือนกัน ไม่ค่อยแน่ใจครับ แต่ เขาผู้นี้ เป็นลูกเรือเก่า เมื่อผู้เขียนทำหน้าที่เป็นต้นเรือ เรือ กู้ภัย Mississippi และทำงานกู้ภัยเรือบรรทุกข้าว ที่มาเกยหินอยู่ในช่องสิงค์โปร์ในราวปี 1981 แต่ตอนมาเจอกัน เกือบ 17 ปีต่อมา ในคราบโจร เขาจำ ผู้เขียนไม่ได้ เพราะผู้เขียนเปลี่ยนไปมาก(น้ำหนักมากไป) และไม่ทราบว่า เขาต้องผจญกับเคราะห์กรรม มากน้อยเพียงใด เพราะ งานนั้นเขาลือกันว่า “นายเขาสั่งมา

++++++++++++++++ จบ ตอน นี้ +++++++++++++++++

 


 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   5548

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

MarinerThai 2004 Co., Ltd. MarinerThai 2004 Co., Ltd.

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network