Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

TOP Engineering Group - VTOL UAV Thailand

Advertising in marinerthai.net FB MarinerThai News

ภาค ข

ภาค ข

แนวทางสำหรับบทบัญญัติของบทที่ 11-2

ของภาคผนวกแนบท้ายอนุสัญญาระหว่างประเทศ

ว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล 1974 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติม

และภาค ก  ของประมวลข้อบังคับนี้

(ส่วนที่ 1)

 

 

1.  บทนำ

 

บททั่วไป

1.1       อารัมภบทของประมวลข้อบังคับนี้ระบุว่าบทที่ 11-2 และภาค ก. ของประมวลข้อบังคับนี้จัดให้มีแบบแผนระหว่างประเทศสำหรับมาตรการเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยทางทะเลและเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างเรือและท่าเรือเพื่อค้นหาและยับยั้งการกระทำซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อความปลอดภัยในด้านการขนส่งทางทะเล

1.2       บทนำนี้กล่าวถึงกระบวนการในการจัดให้มีและการดำเนินการตามมาตรการและการเตรียมการที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุและเป็นไปตามบทบัญญัติของบทที่ 11-2 และภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้  และกล่าวถึงองค์ประกอบหลักที่เสนอไว้ในแนวทางดังกล่าว  ซึ่งปรากฏอยู่ในวรรคที่ 2 ถึงวรรคที่ 19 ทั้งนี้ ยังได้กำหนดข้อพิจารณาที่สำคัญที่ควรคำนึงเมื่อพิจารณานำแนวทางดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับเรือและท่าเรือมาใช้บังคับ

1.3       หากผู้อ่านมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องเรือแต่เพียงอย่างเดียว จะขอแนะนำเป็นอย่างยิ่งให้อ่านภาค ข. ของประมวลข้อบังคับนี้ทั้งหมด โดยเฉพาะวรรคที่เกี่ยวกับท่าเรือ  และขอแนะนำในทำนองเดียวกันสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องท่าเรือเป็นหลักว่าควรอ่านวรรคที่เกี่ยวกับเรือด้วย

1.4       แนวทางที่ระบุไว้ในวรรคที่จะกล่าวถึงต่อไปจะเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเรือเมื่อจอดอยู่ที่ท่าเรือเป็นหลัก  อย่างไรก็ดี อาจมีเหตุการณ์ที่เรืออาจสร้างภัยคุกคามต่อท่าเรือเกิดขึ้นได้ เช่น เมื่อเรือจอดอยู่ในท่าเรือ อาจจะถูกใช้เป็นฐานสำหรับโจมตี   เมื่อพิจารณามาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมเพื่อตอบโต้ภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของเรือ ผู้ที่ทำการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือหรือจัดทำแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือควรพิจารณาปรับให้เข้ากับแนวทางดังกล่าวตามความเหมาะสม

1.5       ขอแนะนำว่าผู้อ่านไม่ควรอ่านหรือตีความภาค ข. ของประมวลข้อบังคับนี้ไปในทางที่ขัดแย้งกับบทบัญญัติของบทที่ 11-2 หรือภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้  และขอแนะนำว่าบทบัญญัติที่กล่าวถึงก่อนจะต้องมีความสำคัญกว่าและลบล้างบทบัญญัติที่บังเอิญไม่สอดคล้องกันซึ่งอาจปรากฏอยู่ในภาค ข. ของประมวลข้อบังคับนี้โดยไม่ตั้งใจ  ควรอ่าน ตีความ และนำแนวทางในภาค ข.ของประมวลข้อบังคับนี้มาปฏิบัติในทางที่สอดคล้องกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และหลักการที่มีอยู่ในบทที่ 11-2 และภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้

 

ความรับผิดชอบของรัฐภาคี

1.6           รัฐภาคีมีความรับผิดชอบภายใต้บทบัญญัติของบทที่ 11-2 และภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้หลายประการ ซึ่งได้แก่

-          การกำหนดระดับของการรักษาความปลอดภัยที่จะนำมาใช้

-          การอนุมัติแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือ ละข้อแก้ไขของแผนที่ได้รับอนุมัติก่อนแล้ว

-          การตรวจสอบการปฏิบัติตามบทบัญญัติของบทที่ 11-2 และภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้ของเรือและการออกใบสำคัญรับรองว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือระหว่างประเทศ (International Ship Security Certificate) ให้แก่เรือ

-          การกำหนดว่าท่าเรือใดภายในอาณาเขตของตนจะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือซึ่งจะต้องรับผิดชอบในการจัดทำแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ

-          การดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่ามีการจัดทำและอนุมัติรายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือ ละข้อแก้ไขในภายหลังของรายงานการประเมินที่ได้รับอนุมัติก่อนแล้ว

-          การอนุมัติแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือละข้อแก้ไขในภายหลังของแผนที่ได้รับอนุมัติก่อนแล้ว

-          การใช้มาตรการควบคุมและบังคับให้ปฏิบัติตาม

-          การทดสอบแผนที่ได้รับอนุมัติแล้ว และ

-                               การแจ้งข้อมูลให้องค์การทางทะเลระหว่างประเทศและอุตสาหกรรมเดินเรือและท่าเรือทราบ

 

1.7       รัฐภาคีสามารถแต่งตั้งหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายของรัฐเพื่อปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยภายใต้บทที่ 11-2 และภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับท่าเรือและอนุญาตให้องค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับ (Recognized Security Organization : RSO) ดำเนินงานบางอย่างที่เกี่ยวกับท่าเรือ  แต่รัฐภาคีหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายควรจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับและการอนุมัติงานดังกล่าว  ทางการยังอาจมอบหมายการปฏิบัติหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยบางอย่างที่เกี่ยวกับเรือให้แก่องค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับ  แต่หน้าที่หรือกิจกรรมดังต่อไปนี้ไม่สามารถมอบหมายให้องค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับดำเนินการได้ :

-          การกำหนดระดับของการรักษาความปลอดภัยที่จะใช้

-          การกำหนดว่าท่าเรือใดภายในอาณาเขตของตนจะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความ ปลอดภัยประจำท่าเรือซึ่งจะต้องรับผิดชอบในการจัดทำแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ

-          การอนุมัติรายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือหรือข้อแก้ไขในภายหลังของรายงานการประเมินที่ได้รับอนุมัติก่อนแล้ว

-          การอนุมัติแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือและข้อแก้ไขในภายหลังของแผนที่ได้รับอนุมัติก่อนแล้ว

-          การใช้มาตรการควบคุมและบังคับให้ปฏิบัติตาม

-          การจัดให้มีข้อกำหนดสำหรับปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย (Declaration of  Security)

 

การกำหนดระดับของการรักษาความปลอดภัย

1.8       รัฐภาคีจะรับผิดชอบในการกำหนดระดับของการรักษาความปลอดภัยที่จะใช้ในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งและสามารถนำไปใช้บังคับกับเรือและท่าเรือได้  ภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้กำหนดระดับของการรักษาความปลอดภัยไว้ 3 ระดับสำหรับใช้ระหว่างประเทศ ดังนี้

-          ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่ 1  ภาวะปกติ ; ระดับที่เรือและท่าเรือปฏิบัติงานตามปกติ

-          ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่ 2 ภาวะความเสี่ยงสูงกว่าปกติ ; ระดับที่ใช้เมื่อมีความเสี่ยงต่อสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยสูงกว่าปกติ และ

-          ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่ 3  ภาวะความเสี่ยงสูงเป็นพิเศษ ; ระดับที่ใช้ในช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงต่อสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยที่มีความเป็นไปได้สูงหรือใกล้จะเกิดขึ้นจริง

 

บริษัทเรือและเรือ

1.9       บริษัทที่ประกอบการเดินเรือบริษัทใดที่อยู่ในขอบเขตการใช้บังคับของบทที่ 11-2 และภาค ก. ของประมวลข้อบังคับนี้จะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัท (CSO) และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือ (SSO) สำหรับเรือแต่ละลำ  หน้าที่ ความรับผิดชอบ และข้อกำหนดในการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่เหล่านี้และข้อกำหนดในการฝึกปฏิบัติและการฝึกซ้อมมีรายละเอียดปรากฏในภาค ก. ของประมวลข้อบังคับนี้

1.10     เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทมีความรับผิดชอบโดยสังเขป คือ การดำเนินการเพื่อให้มีการจัดทำรายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของเรือย่างเหมาะสม มีการจัดทำและเสนอให้ทางการหรือตัวแทนของทางการพิจารณาอนุมัติแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือ  และภายหลังได้เก็บแผนดังกล่าวไว้บนเรือแต่ละลำที่อยู่ในขอบเขตการใช้บังคับของภาค ก. ของประมวลข้อบังคับนี้และที่อยู่ในความดูแลของบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัท

1.11     แผนการรักษาความปลอดภัยของเรือควรระบุถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยในเชิงปฏิบัติการและเชิงกายภาพ ที่เรือควรนำมาใช้เพื่อให้สามารถดำเนินงานในระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่ 1 ได้ตลอด

1.12     เวลา  แผนดังกล่าวควรระบุถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมหรือที่เข้มงวดขึ้นที่เรือสามารถนำมาใช้เพื่อเลื่อนไปดำเนินงานในระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่ 2 เมื่อได้รับคำสั่งให้ดำเนินการ  นอกจากนี้ แผนดังกล่าวควรระบุถึงการเตรียมการที่เป็นไปได้ที่เรือสามารถปฏิบัติตามโดยไม่ชักช้าตามคำสั่งของผู้มีอำนาจในระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่ 3 เพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือภัยคุกคามของเหตุการณ์ดังกล่าว

1.13     เรือตามข้อกำหนดของบทที่ 11-2 และภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้จะต้องมีหรือดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือที่ได้รับอนุมัติจากทางการหรือตัวแทนของทางการ  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือควรกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามแผนอย่างต่อเนื่องและบรรลุผลซึ่งรวมถึงการดำเนินการตรวจสอบภายในด้วย  ข้อแก้ไขไม่ว่าจะเป็นส่วนใดก็ตามของแผนที่ได้รับอนุมัติแล้วซึ่งทางการกำหนดว่าจะต้องได้รับอนุมัติเสียก่อน จะต้องนำเสนอเพื่อทบทวนและขออนุมัติก่อนที่จะบรรจุไว้ในแผนที่ได้รับอนุมัติแล้วและให้เรือนำไปปฏิบัติ

1.14     เรือจะต้องมีใบสำคัญรับรองว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือระหว่างประเทศ (International Ship Security Certificate) ที่ระบุว่าเรือดังกล่าวได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของบทที่ 11-2 และภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้ รวมทั้งบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการตรวจสอบและการออกใบสำคัญรับรองการปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวของเรือบนพื้นฐานของการตรวจสอบครั้งแรกก่อนนำเรือออกใช้งาน การตรวจสอบเพื่อออกใบสำคัญรับรองใหม่ และการตรวจสอบในช่วงกลางรอบระยะเวลา

1.15     เมื่อเรือเดินทางมาถึงท่าเรือหรือเดินทางไปยังท่าเรือของรัฐภาคี  รัฐภาคีมีสิทธิตามบทบัญญัติของกฎข้อบังคับที่ 11-2/9 ในการใช้มาตรการควบคุมและบังคับให้เรือนั้นปฏิบัติตาม  เรือจะต้องรับการตรวจสอบโดยการควบคุมของรัฐเมืองท่า  แต่ตามปกติการตรวจสอบดังกล่าวจะไม่ขยายไปถึงการตรวจสอบแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือนั้นเองยกเว้นในกรณีเฉพาะบางกรณี  นอกจากนี้ เรือยังอาจต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมเพิ่มเติมหากรัฐภาคีที่ใช้มาตรการควบคุมและบังคับให้ปฏิบัติตามหากมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าการรักษาความปลอดภัยของเรือหรือท่าเรือมีระดับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

1.16     นอกจากนี้ยังกำหนดให้เรือต้องมีข้อมูลประจำบนเรือและเผยแพร่ให้รัฐภาคีอื่นทราบตามที่ได้รับการร้องขอ ซึ่งระบุถึงผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจว่าจ้างบุคลากรประจำเรือและการตัดสินใจในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับการจัดหาเรือมาใช้

 

ท่าเรือ

 

1.17     แต่ละรัฐภาคีจะต้องดำเนินการเพื่อให้มีการจัดทำรายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือสำหรับท่าเรือแต่ละแห่งที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตของตนและให้บริการเรือที่เดินระหว่างประเทศ  รัฐภาคี หน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย หรือองค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับอาจเป็นผู้จัดทำรายงานการประเมินดังกล่าว  รายงานการประเมินที่จัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องได้รับอนุมัติจากรัฐภาคีหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้รับมอบหมาย  การอนุมัตินี้ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นกระทำได้  รายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือควรมีการทบทวนตามรอบระยะเวลาที่เหมาะสม

1.18     การประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือโดยพื้นฐานแล้วเป็นการวิเคราะห์ความเสี่ยงของการประกอบการท่าเรือหมดทุกด้านเพื่อกำหนดว่าส่วนใดของท่าเรือที่มีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามสูง และ/หรือมีแนวโน้มจะถูกโจมตี  ความเสี่ยงต่อความปลอดภัยขึ้นอยู่กับภัยคุกคามจากการโจมตี จุดอ่อนของเป้าหมายและผลของการโจมตีดังกล่าว  รายงานการประเมินจะต้องครอบคลุมถึงองค์ประกอบดังต่อไปนี้

-          การกำหนดภัยคุกคามที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับส่วนติดตั้งและโครงสร้างพื้นฐานของท่าเรือ

-          การค้นหาจุดอ่อนที่มีอยู่

-          การคำนวณผลของภัยคุกคาม

เมื่อเสร็จสิ้นการวิเคราะห์ ก็จะทำให้สามารถประเมินระดับความเสี่ยงทั้งหมดได้   การประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือจะช่วยกำหนดว่าท่าเรือแห่งใดที่จำเป็นจะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือและจัดทำแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ

1.19     ท่าเรือซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของบทที่ 11-2 และภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้จะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือ หน้าที่ ความรับผิดชอบ และข้อกำหนดในการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวตลอดจนข้อกำหนดในการฝึกปฏิบัติและการฝึกซ้อมมีรายละเอียดปรากฏในภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้

1.20     แผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือควรระบุถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยทั้งในด้านการดำเนินงานและทางกายภาพที่ท่าเรือควรนำมาใช้เพื่อให้ท่าเรือสามารถประกอบการในระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่ 1 ได้ตลอดเวลา แผนดังกล่าวควรระบุถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมหรือที่เข้มงวดขึ้นที่ท่าเรือสามารถนำมาใช้เพื่อเลื่อนขึ้นไปดำเนินงานในระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่ 2 เมื่อได้รับคำสั่ง  นอกจากนี้ แผนดังกล่าวควรระบุถึงการเตรียมการที่เป็นไปได้ที่ท่าเรือสามารถนำมาใช้ตามคำสั่งของผู้มีอำนาจในการรักษาความปลอดภัยในระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่ 3

1.21     ท่าเรือซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของบทที่ 11-2 และภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้จะต้องมีและดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือที่ได้รับอนุมัติจากรัฐภาคีหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้รับมอบหมาย  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือควรปฏิบัติตามข้อกำหนดของแผนและกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามแผนอย่างต่อเนื่องและบรรลุผลซึ่งรวมถึงการดำเนินการตรวจสอบภายในของการปฏิบัติตามแผนด้วย  ข้อแก้ไขไม่ว่าจะเป็นส่วนใดก็ตามของแผนที่ได้รับอนุมัติแล้วซึ่งรัฐภาคีหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายกำหนดว่าจะต้องได้รับอนุมัติก่อน จะต้องนำเสนอเพื่อทบทวนและขออนุมัติก่อนที่จะบรรจุไว้ในแผนที่ได้รับอนุมัติแล้วและนำไปปฏิบัติที่ท่าเรือต่อไป  รัฐภาคีหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้รับมอบหมายอาจทำการทดสอบประสิทธิผลของแผน  รายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือที่ใช้เป็นพื้นฐานในการจัดทำแผนควรมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ  กิจกรรมเหล่านี้ทั้งหมดอาจนำไปสู่การแก้ไขแผนที่ได้รับอนุมัติแล้ว  ข้อแก้ไขใด ๆ ในส่วนย่อยของแผนที่ได้รับอนุมัติแล้วจะต้องนำเสนอเพื่อขออนุมัติจากรัฐภาคีหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้รับมอบหมาย

1.22     เรือที่ใช้ท่าเรือดังกล่าวข้างต้นอาจต้องรับการตรวจสอบจากการควบคุมโดยรัฐเมืองท่าและมาตรการควบคุมเพิ่มเติมที่ระบุไว้โดยสังเขปในกฎข้อบังคับที่ 11-2/9  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจร้องขอให้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับเรือ สินค้า ผู้โดยสาร และคนประจำเรือก่อนที่เรือจะเข้าเทียบท่า  ซึ่งอาจมีบางกรณีที่ไม่อนุญาตให้เรือเข้าเทียบท่า

 

 

การแจ้งข้อมูล

1.23     บทที่ 11-2 และ ภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้กำหนดให้รัฐภาคีต้องส่งข้อมูลบางรายการให้องค์การทางทะเลระหว่างประเทศและข้อมูลที่จะต้องจัดเตรียมไว้เพื่อให้มีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิผลระหว่างรัฐภาคีต่าง ๆ และระหว่างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัท/เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือ

 

2          คำนิยาม

 

2.1                 ไม่มีแนวทางสำหรับคำนิยามที่กำหนดไว้ในบทที่ 11-2 หรือ ภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้

2.2                 เพื่อจุดมุ่งหมายของภาค ข.ของประมวลข้อบังคับนี้:

.1         ส่วน (section) หมายถึง ส่วนของภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้และระบุเป็น ส่วน ก./<ตามด้วยหมายเลขของส่วนนั้น>”

.2         วรรค (paragraph) หมายถึง วรรคของภาค ข. ของประมวลข้อบังคับนี้และระบุเป็น วรรค <ตามด้วยหมายเลขของวรรคนั้น>” และ

.3         รัฐภาคี เมื่อใช้ในวรรคที่ 14 18 หมายถึง รัฐภาคีที่ท่าเรือนั้นตั้งอยู่ภายในอาณาเขตของรัฐนั้น และรวมถึงการใช้เพื่ออ้างอิงถึงหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย

 

3. ขอบเขตการใช้บังคับ

 

บททั่วไป

3.1                 เมื่อมีการปฏิบัติตามข้อกำหนดของบทที่ 11-2 และภาค ก. ของประมวลข้อบังคับนี้ ควรคำนึงถึงแนวทางที่ให้ไว้ในภาค ข.ของประมวลข้อบังคับนี้

3.2           อย่างไรก็ดี ควรตระหนักว่าขอบเขตการใช้บังคับของแนวทางการรักษาความปลอดภัยของเรือจะขึ้นอยู่กับประเภทของเรือ สินค้า และ/หรือผู้โดยสาร รูปแบบการค้า และลักษณะของท่าเรือที่เรือนั้นเข้าเทียบท่า

3.3           ในทำนองเดียวกัน ขอบเขตการใช้บังคับของแนวทางการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือจะขึ้นอยู่กับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ของท่าเรือ ประเภทของเรือที่มาใช้ท่าเรือ ประเภทของสินค้าและ/หรือผู้โดยสาร และรูปแบบการค้าของเรือที่เข้าเทียบท่า

3.4                 บทบัญญัติของบทที่ 11-2 และภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้จะไม่ใช้บังคับกับท่าเรือที่ออกแบบและใช้เพื่อจุดมุ่งหมายทางการทหารเป็นหลัก

 

4          ความรับผิดชอบของรัฐภาคี

 

การประเมินและแผนรักษาความปลอดภัย

4.1           รัฐภาคีจะต้องดำเนินการเพื่อให้มีการใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้มีการเปิดเผยหรือการเข้าถึงข้อมูลที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในส่วนที่เกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของเรือ แผนการรักษาความปลอดภัยของเรือ การประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือ และแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ และการประเมินหรือแผนนั้นต่างหากโดยไม่ได้รับอนุญาต

 

หน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย

4.2           รัฐภาคีอาจกำหนดหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายของรัฐเพื่อปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยในส่วนที่เกี่ยวกับท่าเรือตามที่กำหนดไว้ในบทที่ 11-2 หรือภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้

 

องค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับ

4.3                 รัฐภาคีอาจมอบอำนาจให้องค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับ (RSO) ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยบางอย่าง ได้แก่

.1         การอนุมัติแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือ หรือข้อแก้ไขต่อแผนดังกล่าว แทนทางการ

.2         การตรวจสอบและการออกใบสำคัญรับรองสำหรับการปฏิบัติตามข้อกำหนดของบทที่ 11-2 และ ภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้ของเรือแทนทางการ และ

.3         การจัดทำรายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือตามที่รัฐภาคีกำหนด

4.4           RSO อาจให้คำแนะนำ หรือให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทเรือหรือท่าเรือในเรื่องเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของเรือ แผนการรักษาความปลอดภัยของเรือ การประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือ และแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ  ซึ่งอาจรวมถึงการจัดทำรายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของเรือหรือแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือหรือรายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือหรือแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ  ถ้า RSO เป็นผู้จัดทำรายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของเรือหรือแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือ  RSO รายนั้นก็ไม่ควรได้รับมอบอำนาจให้อนุมัติแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือนั้น

4.5                 เมื่อมอบอำนาจให้แก่ RSO รัฐภาคีควรพิจารณาความสามารถขององค์กรดังกล่าว โดย RSO ที่ได้รับมอบอำนาจวรมีความสามารถดังนี้

.1         มีความเชี่ยวชาญในด้านที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย

.2         มีความรู้เกี่ยวกับการประกอบการเรือและท่าเรืออย่างเหมาะสม ซึ่งได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบและต่อสร้างเรือในกรณีที่ให้บริการแก่เรือ  และมีความรู้เกี่ยวกับการออกแบบและก่อสร้างท่าเรือในกรณีที่ให้บริการแก่ท่าเรือ

  .3       มีความสามารถในการประเมินความเสี่ยงต่อสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการประกอบการของเรือและท่าเรือ รวมทั้งจุดเชื่อมต่อระหว่างเรือ/ท่าเรือ และวิธีลดความเสี่ยงดังกล่าว

.4         มีความสามารถในการรักษาและพัฒนาความเชี่ยวชาญของบุคลากรของตน

.5         มีความสามารถในการกำกับดูแลบุคลากรของตนให้มีความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่อง

.6         มีความสามารถในการใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการเปิดเผยหรือเข้าถึงข้อมูลที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยโดยไม่ได้รับอนุญาต

.7         มีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดของบทที่ 11-2 และภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้ และกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนข้อกำหนดด้านการรักษาความปลอดภัยต่างๆ

.8         มีความรู้เกี่ยวกับรูปแบบต่าง ๆ ของภัยคุกคามต่อความปลอดภัยในปัจจุบัน

.9         มีความรู้เกี่ยวกับอาวุธ สารและอุปกรณ์ที่เป็นอันตราย และการค้นหาอาวุธ สาร และอุปกรณ์ดังกล่าว

.10      มีความรู้เกี่ยวกับลักษณะและรูปแบบพฤติกรรมของบุคคลที่มีแนวโน้มจะเป็นภัยคุกคามต่อความปลอดภัยโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ

.11      มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคที่ใช้ในการจัดทำมาตรการรักษาความปลอดภัย

.12      มีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์และระบบรักษาความปลอดภัยและเตือนภัย ตลอดจนข้อจำกัดในการใช้งานของอุปกรณ์และระบบดังกล่าว เมื่อมอบหมายหน้าที่เฉพาะอย่างให้ RSO ฏิบัติ รัฐภาคีรวมทั้งทางการจะต้องดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่า RSO ีความสามารถที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานจริง

4.6           ทางการอาจแต่งตั้งองค์กรที่ได้รับการยอมรับตามที่อ้างถึงในกฎข้อบังคับที่ 1/6 และการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎข้อบังคับที่ 11-1/1 ให้เป็น RSO หากองค์กรดังกล่าวมีความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยตามที่ระบุไว้ในวรรค 4.5

4.7                 รัฐภาคีอาจแต่งตั้งการท่าเรือหรือผู้ประกอบการท่าเรือเป็น RSO หากมีความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยตามที่ระบุไว้ในวรรค 4.5

 

การกำหนดระดับของการรักษาความปลอดภัย

4.8           ในการกำหนดระดับของการรักษาความปลอดภัย รัฐภาคีจะต้องคำนึงถึงข้อมูลภัยคุกคามทั้งที่เป็นข้อมูลทั่วไปและข้อมูลเฉพาะ  รัฐภาคีควรกำหนดระดับของการรักษาความปลอดภัยที่ใช้กับเรือหรือท่าเรือหนึ่งในสามระดับดังต่อไปนี้

-          ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่ 1 ภาวะปกติ ; ระดับที่เรือและท่าเรือดำเนินงานตามปกติ

-          ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่ 2 ภาวะความเสี่ยงสูงกว่าปกติ ; ระดับที่ใช้เมื่อมีความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยสูงกว่าปกติ และ

-          ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่ 3 ภาวะความเสี่ยงสูงเป็นพิเศษ ; ระดับที่ใช้ในช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยที่มีความเป็นไปได้สูงหรือใกล้จะเกิดขึ้นจริง

 

4.9           การกำหนดระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่ 3 ควรเป็นมาตรการพิเศษที่ใช้เฉพาะเมื่อมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่าเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นสูงหรือใกล้จะเกิดขึ้นจริง  ขณะที่ระดับการรักษาความปลอดภัยอาจเปลี่ยนจากระดับที่ 1 เป็นระดับที่ 2 จนถึงระดับที่ 3 แต่ก็เป็นไปได้เช่นกันที่ระดับการรักษาความปลอดภัยจะเปลี่ยนแปลงโดยตรงจากระดับที่ 1 เป็นระดับที่ 3

4.10         นายเรือมีความรับผิดชอบขั้นสุดท้ายในการดูแลให้เรือมีความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยตลอดเวลา  แม้ในระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่ 3 ผู้ควบคุมเรืออาจพิจารณาทบทวนหรือปรับปรุงแก้ไขคำสั่งที่ออกโดยผู้มีอำนาจในการรักษาความปลอดภัย เมื่อมีเหตุให้เชื่อได้ว่าคำสั่งนั้นอาจเป็นอันตรายต่อเรือ

4.11         เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัท หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือควรประสานงานกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือของท่าเรือที่เรือนั้นตั้งใจจะเข้าเทียบท่าในโอกาสแรกเพื่อกำหนดระดับการรักษาความปลอดภัยที่ต้องใช้กับเรือนั้นที่ท่าเรือ  เมื่อได้ประสานกับทางเรือแล้ว เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือวรให้คำแนะนำแก่เรือเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในระดับการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือและควรให้ข้อมูลการรักษาความปลอดภัยในส่วนที่เกี่ยวข้องแก่เรือนั้น

4.12         ขณะที่อาจมีกรณีที่เรือที่มีการรักษาความปลอดภัยในระดับที่สูงกว่ากำลังมาเข้าเทียบท่าเรือที่มีการรักษาความปลอดภัยในระดับที่ต่ำกว่า  แต่จะต้องไม่มีกรณีที่เรือมีการรักษาความปลอดภัยในระดับที่ต่ำกว่าท่าเรือที่เรือนั้นจะเข้าเทียบท่า  ถ้าเรือมีการรักษาความปลอดภัยในระดับที่สูงกว่าท่าเรือที่ต้องการเข้าเทียบท่า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทหรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือวรแจ้งให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือราบโดยไม่ชักช้า  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือวรทำการประเมินสถานการณ์นั้น ๆ โดยปรึกษาหารือกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทหรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือ และหาข้อยุติเกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมที่จะใช้กับเรือนั้น ซึ่งอาจรวมถึงการจัดทำและการลงนามในปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย (Declaration of Security)

4.13         รัฐภาคีควรพิจารณาหาแนวทางที่จะช่วยให้มีการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงในระดับการรักษาความปลอดภัยอย่างรวดเร็ว  ทางการอาจพิจารณาใช้ข่าวสาร NAVTEX หรือประกาศชาวเรือเป็นวิธีแจ้งความเปลี่ยนแปลงในระดับการรักษาความปลอดภัยแก่เรือ  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือ หรือทางการอาจพิจารณาใช้วิธีการสื่อสารอื่นที่มีความรวดเร็วและครอบคลุมสาระได้เท่ากันหรือดีกว่า  รัฐภาคีควรกำหนดวิธีแจ้งความเปลี่ยนแปลงในระดับการรักษาความปลอดภัยให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือราบด้วย  รัฐภาคีควรรวบรวมและเก็บรักษารายชื่อและรายละเอียดการติดต่อประสานงานของผู้ที่จำเป็นจะต้องแจ้งให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงในระดับการรักษาความปลอดภัย  ขณะที่ระดับการรักษาความปลอดภัยไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องที่มีความอ่อนไหวมากนัก แต่ข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามที่อยู่เบื้องหลังการใช้ระดับการรักษาความปลอดภัยนั้นอาจเป็นเรื่องที่มีความอ่อนไหวมากก็ได้  รัฐภาคีควรพิจารณาประเภทและรายละเอียดของข้อมูลที่จะส่งตลอดจนวิธีที่จะส่งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัท และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือย่างระมัดระวัง

               

ผู้ประสานงานและข้อมูลเกี่ยวกับแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ

 

4.14         ในท่าเรือที่มีแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ จะต้องแจ้งให้องค์การทางทะเลระหว่างประเทศทราบและต้องแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือทราบด้วย  จะต้องไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่รายละเอียดของแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือนอกจากในส่วนที่ระบุว่าได้มีการจัดทำแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือแล้วเท่านั้น  รัฐภาคีควรพิจารณาจัดตั้งผู้ประสานงานส่วนกลางหรือระดับภูมิภาคหรือกำหนดวิธีอื่นในการให้ข้อมูลที่ทันสมัยเกี่ยวกับสถานที่ที่เก็บรักษาแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือพร้อมทั้งรายละเอียดการติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือี่เกี่ยวข้อง  ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผู้ประสานงานดังกล่าวโดยทั่วกันด้วย  ผู้ประสานงานดังกล่าวอาจให้ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับที่ได้รับแต่งตั้งเพื่อดำเนินการแทนรัฐภาคีพร้อมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับความรับผิดชอบและเงื่อนไขเฉพาะของอำนาจที่มอบให้แก่องค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับดังกล่าว

4.15         ในกรณีของท่าเรือที่ไม่มีแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ (ดังนั้นจึงไม่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือ) รือabb41-56 Ranong Road, Klongtoey, Bangkok 10110ู้ประสานงานส่วนกลางหรือระดับภูมิภาคควรจะสามารถหาบุคคลที่มีความเหมาะสมบนฝั่งที่จะสามารถจัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมระหว่างที่เรือเข้าเทียบท่าในกรณีที่จำเป็น

4.16         รัฐภาคีควรจัดให้มีรายละเอียดการติดต่อประสานงานเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัท และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือจะต้องรายงานให้ทราบถึงเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย  เจ้าหน้าที่ของรัฐเหล่านี้ควรประเมินรายงานดังกล่าวก่อนที่จะดำเนินการตามที่เห็นสมควร  เรื่องที่รายงานอาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัยที่อยู่ในอำนาจของรัฐภาคีอื่น  ในกรณีเช่นว่านั้น รัฐภาคีควรพิจารณาติดต่อผู้ประสานงานในรัฐภาคีอื่นเพื่อหารือว่ามาตรการที่ใช้มีความเหมาะสมหรือไม่  เพื่อจุดมุ่งหมายนี้ ควรแจ้งรายละเอียดการติดต่อประสานงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้องค์การทางทะเลระหว่างประเทศทราบด้วย

4.17              รัฐภาคีควรแจ้งข้อมูลที่ระบุไว้ในวรรค 4.14 ถึง 4.16 ให้รัฐภาคีอื่นทราบหากมีการร้องขอ

 

เอกสารรับรอง (Identification documents)

4.18         รัฐภาคีควรออกเอกสารรับรองให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้ขึ้นไปบนเรือหรือเข้าไปในท่าเรือเพื่อปฏิบัติหน้าที่ และจัดให้มีขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อตรวจสอบความเชื่อถือได้ของเอกสารรับรองดังกล่าวด้วย

 

แท่นตรึงอยู่กับที่และแท่นลอยและแท่นขุดเจาะนอกฝั่งที่เคลื่อนที่ได้ในพื้นที่

4.19         รัฐภาคีควรพิจารณากำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมสำหรับแท่นตรึงอยู่กับที่และแท่นลอยและแท่นขุดเจาะนอกฝั่งที่เคลื่อนที่ได้ในพื้นที่ เพื่อให้สามารถติดต่อกับเรือที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของบทที่ 11-2 และภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้

 

เรือที่ไม่ถูกบังคับให้ต้องปฏิบัติตามภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้

4.20         รัฐภาคีควรพิจารณากำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมเพื่อเสริมสร้างการรักษาความปลอดภัยของเรือที่ไม่อยู่ในขอบเขตการใช้บังคับของบทที่ 11-2 และภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้และดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยใด ๆ ที่ใช้กับเรือดังกล่าวยอมให้มีการติดต่อกับเรือที่อยู่ในขอบเขตการใช้บังคับของภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้

 

ภัยคุกคามต่อเรือและเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในทะเลอื่นๆ

4.21         รัฐภาคีควรจะให้แนวทางทั่วไปเกี่ยวกับมาตรการที่พิจารณาเห็นว่าเหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของเรือที่ชักธงของรัฐภาคีนั้นเมื่อออกทะเล  รัฐภาคีควรให้คำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับสิ่งที่จะต้องดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่ 1 ถึง 3 หาก:

.1         มีความเปลี่ยนแปลงในระดับการรักษาความปลอดภัยที่ใช้กับเรือระหว่างที่ออกทะเล   เช่น เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งเรือนั้นปฏิบัติการอยู่หรือเกี่ยวข้องกับเรือนั้นเอง และ

.2         มีเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือภัยคุกคามจากเหตุการณ์ดังกล่าวที่เกี่ยวกับเรือในขณะที่ออกทะเล

รัฐภาคีควรกำหนดวิธีและขั้นตอนการปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับจุดประสงค์ดังกล่าว  ในกรณีของการโจมตีที่ใกล้จะเกิดขึ้น เรือควรจัดให้มีการสื่อสารโดยตรงกับผู้มีอำนาจในการรักษาความปลอดภัยของรัฐเจ้าของธง

4.22              รัฐภาคีควรจัดตั้งผู้ประสานงานสำหรับให้คำปรึกษาด้านการรักษาความปลอดภัยแก่เรือใด ๆ:

.1         ที่ชักธงของรัฐภาคีนั้น

.2         ที่ประกอบการในทะเลอาณาเขตหรือได้แจ้งความประสงค์ที่จะเข้าไปในทะเลอาณาเขต

4.23              รัฐภาคีควรให้คำปรึกษาแก่เรือที่ประกอบการในทะเลอาณาเขตหรือได้แจ้งความประสงค์ที่จะเข้าไปในทะเลอาณาเขต ซึ่งควรจะเป็นคำปรึกษาเกี่ยวกับ

.1         การเปลี่ยนเส้นทางการเดินเรือตามแผนหรือการเดินเรือตามแผนเกิดความล่าช้า

.2         การเดินเรือในเส้นทางนั้น ๆ หรือการเดินทางไปยังสถานที่เฉพาะเจาะจง

.3         บุคลากรหรืออุปกรณ์ที่ควรมีประจำบนเรือ

.4         การประสานงานในการเดินทาง การเข้าเทียบท่าหรือออกจากท่า เพื่อให้เรือหรือเครื่องบินตรวจการณ์ (ชนิดมีปีกหรือเฮลิคอปเตอร์) สามารถให้ความคุ้มครองได้

 

รัฐภาคีควรเตือนให้เรือที่ประกอบการในทะเลอาณาเขตหรือได้แจ้งความประสงค์ที่จะเข้าไปในทะเลอาณาเขตทราบถึงพื้นที่หวงห้ามชั่วคราวที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว

 

4.24         รัฐภาคีควรแนะนำให้เรือที่ประกอบการในทะเลอาณาเขตหรือได้แจ้งความประสงค์ที่จะเข้าไปในทะเลอาณาเขตดำเนินมาตรการรักษาความปลอดภัยใด ๆ ที่รัฐภาคีอาจให้คำแนะนำแล้วโดยเร่งด่วนเพื่อเป็นการคุ้มครองเรือนั้นและเรืออื่นในพื้นที่ใกล้เคียง

4.25         แผนที่รัฐภาคีจัดทำเพื่อจุดประสงค์ตามที่ระบุไว้ในวรรค 4.22 ควรครอบคลุมถึงข้อมูลเกี่ยวกับผู้ติดต่อประสานงานที่เหมาะสม โดยให้พร้อมปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง ภายในรัฐภาคีซึ่งรวมถึงทางการด้วย  แผนดังกล่าวควรจะครอบคลุมถึงสถานการณ์ที่ทางการพิจารณาเห็นว่าควรขอความช่วยเหลือจากรัฐชายฝั่งใกล้เคียงตลอดจนขั้นตอนการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือ

 

ความตกลงเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย

4.26         ในการพิจารณาวิธีดำเนินการตามบทที่ 11-2 และภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้ รัฐภาคีอาจจัดทำความตกลงกับรัฐภาคีอื่น  ขอบเขตของความตกลงจะจำกัดอยู่ที่การเดินทางระหว่างประเทศระยะสั้นในเส้นทางที่แน่นอนระหว่างท่าเรือในอาณาเขตของรัฐที่เป็นภาคีความตกลง  หลังจากที่ได้จัดทำความตกลงแล้วรัฐภาคีควรปรึกษาหารือกับรัฐภาคีและทางการอื่นที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผลของความตกลงนั้น  เรือที่ชักธงของรัฐที่ไม่ได้เป็นภาคีความตกลงควรให้เดินในเส้นทางที่แน่นอนที่กำหนดไว้ในความตกลงนั้นหากทางการของรัฐภาคีดังกล่าวเห็นว่าเรือนั้นควรปฏิบัติตามบทบัญญัติของความตกลงและได้กำหนดให้เรือนั้นต้องปฏิบัติตาม  แต่ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ความตกลงนั้นจะต้องไม่มีการผ่อนปรนเกี่ยวกับระดับของการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรืออื่นที่ไม่อยู่ภายใต้ความตกลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือทุกลำที่อยู่ภายใต้ความตกลงดังกล่าวอาจไม่ปฏิบัติการร่วมกับเรือที่ไม่อยู่ภายใต้ความตกลง  แต่ความตกลงนี้ควรครอบคลุมถึงการเชื่อมต่อการปฏิบัติงาน (operational interface) ของเรือภายใต้ความตกลงด้วย  โดยจะต้องมีการกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามความตกลงดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและแก้ไขเมื่อมีความจำเป็นและควรมีการทบทวนทุก 5 ปี 

 

การใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยในระดับเดียวกันสำหรับท่าเรือ

4.27         สำหรับท่าเรือบางแห่งที่มีการปฏิบัติการขนถ่ายสินค้าจำกัดหรือเป็นพิเศษแต่มีเรือเข้าเทียบท่าไม่มากนัก  ควรจะดำเนินการเพื่อให้มีการปฏิบัติตามประมวลข้อบังคับนี้โดยใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยในระดับที่เท่ากันกับมาตรการที่ระบุไว้ในบทที่ 11-2 และในภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้  กรณีนี้อาจเป็นกรณีของท่าเรือที่อยู่ติดกับโรงงาน หรือท่าเทียบเรือที่ไม่ค่อยมีการปฏิบัติการขนถ่ายสินค้าบ่อยครั้งนัก

 

ระดับการบรรจุคนประจำเรือ

4.28         ในการกำหนดจำนวนคนประจำเรือขั้นต่ำเพื่อความปลอดภัยของเรือ ทางการต้องคำนึงถึงบทบัญญัติว่าด้วยจำนวนคนประจำเรือขั้นต่ำเพื่อความปลอดภัยที่กำหนดโดยกฎข้อบังคับที่ 5/14 ซึ่งให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยในการเดินเรือเป็นหลัก   ทางการควรคำนึงถึงภาระงานที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากการใช้แผนการรักษาความปลอดภัยของเรือและการดำเนินการเพื่อให้มีการจัดคนประจำเรืออย่างเพียงพอและมีประสิทธิผลด้วย การที่จะทำเช่นนั้นได้ทางการควรทำการตรวจสอบด้วยว่าเรือสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับชั่วโมงพักผ่อน และมาตรการที่เกี่ยวกับความเหนื่อยล้า ซึ่งประกาศใช้เป็นกฎหมายภายในประเทศ โดยคำนึงถึงหน้าที่ต่างๆบนเรือที่ได้มอบหมายให้คนประจำเรือปฏิบัติ

 

มาตรการควบคุมและบังคับให้ปฏิบัติตาม

 

บททั่วไป

 

4.29         กฎข้อบังคับที่ 11-2/9 อธิบายถึงมาตรการควบคุมและบังคับให้ปฏิบัติตามซึ่งใช้บังคับกับเรือภายใต้บทที่ 11-2 กฎข้อบังคับนี้แบ่งออกเป็นสามส่วนหลักๆคือ การควบคุมเรือในเมืองท่า การควบคุมเรือที่ประสงค์จะเข้าท่าของรัฐภาคีอื่น และบทบัญญัติเพิ่มเติมซึ่งใช้บังคับกับทั้งสองสถานการณ์

4.30         กฎข้อบังคับที่ 11-2/9.1 การควบคุมเรือในเมืองท่า เป็นการปฏิบัติตามระบบสำหรับการควบคุมเรือขณะที่อยู่ในเมืองท่าต่างประเทศโดยให้เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบอำนาจจากรัฐภาคี (“เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบอำนาจ”) มีสิทธิที่จะลงเรือเพื่อทำการตรวจสอบว่าใบสำคัญรับรองตามข้อกำหนดอยู่ในสภาพที่เหมาะสม หลังจากนั้นถ้ามีมูลเหตุที่ชัดเจนพอให้เชื่อได้ว่าเรือไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัย ก็อาจใช้มาตรการควบคุม เช่น การตรวจเพิ่มเติมหรือการกักเรือได้ สิ่งนี้สะท้อนถึงระบบควบคุมในปัจจุบัน กฎข้อบังคับที่ 11-2/9.1 มีพื้นฐานอยู่บนระบบดังกล่าวและอนุญาตให้มีมาตรการเพิ่มเติม(ซึ่งรวมถึงการไล่เรือออกจากเมืองท่าซึ่งจัดว่าเป็นมาตรการควบคุมอย่างหนึ่ง) เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบอำนาจมีมูลเหตุที่ชัดเจนพอให้เชื่อได้ว่าเรือไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของบทที่ 11-2 หรือภาค ก. ของประมวลข้อบังคับนี้ กฎข้อบังคับที่ 11-2/9.3 อธิบายถึงมาตรการคุ้มครองที่ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรการเพิ่มเติมเหล่านี้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม

4.31         กฎข้อบังคับที่ 11-2/9.2 เป็นการนำมาตรการควบคุมมาใช้เพื่อให้แน่ใจว่าเรือที่ประสงค์จะเข้าท่าของรัฐภาคีอื่นได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดและเป็นการนำแนวคิดในการควบคุมที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงภายใต้บทที่ 11-2 มาใช้กับการรักษาความปลอดภัยเท่านั้น ภายใต้กฎข้อบังคับนี้ อาจนำมาตรการควบคุมมาใช้ก่อนที่เรือจะเข้าท่าได้เพื่อให้เกิดความแน่ใจในการรักษาความปลอดภัยยิ่งขึ้น ดังเช่นในกฎข้อบังคับที่ 11-2/9.1 มาตรการควบคุมเพิ่มเติมนี้มีพื้นฐานจากแนวคิดเรื่องมูลเหตุที่ชัดเจนพอให้เชื่อได้ว่าเรือไม่ได้ปฏิบัติตามตามข้อกำหนดของบทที่ 11-2 หรือ ภาค ก.  ของประมวลข้อบังคับนี้ รวมถึงมาตรการคุ้มครองที่สำคัญในกฎข้อบังคับที่ 11-2/9.2.2 และ 11-2/9.2.5 รวมทั้งในกฎข้อบังคับที่ 11-2/9.2.3

4.32              มูลเหตุที่ชัดเจนที่แสดงว่าเรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด หมายถึงหลักฐานหรือข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่าเรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของบทที่ 11-2 หรือภาค ก. ของประมวลข้อบังคับนี้ เมื่อคำนึงถึงแนวทางที่ให้ไว้ในส่วนนี้ของประมวลข้องบังคับนี้ หลักฐานหรือข้อมูลที่เชื่อถือได้นั้นอาจเกิดจากการใช้ดุลพินิจทางวิชาชีพของเจ้าหน้าที่ผู้รับมอบอำนาจในขณะที่ทำการตรวจสอบใบสำคัญรับรองว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือระหว่างประเทศ หรือ ใบสำคัญรับรองว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือระหว่างประเทศชั่วคราว ที่ออกให้ตามภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้ (“ใบสำคัญรับรอง”) หรือ จากแหล่งอื่นๆ ถึงแม้ว่าจะมีใบสำคัญรับรองที่ใช้ได้และมีผลทางกฎหมายอยู่บนเรือ เจ้าหน้าที่ผู้รับมอบอำนาจอาจจะยังคงมีมูลเหตุที่ชัดเจนที่ทำให้เชื่อได้ว่าเรือไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดโดยมีพื้นฐานจากการใช้ดุลพินิจทางวิชาชีพ

4.33              ตัวอย่างของมูลเหตุที่ชัดเจนที่เป็นไปได้ภายใต้กฎข้อบังคับที่ 11-2/9.1 และ 11-2/9.2 อาจรวมถึง

.1         หลักฐานจากการตรวจใบสำคัญรับรองที่ไม่ถูกต้องหรือหมดอายุแล้ว

.2         หลักฐานหรือข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่ามีข้อบกพร่องร้ายแรงในอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย การจัดทำเอกสาร หรือการจัดการตามที่กำหนดไว้ใน บทที่ 11-2 และภาค ก. ของประมวลข้อบังคับนี้

.3         การได้รับรายงานหรือคำร้องเรียนซึ่งตามดุลพินิจทางวิชาชีพของเจ้าหน้าที่ผู้รับมอบอำนาจแล้ว มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือบ่งชี้ว่าเรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของบทที่ 11-2 และภาค ก. ของประมวลข้อบังคับนี้

.4         หลักฐานหรือการสังเกตการณ์ที่เจ้าหน้าที่ผู้รับมอบอำนาจพบโดยใช้ดุลพินิจทางวิชาชีพว่านายเรือหรือคนประจำเรือไม่คุ้นเคยกับขั้นตอนการปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยที่สำคัญบนเรือ หรือ ไม่สามารถทำการฝึกปฏิบัติที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของเรือ หรือไม่เคยดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติหรือการฝึกปฏิบัตินั้นๆเลย

.5         หลักฐานหรือการสังเกตการณ์ที่เจ้าหน้าที่ผู้รับมอบอำนาจพบโดยใช้ดุลพินิจทางวิชาชีพว่าคนประจำเรือที่สำคัญไม่สามารถทำการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมกับคนประจำเรือที่สำคัญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยบนเรือ

.6         หลักฐานหรือข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่ามีคนลงเรือหรือเรือได้บรรทุกสิ่งของหรือสินค้าจากท่าเรือหรือจากเรือลำอื่นซึ่งท่าเรือหรือเรือลำอื่นนั้นได้ฝ่าฝืนบทที่ 11-2 และภาค ก. ของประมวลข้อบังคับนี้  และเรือที่มีปัญหาไม่ได้ทำปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยหรือไม่ได้ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมเป็นพิเศษ หรือที่เหมาะสม หรือไม่ได้รักษาการดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยของเรือที่เหมาะสม

.7         หลักฐานหรือข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่ามีคนลงเรือหรือเรือได้บรรทุกสิ่งของหรือสินค้าจากท่าเรือหรือจากแหล่งอื่น (เช่น เรือลำอื่นหรือการขนย้ายด้วยเฮลิคอปเตอร์) ซึ่งท่าเรือหรือแหล่งอื่นนั้นไม่ถูกบังคับให้ปฏิบัติตามบทที่ 11-2 และภาค ก. ของประมวลข้อบังคับนี้ และเรือไม่ได้ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมเป็นพิเศษหรือที่เหมาะสม หรือไม่ได้รักษาการดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยของเรือที่เหมาะสม และ

.8         เรือถือใบสำคัญรับรองว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือระหว่างประเทศชั่วคราวที่ออกให้ภายหลังดังที่อธิบายไว้ใน ภาค ก/19.4 และถ้าในดุลพินิจทางวิชาชีพของเจ้าหน้าที่ผู้รับมอบอำนาจเห็นว่าจุดประสงค์หนึ่งของเรือหรือบริษัทที่ขอใบสำคัญรับรองนั้นคือเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามตามบทที่ 11-2 และภาค ก. ของประมวลข้อบังคับนี้อย่างครบถ้วน เมื่อพ้นกำหนดอายุของใบสำคัญรับรองชั่วคราวดังอธิบายไว้ในภาค ก/19.4.4

 

4.34              นัยยะทางกฎหมายระหว่างประเทศของกฎข้อบังคับที่ 11-2/9 มีความสำคัญอย่างยิ่งเป็นการเฉพาะ และควรปฏิบัติตามกฎข้อบังคับนี้โดยคำนึงถึงกฎข้อบังคับที่ 11-2/2.4 เพราะอาจเป็นไปได้ที่จะเกิดสถานการณ์ที่ต้องใช้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตของบทที่ 11-2 หรือเมื่อควรพิจารณาถึงสิทธิของเรือที่ได้รับผลกระทบซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตของบทที่ 11-2 ดังนั้น กฎข้อบังคับที่ 11-2/9 ไม่ได้ห้ามรัฐภาคีจากการใช้มาตรการที่มีพื้นฐานอยู่บนหรือสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อให้มีความปลอดภัยหรือการรักษาความปลอดภัยของบุคคล เรือ ท่าเรือ และทรัพย์สินอื่น ในกรณีที่แม้ว่าเรือจะปฏิบัติตามบทที่ 11-2 และภาค ก. ของประมวลข้อบังคับนี้ แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงต่อการรักษาความปลอดภัยอยู่

4.35              เมื่อรัฐภาคีได้กำหนดมาตรการควบคุมสำหรับใช้กับเรือ ควรแจ้งให้ทางการทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอโดยไม่ชักช้าเพื่อให้ทางการสามารถประสานงานได้อย่างเต็มที่กับรัฐภาคี

การควบคุมเรือในเมืองท่า

4.36              เมื่อมีการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดไม่ว่าจะเป็นข้อบกพร่องทางด้านอุปกรณ์หรือเอกสารที่ไม่ถูกต้องซึ่งนำไปสู่การกักเรือและไม่สามารถแก้ไขการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดนั้นในท่าเรือที่ทำการตรวจได้ รัฐภาคีอาจอนุญาตให้เรือเดินทางไปยังเมืองท่าอื่นโดยมีข้อแม้ว่าต้องได้ทำตามเงื่อนไขที่ตกลงกันระหว่างรัฐเมืองท่า และทางการหรือนายเรือแล้ว

 

เรือที่มีความประสงค์จะเข้าเมืองท่าของรัฐภาคีอื่น

4.37              กฎข้อบังคับที่ 11-2/9.2.1 กำหนดรายการข้อมูลที่รัฐภาคีอาจร้องขอจากเรือเพื่อใช้เป็นเงื่อนไขสำหรับการเข้าท่า ข้อมูลรายการหนึ่งก็คือการยืนยันการใช้มาตรการเพิ่มเติมหรือพิเศษของเรือในการเข้าท่าเรือ 10 ท่าที่ผ่านมา ตัวอย่างควรประกอบด้วย

.1         บันทึกมาตรการที่ใช้ระหว่างที่เข้าเทียบท่าเรือซึ่งอยู่ในอาณาเขตของประเทศที่ไม่ใช่รัฐภาคีโดยเฉพาะมาตรการซึ่งตามปกติท่าเรือที่อยู่ในอาณาเขตของรัฐภาคีจัดให้มี และ

.2         ปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยที่ประกาศใช้กับท่าเรือหรือเรืออื่น

 

4.38              ข้อมูลอีกรายการหนึ่งที่อาจกำหนดเป็นเงื่อนไขในการอนุญาตให้เรือเข้าท่าคือการยืนยันว่าเรือมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเหมาะสมในระหว่างการปฏิบัติการระหว่างเรือในระยะ 10 ครั้งหลังที่เรือเข้าเทียบท่า  ตามปกติข้อมูลดังกล่าวจะไม่ครอบคลุมถึงบันทึกการส่งเจ้าหน้าที่นำร่องหรือเจ้าหน้าที่ศุลกากร เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองหรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย  การเติมน้ำมัน  การขนถ่ายสินค้าลงเรือลำเลียง (lightering) การบรรทุกเสบียงเรือและของใช้ที่จำเป็น และการขนถ่ายของเสียจากเรือภายในเขตท่าเรือซึ่งตามปกติกิจกรรมเหล่านี้จะปรากฏอยู่ในแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ  ตัวอย่างของข้อมูลดังกล่าวได้แก่

.1         บันทึกมาตรการที่ใช้ขณะเมื่อมีการปฏิบัติการระหว่างเรือกับเรือที่ชักธงของรัฐที่ไม่ใช่รัฐภาคี โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการที่ตามปกติเรือที่ชักธงของรัฐภาคีจัดให้มี

.2         บันทึกมาตรการที่ใช้ขณะเมื่อมีการปฏิบัติการระหว่างเรือกับเรือที่ชักธงของรัฐภาคีแต่ไม่ได้ถูกบังคับให้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของบทที่ 11-2 และภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้ เช่น สำเนาของใบสำคัญรับรองการรักษาความปลอดภัยที่ออกให้เรือนั้นภายใต้บทบัญญัติอื่น และ

3          ในกรณีที่มีบุคคลหรือเรือที่ประสบภัยทางทะเลและได้รับการช่วยเหลืออยู่บนเรือ ข้อมูลในกรณีนี้จะหมายถึงข้อมูลที่ทราบทั้งหมดเกี่ยวกับบุคคลหรือสินค้าดังกล่าว รวมทั้งเอกสารหรือหลักฐานการแสดงตนและผลของการตรวจสอบที่ได้กระทำในฐานะตัวแทนของเรือเพื่อกำหนดสถานะความปลอดภัยของบุคคลหรือสินค้าที่ได้รับการช่วยเหลือ  บทที่ 11-2 หรือภาคผนวก ก.ของประมวลข้อบังคับนี้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้การส่งตัวบุคคลหรือสินค้าที่ประสบภัยทางทะเลไปยังสถานที่ที่ปลอดภัยเกิดความล่าช้าหรือดำเนินการไม่ได้  แต่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ข้อมูลที่เหมาะสมอย่างเพียงพอแก่รัฐต่าง ๆ เพื่อให้เกิดบูรณภาพในการรักษาความปลอดภัย

 

4.39              ตัวอย่างของข้อมูลที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยอื่น ๆ ที่กำหนดเป็นเงื่อนไขในการเข้าท่าเพื่อช่วยให้เกิดความแน่ใจในด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยของบุคคล ท่าเรือ เรือ และทรัพย์สินอื่น ๆ ได้แก่

.1         ข้อมูลที่อยู่ใน Continuous Synopsis Record

.2         ตำแหน่งที่ตั้งของเรือขณะเวลาที่รายงาน

.3         เวลาที่คาดว่าเรือจะเดินทางมาถึงท่าเรือ

.4         บัญชีรายชื่อคนประจำเรือ

.5         รายละเอียดทั่วไปของสินค้าบนเรือ

.6         บัญชีรายชื่อผู้โดยสาร และ

.7         ข้อมูลที่กำหนดให้มีตามกฎข้อบังคับที่ 11-2/5

 

4.40              กฎข้อบังคับที่ 11-2/9.2.5 อนุญาตให้นายเรือล้มเลิกความตั้งใจที่จะนำเรือเข้าท่าได้เมื่อได้รับแจ้งว่ารัฐชายฝั่งหรือรัฐเมืองท่าจะดำเนินมาตรการควบคุมตามกฎข้อบังคับที่ 11-2/9.2  ถ้านายเรือล้มเลิกความตั้งใจดังกล่าวก็จะไม่นำกฎข้อบังคับที่ 11-2/9 มาใช้บังคับ และการดำเนินการตามขั้นตอนอื่นใดจะต้องอยู่บนพื้นฐานของและสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ

 

 

บทบัญญัติเพิ่มเติม

 

4.41              ในทุกกรณีที่มีการปฏิเสธไม่ให้เรือเข้าท่าหรือขับไล่เรือออกจากท่าเรือ  ควรแจ้งข้อเท็จจริงที่ทราบทั้งหมดให้หน่วยงานที่มีอำนาจของรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมดทราบ  การแจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวควรประกอบด้วย

.1         ชื่อเรือ สัญชาติเรือ เลขหมายประจำเรือ สัญญาณเรียกขาน ประเภทของเรือและสินค้า

.2         สาเหตุที่ปฏิเสธไม่ให้เรือเข้าท่าหรือไล่เรือออกจากท่าหรือเขตท่าเรือ

.3         ลักษณะของการไม่ปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัย

.4         รายละเอียดของการดำเนินการเพื่อแก้ไขการไม่ปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัย รวมถึงเงื่อนไขที่กำหนดแก่เรือสำหรับการเดินทางเที่ยวนั้น

.5         ท่าเรือที่เรือเข้าเทียบท่าก่อนหน้านี้และท่าเรือที่เรือจะเข้าเทียบท่าต่อไป

.6         เวลาที่เรือออกจากท่าและเวลาที่คาดว่าเรือจะเดินทางถึงท่าเรือต่อไป

.7         คำแนะนำที่ให้แก่เรือ เช่น การรายงานตลอดเส้นทางเดินเรือ

.8         ข้อมูลเกี่ยวกับระดับของการรักษาความปลอดภัยของเรือนั้น

.9         ข้อมูลเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างรัฐเมืองท่าและทางการ

.10       จุดประสานงานภายในรัฐเมืองท่าเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

.11       บัญชีรายชื่อคนประจำเรือ และ

.12       ข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่จำเป็น

 

4.42              รัฐที่เกี่ยวข้องในการประสานงานควรรวมถึงรัฐที่เป็นทางผ่านของเรือในการเดินทางไปยังท่าเรือต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเรือนั้นตั้งใจจะเข้าไปในทะเลอาณาเขตของรัฐชายฝั่งนั้น  รัฐที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ อาจรวมถึงรัฐเมืองท่าที่เรือเข้าเทียบท่าก่อนหน้านี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมและได้ข้อยุติเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือที่เรือเข้าเทียบท่าก่อนหน้านี้

4.43              ในการใช้มาตรการควบคุมและบังคับให้ปฏิบัติตาม  เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบอำนาจควรดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่ามาตรการหรือขั้นตอนที่กำหนดมีความเหมาะสม  มาตรการหรือขั้นตอนดังกล่าวควรมีความสมเหตุสมผลและควรมีบทลงโทษขั้นต่ำและกำหนดเวลาที่จำเป็นเพื่อแก้ไขให้มีการปฏิบัติตามประมวลข้อบังคับนี้

4.44              คำว่า ทำให้เกิดความล่าช้าในกฎข้อบังคับที่ 11-2/9.3.5.1 ยังหมายถึงสถานการณ์ที่เมื่อมีการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับนี้ เรือยังถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าเทียบท่าหรือเรือถูกขับไล่ออกจากท่าโดยไม่มีเหตุอันควร

 

เรือของรัฐที่ไม่ใช่รัฐภาคีและเรือที่มีขนาดต่ำกว่าข้อกำหนดของอนุสัญญา

 

4.45              สำหรับเรือที่ชักธงของรัฐที่ไม่ใช่รัฐภาคีอนุสัญญา SOLAS และไม่ได้เป็นภาคีพิธีสารแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญา SOLAS 1988 นั้น  รัฐภาคีไม่ควรปฏิบัติในเชิงให้ความอนุเคราะห์แก่เรือดังกล่าวมากไปกว่าเรือที่ชักธงของรัฐภาคีอื่น  และควรนำข้อกำหนดของกฎข้อบังคับที่ 11-2/9 และแนวทางที่กำหนดไว้ในภาค ข. ของประมวลข้อบังคับนี้มาใช้บังคับกับเรือเหล่านั้น

4.46              เรือที่มีขนาดต่ำกว่าข้อกำหนดของอนุสัญญาจะต้องปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยของรัฐภาคี  การดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวควรคำนึงถึงข้อกำหนดในบทที่ 11-2 และแนวทางที่อยู่ในภาค ข.ของประมวลข้อบังคับนี้

 

5.  ปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย

 

บททั่วไป

5.1                 ควรมีการจัดทำปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย (DoS) เมื่อรัฐภาคีของท่าเรือหรือเมื่อเรือเห็นว่าจำเป็น

5.1.1        ความจำเป็นในการจัดทำปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยนั้นอาจเกิดจากผลของการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือ  และควรระบุเหตุผลและสถานการณ์ที่ทำให้จำเป็นต้องออกปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยไว้ในแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือด้วย

5.1.2        ความจำเป็นในการจัดทำปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยอาจเกิดจากความประสงค์ของทางการของเรือที่ชักธงของรัฐนั้นหรือเป็นผลจากการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของเรือและควรระบุไว้ในแผนรักษาความปลอดภัยของเรือด้วย

5.2                 5.2          ปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือมีแนวโน้มที่จะกำหนดระดับการรักษาความปลอดภัยในระดับที่สูงขึ้น เมื่อเรือมีการรักษาความปลอดภัยในระดับที่สูงกว่าท่าเรือ หรือเรืออีกลำหนึ่งซึ่งมาจอดติดกัน และสำหรับการปฏิบัติการระหว่างเรือกับท่าเรือหรือการปฏิบัติการระหว่างเรือกับเรือที่ทำให้เรือนั้นมีความเสี่ยงต่อบุคคล ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสินค้าหรือผู้โดยสาร หรือสถานการณ์ที่ท่าเรือหรือปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้รวมกันสูงขึ้น

5.2.1        ในกรณีที่เรือหรือทางการในฐานะตัวแทนของเรือที่ชักธงของชาตินั้นร้องขอให้จัดทำปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย   เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือหรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือควรรับทราบคำร้องขอดังกล่าวและหารือกันเพื่อจัดทำหรือกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม

5.3                 เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรืออาจริเริ่มจัดทำปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยก่อนที่จะมีการการปฏิบัติการระหว่างเรือกับท่าเรือ ตามที่กำหนดไว้ในการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือที่ได้รับอนุมัติโดยถือเป็นเรื่องสำคัญ  ตัวอย่างเช่น การขึ้นเรือหรือลงจากเรือ และการย้าย บรรทุก หรือขนถ่ายสินค้าอันตรายหรือวัตถุอันตราย  รายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรืออาจระบุสิ่งอำนวยความสะดวกที่อยู่ในหรือใกล้กันกับพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นมากหรือการปฏิบัติการที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่จำเป็นจะต้องมีการจัดทำปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย

5.4                  จุดมุ่งหมายหลักของปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยคือเพื่อให้แน่ใจว่ามีการตกลงกันระหว่างเรือและท่าเรือหรือกับเรืออื่นที่จอดติดกันถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยที่แต่ละฝ่ายจะใช้โดยให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของแผนการรักษาความปลอดภัยที่ได้รับอนุมัติแล้วของตน

5.4.1        ปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยที่ได้รับอนุมัติแล้วจะต้องมีการลงนามและวันที่โดยทั้งฝ่ายท่าเรือและเรือโดยให้มีผลใช้บังคับเพื่อแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติตามบทที่ 11-2 และภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้และควรรวมถึงระยะเวลา ระดับของการรักษาความปลอดภัย ตลอดจนรายละเอียดการประสานงานที่เกี่ยวข้อง

5.4.2        การเปลี่ยนแปลงในระดับของการรักษาความปลอดภัยอาจเป็นเหตุให้มีการจัดทำปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยใหม่หรือปรับปรุงปฏิญญาเดิม

5.5                 ปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยควรจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือสเปน หรือในภาษากลางที่สามารถใช้บังคับได้ทั้งกับท่าเรือและเรือหรือเรืออื่น ๆ

5.6                 แบบของปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยปรากฏในภาคผนวก 1 ของภาค ข.ของประมวลข้อบังคับนี้  แบบดังกล่าวเป็นปฏิญญาระหว่างเรือกับท่าเรือ  ถ้าเป็นปฏิญญาระหว่างเรือสองลำ ให้ปรับใช้แบบนี้ตามความเหมาะสม

 

6        พันธกรณีของบริษัทเรือ

 

บททั่วไป

6.1                 กฎข้อบังคับที่ 11-2/5 กำหนดให้บริษัทเรือต้องจัดส่งข้อมูลให้แก่นายเรือเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของบริษัทเรือภายใต้บทบัญญัติของกฎข้อบังคับนี้  ข้อมูลดังกล่าวควรรวมถึงรายการดังต่อไปนี้

.1         ฝ่ายที่รับผิดชอบในการบรรจุแต่งตั้งคนประจำเรือ เช่น บริษัทจัดการเรือ ตัวแทนบรรจุคนเรือ ผู้รับเหมา ผู้ได้รับสัมปทาน (เช่น ร้านขายปลีก บ่อนคาสิโน เป็นต้น)

.2         ฝ่ายที่รับผิดชอบในการตัดสินใจจัดหาเรือ รวมทั้งผู้เช่าเรือแบบมีกำหนดเวลาหรือผู้เช่าเรือเปล่า  หรือองค์กรอื่นใดที่ทำหน้าที่ในลักษณะเช่นว่า และ

.3         ในกรณีที่เป็นการจัดหาเรือโดยการทำสัญญาเช่าเรือ  จะหมายถึงข้อมูลรายละเอียดการติดต่อประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงผู้เช่าเรือแบบมีกำหนดเวลาหรือผู้เช่าเรือเป็นรายเที่ยว

 

6.2                 ตามกฎข้อบังคับที่ 12-2/5 บริษัทเรือมีพันธกรณีที่จะปรับปรุงและเก็บรักษาข้อมูลให้ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

6.3                 ข้อมูลดังกล่าวควรจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือสเปน

6.4                 สำหรับเรือที่ต่อก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ข้อมูลนี้ควรสะท้อนถึงสภาพที่เป็นจริง ณ วันนั้น

6.5                 สำหรับเรือที่ต่อ ณ หรือหลังวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 และเรือที่ต่อก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ซึ่งเลิกใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2547  ข้อมูลที่จัดให้ควรเป็นข้อมูลตั้งแต่วันที่เรือนั้นออกใช้งานและควรสะท้อนถึงสภาพที่เป็นจริง ณ วันนั้น

6.6                 สำหรับเรือที่เลิกใช้งานหลังวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ข้อมูลที่จัดให้ควรเป็นข้อมูลตั้งแต่วันที่เรือนั้นออกใช้งานอีกครั้งและควรสะท้อนสภาพที่เป็นจริง ณ วันนั้น

6.7                 ข้อมูลที่จัดให้ก่อนหน้านี้ที่ไม่สัมพันธ์กับสภาพที่เป็นจริง ณ วันนั้น ไม่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้บนเรือ

6.8                 เมื่อมีบริษัทเรือแห่งใหม่เข้ามารับผิดชอบในการปฏิบัติการของเรือนั้น  ก็ไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่เคยควบคุมดูแลการปฏิบัติการของเรือนั้นไว้บนเรืออีกต่อไป

 

นอกจากนี้   โปรดดูแนวทางที่เกี่ยวข้องอื่น ๆในส่วนที่ 8, 9 และ 13

 

7        การรักษาความปลอดภัยของเรือ

โปรดดูแนวทางที่เกี่ยวข้องในส่วนที่ 8, 9 และ 13

 

 


§         ข้อกำหนดภาคบังคับเกี่ยวกับบทบัญญัติ ISPS Code ของบทที่ 11-2 ของภาคผนวกแนบท้ายอนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ.1974 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติม

§         แนวทางสำหรับบทบัญญัติ ISPS Code ของบทที่ 11-2 ของภาคผนวกแนบท้ายอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล 1974 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมและภาค ก ของประมวลข้อบังคับนี้ (ส่วนที่ 1)

§         แนวทางสำหรับบทบัญญัติ ISPS Code ของบทที่ 11-2 ของภาคผนวกแนบท้ายอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล 1974 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมและภาค ก ของประมวลข้อบังคับนี้ (ส่วนที่ 2)

§         แนวทางสำหรับบทบัญญัติ ISPS Code ของบทที่ 11-2 ของภาคผนวกแนบท้ายอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล 1974 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมและภาค ก ของประมวลข้อบังคับนี้ (ส่วนที่ 3)

§         แนวทางสำหรับบทบัญญัติ ISPS Code ของบทที่ 11-2 ของภาคผนวกแนบท้ายอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล 1974 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมและภาค ก ของประมวลข้อบังคับนี้ (ส่วนที่ 4)

มารีนเนอร์ไทย | MarinerThai.Net | MarinerThai.Com

 

 

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   16164

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

Mariner English Articles MarinerThai Webboard

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network